นักเรียนสามารถบรรยายความรู้สึกของตนเองผ่านกิจกรรม feel (รู้สึก) see (เห็น) here (ได้ยิน) และ run (วิ่ง) โดยให้นักเรียนรับชมคลิปเหตุการณ์คลื่นยักษ์ “สึนามิ” สามารถจับกลุ่มคิดคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเตือนภัยในเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ และจำลองสถานการณ์การเป็น Safety Manager ว่าจะวางแผนในการจัดทำป้ายเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติได้
................................................................................................................................................................................
หลายปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่นานพอที่จะทำให้เด็กรุ่นหลังๆ ที่ไม่ได้ประสบกับเหตุการณ์สึนามิหรือรับรู้ข่าวสารในช่วงเวลาดังกล่าวอาจไม่ทันได้ตระหนักถึงความร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น หากมีเหตุการณ์ “สึนามิ” ขึ้นอีกครั้ง ถึงแม้จะมีการประชาสัมพันธ์ และรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกๆ ปี หรือตัวชี้วัดการเรียนรู้ที่จะพูดถึงเรื่องภัยพิบัติจากธรรมชาติอยู่ แต่การให้ความสำคัญในเรื่องของการให้มากกว่าความรู้ ความเข้าใจ คือการกระตุ้นเตือน และมุ่งเน้นความตระหนัก รวมถึงการเสริมทักษะที่จำเป็นในการรับมือกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคตยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก
โรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ จังหวัดระนอง ได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้และได้ออกแบบหน่วยการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ การตระหนักรู้ รวมถึงเสริมทักษะที่จำเป็นให้กับนักเรียนผ่านหน่วยการเรียนรู้ “ความทรงจำ 20 ปี สึนามิจังหวัดระนอง” การออกแบบด้วยความตั้งใจและมุ่งหวังให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีค่าแก่นักเรียน โดยประกอบไปด้วย 5 โมดูล พร้อมบูรณาการความรู้ผ่านสาระการเรียนรู้ต่างๆถึง 7 รายวิชา ประกอบไปด้วย วิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และวิชาการงานและพื้นฐานอาชีพ ด้วยการใช้สื่อ ALTV ไทยพีบีเอสในการออกแบบการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น