โวหาร หมายถึง การเรียบเรียงถ้อยคำให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอด สามารถจำแนกโวหารทั้งหมดได้ 6 ประเภท ได้แก่ บรรยายโวหาร พรรณาโวหาร อุปมาโวหาร เทศนาโวหาร อธิบายโวหาร และสาธกโวหาร
ใช้เล่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ใช้ภาษาสั้นกระชับตรงไปตรงมา เน้นสาระสำคัญ สามารถพบได้ในงานเขียนทั่วไป เช่น การเขียนบทความ รายงานวิทยานิพนธ์ การรายงานข่าว การจดบันทึก จดหมายเหตุ
💡ตัวอย่างการเขียนแบบบรรยายโวหาร
พรรณาโวหารมุ่งเน้นการให้รายละเอียดภาพและอารมณ์ ให้ผู้อ่านรู้สึกซาบซึ้งและคล้อยตาม เรียบเรียงถ้อยคำสวยงาม มีการเล่นคำ เล่นเสียง และมักใช้คำวิเศษณ์หรือคำขยายคำนามเยอะ ไม่เขียนสั้นกระชับเหมือนบรรยายโวหารแต่ก็ไม่เยิ่นเย้อ
💡ตัวอย่างการเขียนแบบพรรณาโวหาร
อุปมาโวหารเป็นการเขียนเชิงเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่ง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนและเกิดอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น มีจุดสังเกตง่าย ๆ คือ มักปรากฏคำเปรียบเทียบ เช่น เหมือน เสมือน ดุจ ดั่ง คล้าย เท่า ประหนึ่ง ปาน ราวกับ เฉกเช่น เพียง และคำอื่น ๆ ที่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบ
💡ตัวอย่างการเขียนแบบอุปมาโวหาร
เทศนาโวหาร หมายถึง โวหารที่มีจุดมุ่งหมายในการชักจูงใจผู้อ่าน มีการยกหลักเหตุผลให้รู้สึกน่าเชื่อถือและปฏิบัติตาม มีเนื้อหาสั่งสอน ให้ข้อคิด คติเตือนใจ มักใช้ในการให้โอวาท อบรมสั่งสอน
💡ตัวอย่างการเขียนเทศนาโวหาร
สาธกโวหารคือการเขียนที่มีการยกตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบ เพื่อให้ข้อความมีความหนักแน่นน่าเชื่อถือมากขึ้น บางครั้งมีการใช้คำที่แสดงการยกตัวอย่าง คือคำว่า เช่น และ ได้แก่
💡ตัวอย่างการเขียนแบบสาธกโวหาร
อธิบายโวหารมีจุดมุ่งหมายขยายความให้เข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างชัดเจน มีการให้คำนิยาม การอธิบายขั้นตอน อธิบายเหตุและผล และการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง มีลักษณะภาษากระชับ ตรงไปตรงมา มักพบได้ในงานเขียนวิชาการ และตำราต่าง ๆ
💡ตัวอย่างการเขียนแบบอธิบายโวหาร
เมื่ออ่านสรุปจบแล้ว สามารถฝึกทำข้อสอบทบทวนความเข้าใจอีกครั้ง กับครูพี่แป้ง มณฑิชา บูรพิสิทฐิกุล ได้ที่รายการ ห้องเรียนติวเข้ม ในวิชา A-Level ภาษาไทย : โวหารการเขียน (คลิก)