คำเป็นกลุ่มเสียงที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ พยางค์ 1 พยางค์ ถ้ามีความหมายก็เป็นคำ 1 คำ ถ้าพยางค์1 พยางค์ ไม่มีความหมายก็ไม่ถือว่าเป็นคำ คำพยางค์จึงเป็นส่วนหนึ่งของคำ ชนิดของคำตามหลักภาษาไทยแบ่งได้ 7 ชนิด คือ
1. คำนาม เป็นคำเรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นคำที่เห็นได้จับต้องได้
2. คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาแล้วเพื่อทำให้เนื้อความมีความสละสลวยยิ่งขึ้น
3. คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนามเพื่อให้รู้ว่า นามหรือสรรพนามนั้นทำหน้าที่อะไร หรือเป็นการแสดงการกระทำของประธานในประโยค
4. คำวิเศษณ์ เป็นคำที่ใช้ประกอบคำนาม สรรพนาม กริยา และคำวิเศษณ์ เพื่อให้ข้อความนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น
5. คำบุพบท เป็นคำที่ใช้หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำ และประโยคที่อยู่หลังคำบุพบทว่ามีความเกี่ยวข้องกับคำหรือประโยคที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร
6. คำสันธาน เป็นคำจำพวกหนึ่งที่ใช้เชื่อมคำ เชื่อมความและเชื่อมประโยคให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกันและสละสลวย
7. คำอุทาน เป็นคำที่เปล่งออกมาโดยไม่คำนึงถึงความหมาย แต่เน้นที่การแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้พูด
ติดตามรายการห้องเรียนติวเข้มมัธยม วันอังคารที่ 27 เม.ย. 64 เวลา 08.00 - 09.00 น. ทาง ALTV ทีวีเรียนสนุก ช่องหมายเลข 4