'คำพ้อง' เป็นอีกบทเรียนที่มักเจอในข้อสอบบ่อยครั้ง และสร้างความสับสนให้กับใครหลายคนไม่น้อย วันนี้ ALTV จึงขอนำหลักการสังเกตคำพ้องมาฝากกัน
⭐คำพ้องคืออะไร ? คำพ้อง หมายถึง คำที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งเหมือนกัน หรือซ้ำกัน เช่น เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน หรือเขียนเหมือนกัน แต่เสียงและความหมายต่างกัน การอ่านหรือใช้คำพ้องให้ถูกนั้น จึงต้องอาศัยการสังเกตเนื้อความและบริบทของประโยคร่วมด้วย โดย คำพ้อง สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด ได้แก่ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง คำพ้องความหมาย
คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกันและมีความหมายแตกต่างกัน
ตัวอย่างคำพ้องรูป
กรี อ่านว่า กรี หมายถึง ส่วนของหัวกุ้งที่แข็งและแหลมคม
กรี อ่านว่า กะ-รี หมายถึง ช้าง
กรอด อ่านว่า กรอด หมายถึง เสียงกัดฟัน
กรอด อ่านว่า กะ-หรอด หมายถึง รูปร่างผอม
เสมา อ่านว่า เส-มา หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
เสมา อ่านว่า สะ-เหมา หมายถึง ชื่อของพืชชนิดหนึ่ง
คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่วิธีการเขียนและความหมายต่างกัน
ตัวอย่างคำพ้องเสียง
ข้า หมายถึง สรรพนามแทนตัวผู้พูด หรือ บ่าวไพร่
ฆ่า หมายถึง การทำให้เสียชีวิต การทำให้หมดไป
ค่า หมายถึง คำลงท้ายประโยค หรือ คุณค่าของสิ่งของ
หญ้า หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งที่เติบโตตามพื้นผิวดิน
ย่า หมายถึง แม่ของพ่อ
คือ คำที่เขียนต่างกัน ออกเสียงต่างกัน แต่ความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกัน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘คำไวพจน์’
ตัวอย่างคำพ้องความหมาย
คำพ้องของ 'ช้าง' ได้แก่ คชสาร กุญชร คชา หัตถ
คำพ้องของ 'น้ำ' ได้แก่ ธารา คงคา ชลาลัย
คำพ้องของ 'ปลา' ได้แก่ มัจฉา มีน มัสยา
คำพ้องของ 'ต้นไม้' ได้แก่ พฤกษ์ รุกข์ เฌอ
เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำพ้องเบื้องต้นกันไปแล้ว ALTV ยังมีแบบฝึกหัดและตัวอย่างข้อสอบให้ลองวัดความเข้าใจ ได้ที่ รายการ ห้องเรียนติวเข้ม ม.ต้น ตอน คำพ้อง