นอกจากสีสันที่สวยงามแล้ว “กระโถนฤาษี” (Sapria himalayana) การพบพืชหายาก ตระกูลกาฝาก หรือ พืชเบียน (Parasitic plant) กลุ่มนี้จะพบได้ในป่าดิบชื้น ซึ่งปราศจากการบุกรุกแผ้วถางในทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรี ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ ตาก ระนอง สุราษฎร์ธานี ซึ่งลักษณะส่วนดอกของกระโถนฤาษี มีลักษณะคล้ายปากแตรหรือถ้วยขนาดใหญ่กลีบดอกมี 10 กลีบสีแดงสด มีจุดประสีขาวหรือสีเหลืองสวยงามสะดุดตา ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 เซนติเมตร โคนกลีบเชื่อมกันเป็นท่อกึ่งกลางดอก เป็นช่องเปิดลงสู่แอ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของเส้าเกสร (Column)กระโถนฤาษี เป็นพืชอาศัยเบียนโดยแทงราก เพื่อดูดกินน้ำและอาหารจากรากเถาวัลย์ของต้นเครือเขาน้ำ หุ่นเป และเถาส้มกุ้ง จนถึงวัยเจริญพันธุ์จึงส่งตาดอกผุดขึ้นเหนือพื้นดิน โดยใช้กลิ่นเหม็นล่อแมลงมาให้ช่วยผสมพันธุ์ เพราะมันเป็นพืชที่แยกเพศอยู่กันคนละดอก และได้ชื่อว่า ราชินีแห่งกาฝากที่มาข้อมูลจาก: หนังสือบันทึกสิ่งแวดล้อมป่าเขตร้อน กองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และวันนี้สายลับธรรมชาติของเรา เฟย์ แฟรี่ และพี่โอม
ติดตามภารกิจครั้งนี้ได้ในรายการ Nature Spy สายลับธรรมชาติ ตอน ห้องเรียนธรรมชาติ ในวันอังคารที่ 4 ส.ค. 63 เวลา 16.55 - 17.17 น. ทาง ALTV ทีวีเรียนสนุก ช่องหมายเลข 4