เนื่องในวันที่ 7 กรกฎาคม ครบรอบ 91 ปี การจากไปของเซอร์ อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ นักเขียนและแพทย์ชาวอังกฤษ หนึ่งในผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้แก่เขา คือนวนิยายสืบสวนสอบสวนสุดโด่งดังอย่าง “เชอร์ล็อก โฮมส์ (Sherlock Holmes)”
นวนิยายสืบสวนสอบสวน ชุดเชอร์ล็อก โฮมส์ (Sherlock Holmes) เป็นเรื่องของนักสืบชาวลอนดอนผู้ปราดเปรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านทักษะการประมวลเหตุและผล ทักษะด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยหลักฐาน และการสังเกตอันคาดไม่ถึงเพื่อคลี่คลายคดี มาทำความรู้จักเกี่ยวกับตัวละครเชอร์ล็อก โฮมส์ (Sherlock Holmes) เพิ่มเติมกันได้ จาก 5 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับ เชอร์ล็อก โฮมส์ (Sherlock Holmes) กันได้เลย !!
ต้นแบบตัวละครเชอร์ล็อก โฮมส์
เซอร์ อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้าง เชอร์ล็อก โฮมส์ มาจากนายแพทย์ผู้หนึ่ง คือ นายแพทย์โจเซฟ เบลล์ ระหว่างที่เขาเป็นแพทย์ฝึกงานที่ โรงพยาบาลเอดินบะระรอยัล ซึ่งนายแพทย์อาวุโสผู้นี้ สามารถระบุอาการและโรคของคนไข้ได้ทันที เพียงจากการสังเกตสภาพภายนอก หรือสามารถอธิบายเรื่องราวได้มากมายจากข้อสังเกตเพียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้โคนัน ดอยล์ ทึ่งเป็นอย่างมาก และนายแพทย์เบลล์ยังเคยช่วยเหลือการสืบสวนคดีของตำรวจบางคดีอีกด้วย
เกือบทุกการไขคดีเล่าเรื่องโดยหมอวัตสัน
นวนิยายชุดเชอร์ล็อก โฮมส์ นี้ เกือบทุกเรื่องจะเป็นการเล่าดำเนินเนื้อเรื่องในการไขปริศนาต่าง ๆ ของเชอร์ล็อก โฮมส์ โดยคู่หูอย่าง นายแพทย์จอห์น เอช. วัตสัน หรือ หมอวัตสัน นั้นเอง
8 ทักษะความรู้ของเชอร์ล็อก โฮมส์
ในเรื่องนวนิยายชุดเชอร์ล็อก โฮมส์ เรื่อง แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) หมอหมอวัตสันเคยประเมินทักษะต่าง ๆ ของโฮมส์ไว้ถึง 12 อย่างแต่เขามีทักษะที่เชี่ยวชาญอยู่ 8 อย่างด้วยกันคือ
อาชีพจริงของเชอร์ล็อก โฮมส์
เชอร์ล็อก โฮมส์ ทำงานเพียงอย่างเดียว คือ เป็น “นักสืบเชลยศักดิ์” ซึ่งหมายถึง เป็นนักสืบเอกชนที่ทำงานตามการว่าจ้างเป็นคราว ๆ ไป อย่างไรก็ดี มีหลายครั้งที่โฮมส์ทำคดีเพื่อช่วยเหลือเพื่อนตำรวจที่สก๊อตแลนด์ยาร์ด หรือเพื่อความบันเทิงส่วนตัว ลูกค้าส่วนใหญ่ของโฮมส์เป็นผู้มีสตางค์ โฮมส์จึงได้รับค่าจ้างอย่างงามจนสามารถใช้ชีวิตอย่างสบาย หมอวอตสันเคยเล่าไว้ในตอน “ซ้อนกล” เมื่อตอนที่เขาย้ายออกไปจากบ้านเช่า และโฮมส์อาศัยอยู่เพียงลำพังว่า เงินค่าเช่าที่โฮมส์จ่ายมิสซิสฮัดสันนั้นมากพอจะซื้อตึกหลังนั้นได้เลยทีเดียว
เชอร์ล็อก โฮมส์ เกษียณไปเลี้ยงผึ้ง
ในเรื่อง "ลาโรง" โฮมส์เกษียณตนเองไปอยู่ในฟาร์มเล็ก ๆ ที่ซัสเซกซ์ดาวน์ ไม่มีบันทึกแน่ชัดว่าย้ายไปเมื่อใด แต่ประมาณว่าน่าจะเกิดขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1904 เพราะมีการเล่าย้อนความหลังในเรื่อง รอยเปื้อนที่สอง ซึ่งตีพิมพ์ในปีนั้น ที่ฟาร์มนี้เขาเลือกงานอดิเรกในการเลี้ยงผึ้งมาเป็นงานประจำ และได้เขียนหนังสือ "คู่มือเลี้ยงผึ้งทางปฏิบัติ พร้อมด้วยข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับวิธีแยกนางพญา" เนื้อเรื่องเล่าถึงโฮมส์กับวอตสันที่หยุดชีวิตเกษียณชั่วคราวเพื่อช่วยเหลืองานทางทหารในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นอกจากนี้มีนิยายอีกเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเกษียณ คือ "ขนคอสิงห์" ซึ่งโฮมส์เป็นคนเล่าเรื่องเอง และไม่มีรายละเอียดว่าโฮมส์เสียชีวิตเมื่อใด
ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย เชอร์ล็อก โฮมส์ , อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์