เกษตรกรผู้สร้างครัวชุมชนเพื่อความยั่งยืน
คุณอดุลย์เป็นอดีตวิศวกร ที่หันมาทำอาชีพเกษตรกร โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งให้เป็นครัวชุมชน เหมือนเป็นซุปเปอร์มาเก็ตที่คนในชุมชนสามารถเข้ามาเอาผลผลิตในส่วนตรงนี้เอาไปรับประทานได้ นอกจากนี้ยังเปิดบ้านเป็นศูนย์การเรียนรู้ ให้นักเรียนในพื้นที่และผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาให้คนในชุมชนได้เข้ามาขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากผืนป่าของเขา ในตอนแรกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับชุมชน แต่เมื่อได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ๆ เขากลับรู้สึกมีความสุขที่ได้เป็นผู้ให้ คุณอดุลย์จึงตั้งเป้าที่จะพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน
ลดต้นทุนการเลี้ยงด้วงสาคูด้วยเปลือกทุเรียน จ.ราชบุรี
อำนาจ บุญสวัสดิ์ เกษตรกรจังหวัดราชบุรี เดิมเป็นผู้เพาะพันธุ์ปลานิล แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ตลาดปลานิลสร้างรายได้ไม่เท่าเดิม เลยตัดสินใจซื้อด้วงสาคูมาเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม ใช้เวลาเลี้ยงไม่นานก็สามารถขายได้ โดยมีตลาดประเทศจีนเป็นตลาดรองรับ รายได้เดือนแรกได้ประมาณหมื่นกว่าบาท เดือนที่ 2 ก็สองหมื่นบาท เดือนที่ 3 ก็ห้าหมื่นบาท ก็เลยอยากเลี้ยงและเป็นแรงบันดาลใจให้คนตกงาน ไม่รู้จะทำอะไร ลองเลี้ยงด้วงสาคูดูได้ การเลี้ยงด้วงด้วยเปลือกทุเรียน ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเลี้ยงด้วงในประเทศจีน ซึ่งเปลือกทุเรียนตามตลาดนัดที่ต้องทิ้ง ก็เอามาเป็นอาหาร ช่วยลดต้นทุนจาก 90 บาทต่อกิโล เลี้ยงด้วยเปลือกทุเรียนจะเหลือ 50 บาทต่อกิโล
ติดตามชมรายการ HAVE A NEWSDAY วันอังคารที่ 20 ก.ค. 64 เวลา 12.00 – 12.10 น. ทาง ALTV ทีวีเรียนสนุก ช่องหมายเลข 4