มีคำแนะนำจาก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ระบุว่า งูมีพิษหรือไม่ให้สังเกตลักษณะรอยเขี้ยว หากเป็นงูไม่มีพิษ รอยเขี้ยวบนผิวหนังจะเรียงเป็นแถว แต่หากเป็นงูพิษจะมีรอยเขี้ยว 2 จุดชัดเจน หรือมีเลือดซึมออกจากแผล และบริเวณรอบๆ รอยเขี้ยวมีสีคล้ำ หรืออาจพองเป็นถุงน้ำ ซึ่งพิษของงูจะส่งผลต่อร่างกาย แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม และงูทับสมิงคลา อาการ เริ่มจากแขนไม่มีแรง กระวนกระวาย ลิ้นเกร็ง พูดจาอ้อแอ้ ตามัว น้ำลายฟูมปาก เนื่องจากกล้ามเนื้อการกลืนเป็นอัมพาต หยุดหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด
ได้แก่ งูเขียวหางไหม้ งูแมวเซา และงูกะปะ อาการ เริ่มจากปวดแผลมาก มีเลือดซึมออกจากแผล เลือดออกจากอวัยวะต่างๆ เช่น เลือดกำเดา เหงือก ไอ อาเจียน ปัสสาวะและอุจจาระเป็นเลือด เกิดจากภาวะระบบไหลเวียนล้มเหลว และตายในที่สุด
มักจะไม่พบในภาวะน้ำท่วม เนื่องจากเป็นงูทะเล แต่ไม่ว่าจะถูกงูมีพิษประเภทใดกัด สิ่งแรกคือ ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด เพราะจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ พลอยให้พิษงูถูกสูบฉีดแล่นเข้าสู่หัวใจได้เร็วขึ้น ซึ่งอาการของพิษงูจะเริ่มแผ่ซ่านตั้งแต่ 15 - 30 นาที หรืออาจนานถึง 9 ชั่วโมง จึงต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง
สำหรับ งูมีพิษที่พบบ่อยในประเทศไทยมี 7 ชนิด คือ งูเห่า, งูจงอาง, งูสามเหลี่ยม, งูทับสมิงคลา, งูแมวเซา, งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้ งูแต่ละชนิดจะมีลักษณะและพฤติกรรมการออกหากินแตกต่างกัน แต่เป็นงูที่มีพิษรุนแรง เมื่อโดนกัดเสี่ยงต่อการเสียชีวิต จึงทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที โดยให้รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าทาแผล จากนั้นบีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม
“ขันชะเนาะ เป็นวิธีห้ามเลือด โดยใช้เชือก ผ้า หรือสายยางรัดเหนือบาดแผล เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดจากเส้นเลือดแดงไหลลงสู่อวัยวะ ใช้กับบาดแผลที่มีเลือดออกรุนแรงตามแขนและขาเท่านั้น แต่ปัจจุบันเป็นวิธีที่ผิด เพราะเวลาถูกงูกัด โอกาสที่พิษงูจะแล่นเข้าสู่หัวใจแทบจะไม่เป็นความจริงแล้ว แต่การที่เราบาดเจ็บเสียแขนขา จากการรัดผ้าทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงอวัยวะ”
สำหรับการรัดบาดแผล ควรรัดเหนือและใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ ไม่ควรรัดเหนือบาดแผลให้แน่นมาก เพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและเน่าตาย ควรคลายความแน่นพอสอดนิ้วมือได้ 1 นิ้ว จุดประสงค์เพื่อให้อวัยวะนั้นอยู่นิ่ง ไม่ใช่เป็นการห้ามพิษเข้าสู่หัวใจตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจไม่ถูกต้อง ใช้ผ้าสะอาดห้ามเลือดด้วยการกดแผลโดยตรง ถ้าสามารถใช้แอลกอฮอล์หรือเบต้าดีนทาแผลได้ก็จะเป็นผลดีต่อการทำลายเชื้อโรคต่างๆ
ทั้งนี้ การดาม คือการใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงอาการบาดเจ็บที่กระดูกให้อยู่ในท่าพักชั่วคราว ด้วยอุปกรณ์ใกล้ตัว เช่น กิ่งไม้ ผ้ายืดพันแผล หรือ Elastic bandage คือผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วนผ้ายืด ใช้ห้ามเลือดป้องกันการติดเชื้อ พันเฝือกในรายกระดูกหัก ใช้ยึดผ้าปิดแผลให้อยู่กับที่
เพราะหากเคลื่อนไหวมาก จะทำให้พิษของงูเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น ที่สำคัญต้องวางอวัยวะส่วนที่ถูกงูกัดให้ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกับหัวใจ หากมีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด แต่ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า
จากนั้นให้รีบนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลใกล้บ้าน ไม่ต้องนำซากงูมาให้แพทย์ตรวจดูว่าเป็นงูประเภทใด เนื่องจากอาจจับได้ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งไม่ใช่เป็นตัวที่กัด ปัจจุบันใช้การดูรอยกัดและลักษณะแผลเพื่อกำหนดการใช้เซรุ่มต้านพิษงูฉีดให้เหมาะสม สุดท้ายควรระลึกเสมอว่างูที่กัดทุกตัวเป็นงูมีพิษ