วันนี้ ALTV ขอเสริมเกร็ดความรู้ใกล้ตัวที่จะทำให้ทุก ๆ คนนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกจุด เพื่อความอยู่รอดพร้อมเผชิญกับวิกฤตที่กระทบต่อปัญหาสุขภาพที่ใครหลายคนยังคงชั่งใจว่ามันเป็นเรื่องที่ไกลตัวที่หลายคนอาจะมองข้ามภัยอันตรายต่อชีวิตของตนเอง และคนในครอบครัว
หมอกสีขาว ๆ ล่องลอยอยู่บนท้องฟ้าเราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้มันคือ ฝุ่น PM 2.5 ที่แฝงไปด้วยมลพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของเรามากมาย แต่ก็คงไม่อาจหลีกเลี่ยงกับปัญหาวิกฤตของมลพิษทางอากาศที่รุนแรงนี้ได้ โดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทย เรียกได้ว่ามีค่าดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ Air Quality Index : AQI ของฝุ่น P.M. 2.5 มากที่สุด ติดอันดับ TOP 10 ของโลก (ข้อมูลวันที่ 4 เมษายน 2566) ได้แก่
และไม่ว่าทุกคนจะอยู่ในพื้นที่ใดก็ตาม สามารถติดตามเช็คข้อมูลค่าของฝุ่น PM 2.5 แบบเรียลไทม์ได้ที่ AQI และ กรมควบคุมมลพิษ หรือ Air4Thai เพื่อเป็นข้อมูลก่อนจะออกจากบ้าน หรือก่อนออกเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทั้ง ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการไปในพื้นที่ที่มีค่ามลพิษในอากาศสูงเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด โดยสามารถตรวจสอบ หรือเช็คให้ดีก่อนออกเดินทาง หากว่าค่าฝุ่นอยู่ในโซนสีฟ้า แสดงว่าสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ แต่หากค่าฝุ่นอยู่ในโซนสีแดง นั้นหมายความว่าพื้นที่ตรงนั้นมีค่า AQI สูงกว่า 200 ขึ้นไป ควรหลีกเลี่ยง หรือป้องกันตัวเองด้วยการใส่หน้ากากอนามัย N95 อย่างมิดชิดเพื่อสุขภาพของเรา
ฝุ่น PM 2.5 หรือ Particulate matter with diameter of less than 2.5 micro เป็นฝุ่นละอองขนาดซูเปอร์จิ๋วที่มีขนาดไม่เกิด 2.5 ไมครอน และไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งมีผลกระทบต่อเราตั้งแต่หัวจรดเท้าเลยก็ว่าได้ เพราะความร้านแรงของฝุ่นจิ๋วนี้ คือมันสามารถผ่านการกรองของขนจมูก โดยเป็นตัวกลางในการพาสารอื่น ๆ เช่น สารก่อมะเร็ง สารโลหะหนัก เข้าไปในปอดด้วย ทำให้เกิดภาวะกระตุ้นภูมิแพ้ ในระบบทางเดินหายใจ อาการคัน ผื่นขึ้นตามตัว คันตา ภูมิแพ้ขึ้นตา เยื่อบุตาอักเสบ สรุปได้ว่าทั้งผิว ตัว และร่างกาย มีผลที่กระทบระยะยาวต่ออวัยวะสำคัญต่าง ๆ ทั้ง สมอง และ หัวใจ เมื่อได้สัมผัสกับ ฝุ่น PM 2.5 และนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น
โดยสาเหตุการที่ทำให้เกิดฝุ่นจิ๋วนี้อาจเกิดมาจากกิจกรรมที่ทุกคนทำกันเป็นประจำทุกวัน หรือสาเหตุมาจากสภาพภูมิอากาศด้วยเช่นกัน ไปดูกันว่าที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้มีผลต่อการเกิด ฝุ่น PM 2.5 มากน้อยอย่างไร
🔸การสูบบุหรี่ ประกอบไปด้วย ใบยาสูบ กระดาษที่ใช้ม้วน และสารเคมีหลายร้อยชนิด แต่เมื่อเกิดการเผาไม้แล้วทำให้เกิดสารเคมีหลากหลายชนิด และเมื่อควันเจออากาศจะเกิดปฏิกิริยาจนกลายเป็นสารพิษได้นั่นเอง
🔸การจุดธูปเทียน เกิดการเผาไหม้ของขี้เลื่อย กาว และน้ำหอมในธูป สารต่าง ๆ ถูกปล่อยออกมาในอากาศ คล้ายกันในควันบุหรี่ รวมถึงควันพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ ทำให้เกิดก๊าซต่าง ๆ นำไปสู่สารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็งหลายชนิดด้วยเช่นกัน
🔸การเผาป่า หรือ ไฟป่า ที่สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ มักเกิดจากแรงลมที่ทำให้กิ่งไม้เสียดสีกัน ฟ้าผ่า หรือเกิดปฏิกิริยาเคมีจากแสงแดดในพื้นที่แห้งแล้ง แต่ 90 % การเผาป่ามักเกิดจากฝีมือของมนุษย์ที่เข้าไปเก็บของป่า เผาเพื่อการเกษตร หรือแม้แต่เผาเพื่อกระตุ้นการงอก หรือการแตกใบของพืชเศรษฐกิจ
🔸การก่อสร้าง ซึ่งในประเทศไทยยังมีหลายโครงการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นคอนโด บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ และรถไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดฝุ่นละเอียดฟุ้งกระจายที่เกิดจากการขุดเจาะ นับว่าเป็นอันตรายต่อผู้คนเมื่อสูดดมเข้าปอดเป็นจำนวนมาก
🔸การคมนาคม เกิดจากควันจากท่อไอเสียของรถ โดยเฉพาะรถโดยสารประจำทางที่มักจะปล่อยควันดำออกมา ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์จนเป็นชนวนก่อให้เกิด ฝุ่น PM 2.5 โดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่ ๆ ที่เต็มไปด้วยการจราจรที่แออัด อย่าง กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ก็จะยิ่งทำให้ฝุ่นที่เป็นมลพิษนั้นเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพ
🔸การผลิตไฟฟ้า และการทำอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปล่อยมลพิษมากที่สุด ที่มาจากการเผาปิโตรเลียม และถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า ปล่อยไอเสียที่เป็นก๊าซพิษออกมามากมาย รวมไปถึงฝุ่นละอองฟุ้งลอยไปในชั้นบรรยากาศด้วยเช่นกัน โดยสารมลพิษที่ใช้วัดค่าคุณภาพอากาศเหล่านั้นประกอบไปด้วย
เพราะฉะนั้นเมื่อเราหลีกเลี่ยงกับสภาพอากาศ และฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้เต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ควรที่จะหาทางเลือกหรือตัวช่วยที่สามารถป้องกันฝุ่นพิษไม่ให้เข้ามาทำร้ายร่างกายของเราได้โดยตรง ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ และการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์
อีกหนึ่งตัวช่วยที่จะเพิ่มเกราะป้องให้กับร่างกายจากฝุ่นร้าย กับการเลือกกินอาการที่มีประโยชน์เพื่อช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกายของเรา
🥦 บรอกโคลี กะหล่ำปลี เป็นผักใบสีเขียวที่มีสารซัลโพราเฟน ที่ช่วยในการขจัดสารพิษ ป้องกันร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น
🥔 มันเทศ ฟักทอง ตำลึง แครอท ผักบุ้ง มีสารเบต้าแคโรทีน ช่วยส่งเสริมการทำงานของปอด และระบบภูมิคุ้มกัน
🍊 ส้ม มะม่วง สับปะรด ผลไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มที่มีวิตามินสูง ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบของร่างกายที่มีผลมาจากฝุ่น
🐟 ปลาทุกชนิด เพราะว่ามีโอเมก้า 3 ที่ช่วยเป็นเกราะกำบังให้ร่างกายและลดผลกระทบที่เกิดจากฝุ่นด้วยเช่นกัน
และทางออกที่ดีที่สุดควรเน้นบริโภคผักและผลไม้ให้ได้วันละ 400 กรัมขึ้นไป จะทำให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถต้านการอักเสบของเซลล์ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพื่อรับมือกับสภาวะที่เต็มไปด้วยฝุ่นร้ายเช่นทุกวันนี้
ทุกวันนี้ไม่ว่าทุกคนจะอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าของฝุ่น PM 2.5 มากน้อยเพียงใด สิ่งที่เราหมั่นทำเป็นประจำทุกวันคือการเช็คค่า AQI ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง สวมหน้ากากอนามัย และที่สำคัญต้องเลือกบริโภคผักผลไม้ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของเรา โดยเช็คลิสต์ไปพร้อมกันในรายการ HAVE A NEWSDAY ทุกวัน เวลา 12.00 น. ทาง ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก (คลิก)
อ้างอิงข้อมูลจาก Chula, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย, ไทยพีบีเอส