ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
ไฟฟ้าลัดวงจร
แชร์
ฟัง
ชอบ
ไฟฟ้าลัดวงจร
26 ธ.ค. 67 • 19.00 น. | 90 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

“ไฟฟ้า ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกบ้านต้องใช้งาน แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ไม่ตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้านเป็นประจำ  อาจก่อให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ซึ่งเป็นภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นการเข้าใจสาเหตุและวิธีการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร สามารถลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้  ใช้งานได้อย่างปลอดภัยไม่ประมาท”

ไฟฟ้าลัดวงจร คือ การไหลของกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าต่างกันมาก ๆ มาสัมผัสกัน ทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานเป็นจำนวนมาก จนเกิดความร้อนสูงและประกายไฟ บริเวณที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจรสามารถนำไปสู่เหตุเพลิงไหม้ได้ และยังทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกไฟฟ้าช็อตหรือไฟดูดได้  เมื่อไปสัมผัสกับวงจรไฟฟ้าโดยตรง หรือการสัมผัสกับสื่อนำไฟฟ้าอย่างโลหะหรือน้ำที่กำลังมีกระแสไฟฟ้ารั่ว แม้ว่าจะสัมผัสเพียงไม่นานก็สามารถเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

ส่วนไฟดูดหรือไฟฟ้าช็อต คือคำที่ใช้เรียกเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจรเช่นกัน แต่มักจะถูกใช้ในสถานการณ์ที่มนุษย์หรือสิ่งอื่นที่ไม่อยู่ในระบบไฟฟ้าไปสัมผัสกับวงจรไฟฟ้าโดยตรง หรือการสัมผัสกับสื่อนำไฟฟ้าอย่างโลหะหรือน้ำที่กำลังมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ก็จะถูกไฟฟ้าช็อตหรือถูกไฟดูด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

การเกิดไฟฟ้าลัดวงจรมาจากหลายสาเหตุ อาทิ ใช้กำลังไฟฟ้าเกิน  เช่น สายไฟเส้นเล็กเกินไป มีการต่อปลั๊กพ่วงมากเกินไป หรือใช้กำลังไฟมากเกินกว่าที่อุปกรณ์จะรับไหว ส่งผลให้สายไฟเกิดความร้อนสูงอย่างต่อเนื่องและเกิดการหลอมละลายในที่สุด จนนำมาสู่เหตุการณ์ไฟไหม้ได้  

หรือแม้กระทั่งครื่องใช้ไฟฟ้าเสื่อมสภาพ   ทั้งจากความร้อน แสงแดด การใช้งานเกินกำลัง สายไฟถูกกดทับ รวมไปถึงการสั่นสะเทือน เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเสื่อมสภาพ  วงจรภายในจะเริ่มมีปัญหาตามมา เป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้เช่นกัน  ดังนั้นไม่ควรซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามือสอง หรือสินค้าที่มีราคาถูกมาใช้งาน เพราะไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นสายไฟ ปลั๊กไฟ หรือปลั๊กราง หากเลือกใช้งานอุปกรณ์ที่ไม่มีมาตรฐานในการผลิต รวมไปถึงการเดินสายไฟที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่าย เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ต้องทนรับกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตลอดเวลา ไม่มีระบบความปลอดภัยและมาตรฐานในการผลิตที่ดีพอ จากคัตเอาต์เก่า เนื่องจากคัตเอาต์ไฟฟ้าแบบเก่าจะตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้าได้ก็ต่อเมื่อยกขึ้นลงด้วยมือ ไม่มีระบบตัดการทำงานอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน   สิ่งแรกที่ควรทำคือรีบตัดกระแสไฟฟ้าทันทีให้เร็วที่สุด  ห้ามใช้น้ำสาดเข้าไปดับไฟโดยทันที เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกไฟดูดได้ และในกรณีที่มีคนถูกไฟดูด ห้ามไม่สัมผัสตัวผู้ถูกไฟดูดโดยตรง  แต่ควรตัดกระแสไฟบริเวณดังกล่าวก่อน เพื่อไม่ให้คนช่วยเหลือถูกไฟฟ้าช็อตตามได้   ควรเรียกช่างไฟมาตรวจสอบระบบไฟฟ้า เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร มีส่วนไหนชำรุด ควรรีบดำเนินการซ่อมแซม และยังเป็นการเช็กสภาพความสมบูรณ์ของวงจรไฟฟ้า 

ผู้พักอาศัยภายในบ้านควรหมั่นสังเกตสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ามีการแตก แห้งกรอบ หรือสายไฟนั้นถูกหนูหรือแมลงสาบกัดแทะหรือไม่  หากมีควรรีบทำการเปลี่ยนสายไฟใหม่ หรือให้ช่างไฟฟ้าทำการซ่อมแซมไม่ควรทนใช้งานต่อ  นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้สายไฟอยู่ใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี หรือถูกของหนักทับ เพราะจะทำให้ฉนวนชำรุดได้ง่าย เป็นเหตุให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร

ติดตั้งระบบตัดไฟอัตโนมัติ  หากบ้านยังใช้ระบบตัดไฟแบบคัตเอาต์อยู่ ควรเปลี่ยนมาใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีระบบตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ ซึ่งการติดตั้งระบบตัดไฟแบบอัตโนมัติเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรได้เป็นอย่างดี เนื่องจากระบบจะทำการตัดไฟอัตโนมัติ เมื่อมีจุดที่น่าจะเกิดกระแสไฟฟ้าเดินผิดปกติ หากไม่อยากให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรบ่อย ๆ ควรเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม  หรือมอก.  เพราะภายในอุปกรณ์ไฟฟ้าจะมีฟิวส์ตัดกระแสไฟฟ้าในตัว ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน

ห้ามใช้กำลังไฟฟ้าเกินวัตต์  อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะมีความสามารถสูงสุดในการรับกระแสไฟ หากใช้กำลังไฟฟ้าเกินวัตต์จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ฉะนั้นควรสังเกตว่าปลั๊กรางรองรับการใช้ไฟฟ้าได้สูงสุดกี่วัตต์ และไม่ควรต่อปลั๊กรางเป็นทอด ๆ หรือต่อปลั๊กพ่วงหลายหัวในเต้าเสียบเดียวกัน 

วิธีการสังเกตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ที่ให้สังเกตที่อายุการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด เช่น   ตู้เย็น 13 ปี  , เครื่องดูดฝุ่น 8 ปี, โทรทัศน์ 12 ปี, พัดลม 15 ปี, เครื่องปรับอากาศ 10-11 ปี, เครื่องซักผ้า 12 ปี, เตารีด 9 ปี, หม้อหุงข้าว 10-11 ปี, ปลั๊กรางไฟฟ้า 7 ปี, ไมโครเวฟ 11 ปี และเตาไฟฟ้า15 ปี เป็นต้น 

และสุดท้าย ข้อสังเกต  4 สัญญาณเตือน ไฟฟ้ารั่วด้วยตัวเองง่ายๆ  คือ ค่าไฟสูงขึ้นผิดปกติ  เครื่องตัดไฟ ตัดไฟบ่อยครั้ง  สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วรู้สึกว่าไฟดูด  และอุณหภูมิในบ้านสูงขึ้นผิดปกติ

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#LifeSkill, 
#ไฟฟ้าลัดวงจร, 
#ไฟไหม้ 
ผู้เขียนบทความ
avatar
กองบรรณาธิการ ALTV
ALTV CI
ข่าว ALTV
ข่าว ALTV
ALTV News
ผู้เขียนบทความ
avatar
กองบรรณาธิการ ALTV
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#LifeSkill, 
#ไฟฟ้าลัดวงจร, 
#ไฟไหม้ 
แชร์
ฟัง
ชอบ
ติดตามเรา