"มังกรบ๊ะจ่าง" สื่อตำนานจีน
“มังกรบ๊ะจ่าง” เป็นมังกร 9 ไม้ ที่ถูกประยุกต์โดยการนำห่อบ๊ะจ่างมาประดับตลอดลำตัวของมังกร ใช้เชิดในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งตรงกับเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง บนถนนเยาวราช เพื่อรำลึกถึงคุณความดีของกวี ‘ซวีหยวน’ ผู้เสียสละชีวิตด้วยการทิ้งร่างตนเองจากหน้าผาลงสู่ทะเลตามตำนานจีนที่คนเชื้อสายจีนในเยาวราชเชื่อถือต่อกันมาและเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับความฉ้อฉลและความกตัญญู เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเป็นเทศกาลที่คนไทยเชื้อสายจีนย่านเยาวราชจัดกันมาอย่างยาวนาน จนมีสูตรบ๊ะจ่างของครอบครัวที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น อย่างร้านจึงจิบไถ่ เยาวราช ซอย 6 ที่มีทายาทรุ่นที่ 4 สืบทอดบ๊ะจ่างสูตรแต้จิ๋วมากว่า 40 ปี นอกจากนี้เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างถูกยกย่องเป็นวันกวี ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมจากยูเนสโก(UNESCO) เมื่อปี 2552 และเป็นวันหยุดประจำปีที่สำคัญเหมือนกับวันไหว้พระจันทร์และเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย
Words Around เรียนรู้ศัพท์คำว่า : Tearjerker
คำว่า เปียกปอน เป็นภาษาวัยรุ่นที่แปลว่า เศร้า ซึ่งภาษาอังกฤษคือคำว่า Sad เช่น This is a sad movie. หนังเรื่องนี้เป็นหนังเศร้า
พูดถึงหนังเศร้าแล้ว มาดูคำแสลงกันบ้าง คำว่า Tearjerker คำว่า Tear แปลว่า น้ำตา และ Jerk แปลว่า กระชาก รวมกันแล้วคำนี้แปลว่า เรื่องเศร้าที่กระชากน้ำตาออกมา That commercial was such a tearjerker. I couldn’t stop crying. โฆษณานั้นเป็นโฆษณาที่เศร้ามาก ฉันหยุดร้องไห้ไม่ได้
ติดตามชมรายการ HAVE A NEWSDAY วันพุธที่ 6 ก.ค. 65 เวลา 12.00 – 12.10 น. ทาง ALTV ทีวีเรียนสนุก ช่องหมายเลข 4