
คนไข้วัยรุ่นหลายคนของหมอมักมีคำตอบเดียวกัน เมื่อถามว่าเวลามีปัญหาปรึกษาใครในชีวิต
และมักจะได้คำตอบคล้ายๆกัน เมื่อถามว่าทำไมไม่ปรึกษาพ่อแม่
..."รู้แล้วเยอะ"...
..."ชอบบ่น"...
..."เอาแต่สอน แต่ไม่เคยฟัง"...
...“บอกไปก็ไม่ช่วยอะไร”...
หมอคิดว่าปัญหาหลักใหญ่ไม่ว่าลูกวัยไหน คือการที่พ่อแม่ชอบเข้าใจว่าเวลาที่ลูกมีปัญหาแล้วมาปรึกษา หน้าที่ของพ่อแม่คือการ "ช่วยแก้ปัญหา" และ "คอยสั่งสอน"
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ หลายครั้ง สิ่งที่ลูกต้องการคือใครสักคนที่จะ "รับฟัง" มันอย่างเข้าใจ
และในฐานะพ่อแม่ เราอาจควรมีหน้าที่แค่ "ช่วยให้คิด" ไม่ใช่คอยคิดให้
..."วันนี้เซ็งมากเลยโดนเพื่อนมันแกล้งอีกละ"...
..."แล้วเราไปแกล้งอะไรเค้าก่อนรึเปล่าเนี่ย"...
..."เพื่อนหนูที่โรงเรียนมันมีแฟนด้วยนะ"...
..."อย่าริเชียวนะ อายุแค่นี้"...
..."โคตรเซ็งเลยสอบตกอีกละ"...
"สมน้ำหน้า พ่อบอกแล้วใช่มั้ยว่าอย่าเล่นเกมเยอะ"
..."วันนี้เซ็งมากเลยโดนเพื่อนมันแกล้งอีกละ"...
..."เกิดอะไรขึ้นอะลูก เล่าให้แม่ฟังได้มั้ย แล้วหนูเจ็บตรงไหนรึเปล่า"...
..."เพื่อนหนูที่โรงเรียนมันมีแฟนด้วยนะ"...
..."อืมหรอลูก แล้วหนูรู้สึกยังไง"...
..."โคตรเซ็งเลยสอบตกอีกละ"...
..."แม่เข้าใจเลยที่ลูกรู้สึกเซ็ง มันน่าเซ็งจริงๆนะ”...
...“แล้วลูกคิดว่ามันเกิดจากอะไร"...
หมอชอบบอกพ่อแม่ว่าเวลาลูกมาปรึกษาอะไร ให้ฝึกตอบสนอง 3 ประโยคง่าย ๆ
"แม่เข้าใจเลย" (ถ้ารู้สึกเข้าใจจริงๆ)
"แล้วลูกคิดว่าจะแก้ปัญหานี้ยังไงดี"
"มีอะไรอยากให้แม่ช่วยบอกแม่ได้นะ"
ประโยค ที่จะช่วยให้ลูกรู้สึก "มีคนเข้าใจ" และช่วยให้ "พื้นที่เติบโต"
รักลูก... ฝึกเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อให้ลูกรู้ว่าเค้ามีใครสักคน ที่พร้อมเข้าใจในตัวตนของเค้าจริง ๆ กันนะคะ
บทความโดย
ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น เจ้าของแฟนเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน