ขบวนพาเหรดนับว่าเป็นสีสันของเมืองต่าง ๆ ในวันหยุดทั่วสหรัฐอเมริกา ครั้งหนึ่งในปี 1924 ห้างสรรพสินค้า Macy's ศูนย์การค้าที่เก่าแก่ที่สุดในนครนิวยอร์กได้จัดขบวนพาเหรดสุดอลังการขึ้นในวันขอบคุณพระเจ้า
ตลอดเส้นทางกว่า 2.5 ไมล์ (ประมาณ 4 กิโลเมตร) ประกอบด้วยบอลลูนตัวการ์ตูนขนาดมหึมาที่ลอยอยู่เหนือท้องฟ้า พร้อมด้วยนักเต้นและวงโยธวาทิตขนทัพเดินขบวน สามารถดึงดูดผู้ที่เขามาชมได้ประมาณ 2-3 ล้านคน ขบวนพาเหรดในครั้งนั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ตั้งแต่นั้นมาก็กลายเป็นงานประจำปีของห้าง Macy's ที่ทุกคนรอคอย
จนกระทั่ง วันที่ 23 พฤศจิกายน ปี 1989 ขบวนพาเรดประจำปีก็มิอาจต้านทานภัยธรรมชาติอันเลวร้ายได้ เมื่อพายุหิมะเกิดขึ้นในวันขอบคุณพระเจ้า ทั่วทุกพื้นที่ถูกหิมะปกคลุมเป็นสีขาวโพลน ทำให้บอลลูนตัวการ์ตูน Snoopy และ Bugs Bunny “ฉีกขาด”จนไม่สามารถเข้าร่วมขบวนกับผองเพื่อนได้ นับว่าเป็นพายุหิมะครั้งแรกในรอบ 51 ปีของนครนิวยอร์ก โดยมีความหนาเกือบ 4 นิ้ว
โปสเตอร์ขบวณพาเรด Macy's ประจำปี 2022 ฉลองเทศกาลขอบคุณพระเจ้า ที่มา: macys.com
ในวันขอบคุณพระเจ้าปี 2022 ขบวนพาเรดของ Macy's จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในโอกาสครบรอบ 96 ปี มาพร้อมบอลลูนยักษ์ 16 ลูก รถลอยฟ้า 28 คัน ตัวตลกกว่า 700 ตัว วงโยธวาทิต 12 วง กลุ่มการแสดง 10 กลุ่ม และการแสดงจากเหล่าคนดังมากมาย ซึ่งปีนี้ Mariah Carey มาแสดงเพลงฮิตตลอดกาลอย่าง "All I Want for Christmas Is You" ก่อนที่ซานตาคลอสจะมาถึงที่ร้าน Macy's ที่ 34th Street ในจตุรัส Herald Square
ในประเทศไทยมีงานไถ่ชีวิตโคกระบือ ในสหรัฐอเมริกาก็มีประเพณีเกี่ยวกับการไถ่ชีวิตสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นในปี 1947 ทุก ๆ ปีเกษตรจะคัดเลือกไก่งวงสุขภาพดีเพื่อเป็นของขวัญแก่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในวันขอบคุณพระเจ้า ความหมายของการมอบของขวัญจากสัตว์ปีกนั้น สื่อถึงความรักชาติ การสนับสนุน และความยินดี ชาวเกษตรแต่ละเมืองจึงแข่งขันกันในการคัดเลือกไก่ที่ดีที่สุดเพื่อส่งไปทำเนียบขาว โดยหวังสร้างความน่าเชื่อถือและได้รับการไว้วางใจทางการค้า
ที่มา: whitehousehistory.org
ณ ทำเนียบขาวก่อนวันขอบคุณพระเจ้าไม่กี่วัน ประธานาธิบดี “จอห์น เอฟ เคนเนดี” ซึ่งดำรงตำแหน่งในขณะนั้น เขาเป็นคนแรกที่ “ละเว้นชีวิตไก่งวง” ของขวัญจาก แฮร์รี เอส ทรูแมน ประธานาธิบดีคนก่อน พร้อมกล่าวว่า "Let's keep him going." ก่อนจะส่งไก่งวงผู้โชคดีกลับไปใช้ชีวิตในฟาร์มตามเดิม ภายหลังสื่อมวลชนเรียกการกระทำนี้ว่า “การให้อภัย” (pardon)
กระทั่งในปี 1989 กับคณะบริหารของประธานาธิบดี “จอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช” เห็นชอบให้มีพิธีอภัยโทษไก่งวงอย่างเป็นทางการ ชื่อว่า "The National Thanksgiving Turkey Presentation" หรือ “พิธีอภัยโทษไก่งวงแห่งชาติ"
เมื่อพูดถึงเทศกาลขอบคุณพระเจ้า วันที่ทุกคนไม่ควรพลาดลำดับถัดไปนั่นคือ Black Friday เทศกาลแห่งการชอปปิงส่งท้ายปีที่จัดขึ้นใน “วันศุกร์ถัดจากวันขอบคุณพระเจ้า” ทุกห้างร้าน ทุกแบรนด์ ต่างจัดแคมเปญลด-แลก-แจก-แถมล้างสต็อกครั้งยิ่งใหญ่ เป้าหมายเพื่อระบายสต็อกในร้านก่อนเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่จะมาถึงในเดือนธันวาคม
เหตุผลที่ใช้ชื่อแคมเปญว่า “Black Friday” มีหลายที่มา เดิมคำว่า “Black หรือ สีดำ” ,นิยมใช้สำหรับวันที่เกิดภัยพิบัติ อาจหมายถึง หายนะและความมืดมน ต่อมาได้มีการนำคำนี้มาใช้ในหลาย ๆ เหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น เหตุการณ์ “หายนะทางเศรษฐกิจ” หุ้นในสหรัฐอเมริการ่วงถึงจุดวิกฤติทำให้ทั้งประเทศเกือบล้มละลาย ในวันที่ 24 กันยายน ปี 1869 ซึ่งตรงกับวันศุกร์ จึงเรียกว่า Black Friday
เทศกาลนี้ดึงดูดให้ผู้คนออกมาจับจ่ายใช้สอยอย่างบ้าคลั่ง ร้านใดจัดโปรโมชันถูกใจลูกค้า เรียกว่าร้านนั้นแทบจะโดนพังประตูตั้งแต่ยังไม่เปิด ตามที่เห็นบ่อย ๆ ในข่าวต่างประเทศ ซึ่งทำเงินสะพัดให้กับห้างร้านเป็นอย่างมาก จากข้อมูลในปี 2021 ชาวอเมริกันกว่า 154.5 ล้านคนซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกและทางออนไลน์ ทำยอดขายได้ประมาณ 30 -40 พันล้านดอลลาร์ในช่วง Black Friday
อีกหนึ่งวันที่พลาดไม่ได้ คือ Cyber Monday คือมหกรรมชอปปิงออนไลน์ครั้งยิ่งใหญ่ ที่ร้านค้าออนไลน์ต่างพร้อมใจกันลดราคาสินค้า ใน “วันจันทร์หลังวันขอบคุณพระเจ้า” แคมเปญนี้เป็นแผนการตลาดออนไลน์ของ Ellen Davis และ Scott Silverman จากสมาพันธ์การค้าปลีกแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาและเว็บไซต์ Shop.org เพื่อส่งเสริมการชอปปิงออนไลน์ ในปี 2005 (ช่วงเริ่มต้นยุคอินเตอร์เน็ต) และการเปิดโอกาสให้ร้านค้าเล็ก ๆ สามารถแข่งขันกับแบรนด์ดังที่กอบโกยรายได้จาก Black Friday ได้ แม้ว่าแบรนด์ดังเหล่านั้นจะกระโดดเข้าร่วมวง Cyber Monday ก็ตาม
จากสถิติปี 2021 Cyber Monday ได้สร้างปรากฏการณ์น่าทึ่งมากมาย ไม่น้อยหน้า Black Friday อาทิ
ขอบคุณข้อมูล: eatturkey.org, zippia.com, whitehousehistory.org,macys.com