พาย หรืออักษรกรีกคือ π บางทีก็เขียนว่า pi เป็น ค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ ที่คำนวณได้จากเส้นรอบวงของวงกลมวงหนึ่ง หารด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมเดียวกัน มีค่าเท่ากับ 22/7 หรือ 3.14... เป็นค่าที่มีตัวเลขยาวต่อเนื่องกันไปอย่างไม่รู้จบ ถือเป็นจำนวนอตรรกยะ และไม่มีชุดตัวเลขใดที่ซ้ำกัน
วันที่ 14 เดือน 3 (ประเทศไทยคือเดือนมีนาคม) ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันพาย (Pi Day)
ทำไมถึงเกิดวันพาย π (Pi Day) ขึ้นมา
วันพาย π เป็นวันที่นักคณิตศาสตร์ทั่วโลกกำหนดขึ้นมา ด้วยเหตุผลใดยังไม่แน่ชัด แต่ขณะเดียวกันในวันที่ 14 เดือน 3 ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลกเช่นกัน
วันนี้เราจะมาแนะนำสูตรคณิตศาสตร์ที่มีค่าพาย π มาเกี่ยวข้อง ใครยังจำสูตรการคำนวณเหล่านี้ไม่ได้ มาค่อยจำ ค่อยคำนวณไปพร้อมกัน
พื้นที่รูปวงกลม = π r²
เส้นรอบวง = 2 π r
พื้นผิวทรงกลม = 4 π r2
ปริมาตรทรงกลม = 4/3 π r3
ปริมาตรทรงกระบอก = π r2h
ปริมาตรทรงกระบอกกลวง = π h (R2 - r2)
ปริมาตรทรงกรวย = 1/3 π r2h
ใครยังไม่เต็มอิ่ม อยากทดลองทำโจทย์ที่ท้ายทาย ตามมาทางนี้กับรายการ "ห้องเรียนติวเข้มม.ต้น" ตอน คณิตศาสตร์ : พื้นที่ผิวและปริมาตร มาทบทวนความรู้ไปพร้อมกัน
ที่มา : What is Pi ?