มองมุมสะท้อน จุดอ่อนการศึกษาออนไลน์
รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าในช่วงแรกของการเรียนโดยเฉพาะในระดับมหาวิทยาลัย อาจจะสามารถใช้สื่อการเรียนผ่านทางออนไลน์ได้ แต่พอเรียนไปในระดับที่ยากขึ้น“หลายสาขาวิชาต้องลงมือทำจริง ๆ ถึงจะไปประกอบอาชีพได้ การแจกอุปกรณ์ Lab ไปทำที่บ้าน พร้อมเรียนออนไลน์ช่วยได้แค่ทักษะพื้นฐาน แต่มันไม่พอ วิศวกรจะทำงานอย่างไร ถ้าไม่เคยประกอบเครื่องยนต์ หมอจะตรวจโรคจริง ๆ ได้อย่างไร ถ้าไม่เคยสัมผัสคนไข้…?” อาจารย์เลยแนะนำว่าภาครัฐอาจจะต้องกลับมาทบทวนใหม่ เพราะไม่ใช่อะไรก็จะใช้การเรียนออนไลน์ได้ การปรับมาตราการนิวนอร์มอลจึงมีความสำคัญ เราต้องปรับตัวให้อยู่กับโควิด-19 นี้ให้ได้
ลมหายใจของบ้านดนตรีไทยในยุคโควิด-19
ตลอด 25 ปี ในการเปิดเป็นบ้านดนตรีไทย ที่แห่งนี้สอนการประดิษฐ์ การซ่อม การบรรเลง ให้กับนักศึกษาและผู้สนใจ แต่ในช่วงโควิด-19 บ้านดนตรีมีการปรับตัวมาเป็นการสอนออนไลน์ แต่ไม่สามารถใช้ได้กับวิชาการประดิษฐ์ และซ่อมดนตรีไทย ที่ต้องอาศัยการปฏิบัติจริง รวมไปถึงในยุคนี้ที่ดนตรีไทยไม่เป็นที่นิยมของเด็ก เนื่องมาจากการไหลเข้ามาของดนตรีต่างชาติ ยิ่งทำให้ดนตรีไทยเข้าถึงได้ยาก จึงอยากจะฝากให้สื่อทั้งจากทีวีและทางออนไลน์ให้ความสนใจและเพิ่มพื้นที่ในเรื่องดนตรีไทยให้มากขึ้นด้วย
ติดตามชมรายการ HAVE A NEWSDAY วันพุธที่ 15 ก.ย. 64 เวลา 12.00 – 12.10 น. ทาง ALTV ทีวีเรียนสนุก ช่องหมายเลข 4