วันนี้ ALTV พาไปทำความรู้จักกับวงโยธวาทิต ผ่านละครที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคน ที่มีความฝันอยากจะพาเสียงดนตรีไปคว้าแชมป์ในการประกวดระดับประเทศ เพื่อเป็นใบเบิกทางไปสู่การแข่งขันต่อบนเวทีระดับโลก แต่ในชีวิตจริงนั้น การรวมตัวเป็นหนึ่งในวงโยธวาทิตไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ละคนต่างมีความฝันที่ไม่เหมือนกัน รักในการเล่นเครื่องดนตรีแตกต่างกัน รวมถึงความอดทนในการฝึกฝนของแต่ละคนยังมีไม่เท่ากัน ไปดูกันว่าเบื้องหลังเส้นทางความฝันของเด็กวงโยธวาทิตจะเป็นอย่างไร และจุดเริ่มต้นกว่าจะมาเป็นวงโยธวาทิตจนถึงทุกวันนี้
จุดเริ่มต้นของทุกคนไม่เหมือนกัน ?
นอกจากเส้นทางความฝันของแต่ละคนที่มีไม่เหมือนกันแล้ว จุดเริ่มต้นก็เช่นกัน บางคนแค่อยากเข้ามาทดลองเล่นดนตรีในวงโยธวาทิตเพียงเพราะมาตามเพื่อน มาตามครูอาจารย์ที่ชักชวน หรือบางคนเข้ามาเพราะมีความฝัน แต่ไม่มีพื้นฐานการเล่นดนตรีอะไรมาก่อนหน้านี้เลย ทุกคนเลือกเดินบนเส้นทางชีวิตของตัวเองได้เสมอ บางคนอาจได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว แต่ในขณะที่บางคนไม่ได้มีโอกาสและได้รับการสนับสนุนไม่เท่าคนอื่น ๆ
จากที่ได้พูดคุยกับอาจารย์ดาโน่ สมเมธ ยุวะสุต ผู้จัดการวงดุริยางค์เครื่องลมเยาวชนไทย ได้เผยถึงมุมมองการเป็นนักดนตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมวงโยธวาทิตไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับเด็กคนหนึ่ง
“เพราะวงโยธวาทิต ไม่ใช่แค่การเรียนการสอนเรื่องดนตรีเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ทุกคน ต้องมาใช้ชีวิตอยู่กับผู้คนจำนวนมาก สิ่งที่เขาต้องเรียนรู้เพิ่มไปด้วย คือการปรับตัว การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นทีม และสิ่งที่มันเจ๋งที่สุดคือการฝึกฝนทำเรื่องเดิมซ้ำ ๆ เพื่อที่เขาจะสามารถสร้างเสียงดนตรี เสียงแรกขึ้นมาได้”
การจะเข้าร่วมกิจกรรมวงโยธวาทิต ต้องฝึกความอดทนอย่างมาก ไม่ใช่แค่การทำการบ้าน หรือทำแบบฝึกหัดท้ายบทให้เสร็จสิ้นไป แต่เป็นเรื่องของการฝึกฝนทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะจับเครื่องดนตรีก่อนลงสนามอย่างจริงจัง และกว่าจะเป็นบทเพลง ต้องผ่านเสียงเครื่องดนตรีเหล่านี้ ที่ใช้ในวงโยธวาทิต
👉เครื่องลมเป่าไม้ (Woodwind instruments) ได้แก่
👉เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass instruments) ได้แก่
👉เครื่องกระทบ (Percussion instruments) ได้แก่
จากละครในจอ สู่ความฝันนอกจอ
ALTV ชวนคุยกับน้อง ๆ ตัวแทนจากวงโยธวาทิตที่มีความฝัน และเป็นส่วนหนึ่งของละคร “The Rhythm of Life จังหวะชีวิตลิขิตฝัน” พร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับทุกคนเช่นกัน ไปดูกันว่าแต่ละคนมีหน้าที่อะไรกันบ้าง และกว่าจะได้จับเครื่องดนตรี จับจังหวะ ถอดตัวโน๊ตให้เป็นบทเพลงได้ ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้มากแค่ไหน
"เหนือ" ทิพย์ตะวัน พามตี๋ ตัวแทนเล่นเครื่องดนตรี ทรอมโบน (Trombone) พูดถึงความฝันในวัยเด็กที่หลงไหลเสียงดนตรีมาโดยตลอด
เริ่มจากสมัครเข้าวงโยธวาทิตช่วงมัธยม เพราะคิดว่าคงไม่มีอะไรมาก แต่จริง ๆ แล้วมีการฝึกซ้อมค่อนข้างหนักกว่าจะเป่าเสียงดนตรีตัวแรกออกมาได้ ต้องผ่านการฝึกฝน วิ่งวอม การหายใจ การสั่นปาก ยิ่งถ้าเป็นช่วงต้องไปแข่งขันก็ยิ่งซ้อมหนักขึ้น บางครอบครัวอาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมีการตื่นเช้ากลับบ้านดึกดื่น และอาจจะมีช่วงเวลาหนึ่งความคิดอยากจะลาออกจากวงก็วนเข้ามาในหัว รู้สึกท้อแท้ แต่ความโชคดีที่ได้จากวงคือการที่มีรุ่นพี่ ครู โรงเรียน คอยซัพพอร์ตเราอยู่เสมอ เพราะวงโยธวาทิตจะต้องเดินไปด้วยกันไม่ได้เดินไปคนเดียว ส่วนความฝันที่อยากจะเป็นนักดนตรีระดับประเทศ สอบติดมหาลัยในต่างประเทศ ก็คงยังอยากจะทำฝันนี้ต่อไป เพื่อกลับมาพัฒนาวงโยธวาทิตในโรงเรียนต่าง ๆ หรือในต่างจังหวัด ให้ได้มีพื้นที่และได้รับโอกาสในการแสดงความฝันสู่สายตาคนอื่น ๆ เช่นกัน
อีกหนึ่งตำแหน่งที่คนส่วนใหญ่อาจไม่เคยรู้ว่ามีอยู่ในวงโยธวาทิตด้วย ก็คือตำแหน่งคัลเลอร์การ์ด (Color Guard) ผู้สร้างสีสันให้กับทีมเป็นอย่างมาก หนึ่งในนั้นคือ "ดรีม" นันทิชา เพ็งไทย ผู้มีความฝันอยากเป็น The Star
ตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ แต่ตามเพื่อนเข้ามาวงโยธวาทิต นั่นคือจุดเปลี่ยนไปตลอด ถึงแม้มันจะเหนื่อยมาก ๆ ในช่วงฝึกฝน ต้องกดดันตัวเองอยู่บ่อยครั้ง แต่ทั้งหมดคือความสุข และความสนุกที่ได้เห็นทุกคนเล่นคัลเลอร์การ์ดออกมาได้อย่างพร้อมเพรียงกัน
และอีกหนึ่งความฝันที่น้องดรีมอยากจะคว้าไว้คือการที่ได้พัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น ไปให้ไกลกว่านี้ อยากเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับน้อง ๆ ในวงโยธวาทิต เพราะที่นี่ทำให้น้องดรีมมีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา และโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาก
บางคนเส้นทางความฝันอาจไม่เกี่ยวอะไรเลยกับดนตรี ไม่มีแม้แต่เสี้ยวความคิดที่อยากจะเป็นดนตรี เรื่องราวของ "คิวคิว" เศรษฐพงศ์ ศิริรุ่งนภา ตัวแทนเครื่องดนตรี ยูโฟเนียม (Euphonium)
จากความฝันที่อยากเป็นนักแข่งเกมพอได้ตามเพื่อนเข้ามาในวงโยธวาทิตความคิดความฝันก็เปลี่ยนไป จากวันนั้นที่ได้ตัดสินใจเข้ามา ทำให้ทุกคนวันนี้ได้มีสังคม ที่มีทั้งคุณครู รุ่นพี่ เพื่อน และน้อง ที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และความฝันสูงสุดในตอนนี้คือการพาเครื่องดนตรี ยูโฟเนียม ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง รวมถึงอยากให้ผู้ปกครองทุกคนเปิดใจ ทำความเข้าใจ และสนับสนุนให้น้อง ๆ ที่มีความชอบด้านดนตรี เพราะสิ่งนี้ก็เปรียบเสมือนอาชีพหนึ่งที่ต้องเรียนรู้ทั้งทฤษฏีและเชิงปฏิบัติ เพื่อให้คุณภาพเสียงออกมาดีที่สุดเช่นกัน จากคนที่ทำอะไรไม่เป็นโไม่เป็นโล้เป็นพาย หลังจากที่เข้ามาวงโยธวาทิต ทำให้ตัวเองมีระเบียบวินัยมากขึ้น รู้จักวางแผนในชีวิต และมองเห็นโลกกว้างมากขึ้นจริง ๆ
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่มีความฝันอยากจะเป็นสมาชิกวงโยธวาทิต สามารถต่อยอดความรู้ต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทยที่เปิดสอน เช่น
และสำหรับปีนี้เป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทย ได้มีโอกาสจัดกิจกรรมประกวดวงโยธวาทิตชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรก ที่ได้รับการอนุมัติจากสมาคมโลก World ace of marching show band ขอชวนทุกคนมาร่วมให้กำลังใจกับการประกวดที่จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 11-16 กรกฎาคม 2565 ณ หอประชุมใหญ่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และสนามกีฬาแห่งชาติ อาคารกีฬานิมิตบุตร
หากน้อง ๆ มีความฝันเช่นเดียวกับพวกเขาเหล่านี้ แม้สุดท้ายแล้วอุปสรรคจะพาให้เราไขว้เขว สับสน แต่จงอยากทิ้งความฝันนั้น เช่นเดียวกับละคร “The Rhythm of Life จังหวะชีวิตลิขิตฝัน” ทางไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3 ที่ชูเนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมวงโยธวาทิตให้เป็นที่รู้จัก ให้เห็นถึงเบื้องหลังความพยายาม และเส้นทางความสำเร็จพี่น้องวงโยธวาทิตที่ไม่ได้คว้ามาได้ง่าย ๆ นอกจากนี้ยังมีรายการดี ๆ ที่ทำให้ทุกคนได้เรียนรู้กับนักดนตรีแนวหน้าของเมืองไทยในรายการ “บทเรียนราคาเพลง” ทาง ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก