ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
Learn small : วิชา สังคมศึกษา 'อารยธรรมอียิปต์'
แชร์
ฟัง
ชอบ
Learn small : วิชา สังคมศึกษา 'อารยธรรมอียิปต์'
27 มี.ค. 66 • 12.55 น. | 23,845 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

เมื่อพูดถึง 'อารยธรรมอียิปต์' สิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่างพีระมิดหรือรูปปั้นสฟิงค์ คงเป็นสิ่งแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึง แต่นอกจากที่กล่าวมาแล้ว อารยธรรมเก่าแก่นี้ได้ทิ้งมรดกไว้มากมายหลากหลายด้านจนเราอาจนึกไม่ถึง ในวันนี้ ALTV ได้นำสรุปอารยธรรมอียิปต์มาฝากทุกคนกัน

อารยธรรมอียิปต์ (Egyptian Civilization) เป็นอารยธรรมเก่าแก่และสำคัญที่สุดอารยธรรมหนึ่งของโลก โดยมีจุดเริ่มต้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ 'เฮโรโดตัส' นักประวัติศาสตร์คนแรกของโลกเคยกล่าวไว่ว่า "อียิปต์คือของขวัญจากแม่น้ำไนล์" นั่นเป็นเพราะแม่น้ำไนล์ถือเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต คติความเชื่อ วัฒนธรรม และการก่อเกิดอารยธรรมอียิปต์สมัยโบราณนั่นเอง

 

⭐กำเนิดอียิปต์

ย้อนกลับไปช่วงเวลา 5,000 ปี ก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์อาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายในดินแดนสองฝั่งของลุ่มแม่น้ำไนล์ ในระยะแรกมีการรวมกลุ่มกันเป็นนครรัฐเล็ก ๆ จนเมื่อพลเมืองเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงมีการรวมตัวกันเป็น 2 อาณาจักรใหญ่ ได้แก่ อียิปตย์บน (Upper Egypt) และ อียิปต์ล่าง (Lower Egypt)  

 

ในเวลาต่อมา 'ฟาโรห์เมเนส (Menese)' ได้รวบรวมทั้งสองอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่น และสถาปนาตนขึ้นเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์ พร้อมทั้งก่อตั้งเมืองหลวงแห่งแรกของอียิปต์ คือ 'นครเมมฟิส (Memphis)' ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์

 

เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยการปกครองโดยราชวงศ์ของอียิปต์ โดยสามารถแบ่งแยกย่อยได้ อีก 3 ยุคสมัย คือ อาณาจักรเก่า (The old kingdom) อาณาจักรกลาง (The middle Kingdom และอาณาจักรใหม่ (The New Kingdom)

 

อาณาจักรเก่า (3,000-2,100 ก่อนคริสตกาล)   

อาณาจักรเก่า หรือ The Old Kingdom อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ 3,000-2,100 ก่อนคริสตกาล ในยุคสมัยนี้ฟาโรห์มีอำนาจสูงสุด ทรงมีพระราชอำนาจในการตรากฎหมายและพิพากษาคดีความ รวมถึงเป็นผู้นำทางศาสนา

 

ในยุคนี้ความเชื่อเรื่อง ‘ชีวิตหลังความตาย’ และการนับถือเทพเจ้าแพร่หลายอย่างมากในสังคมชาวอียิปต์ นิยมสร้าง 'พีระมิด' ไว้เพื่อฝังพระศพฟาโรห์ ตามคติความเชื่อที่ว่าจะเป็นสถานที่พักพิงสุดท้ายของฟาโรห์ในโลกหน้า สมัยนี้จึงถูกเรียกขานอีกชื่อหนึ่งว่า "สมัยพีระมิด" (Age of the Pyramids) นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นวิธีการเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย หรือที่เรียกกันว่าการทำ ‘มัมมี่’ คือ การดองศพด้วยน้ำยาแล้วนำร่างมาพันไว้ด้วยพาลินินและเก็บในโลงอย่างมิดชิด

 

มีการคิดค้นภาษาและตัวอักษรเป็นของตัวเอง ได้แก่ อักษรเฮียโรกลิฟิก (Hieroglyph) หรือ อักษรภาพเพื่อใช้แทนความหมายสิ่งต่าง ๆ และ อักษรเฮียราติก (Hieratic) โดยอักษรเหล่านี้จนิยมสลักไว้ตามแผ่นหิน ฝาผนัง หรือบันทึกลงกระดาษปาปิรุส (กระดาษจากลำต้นกก) ที่ถือว่าเป็นกระดาษชนิดแรกของโลก ที่ได้คิดค้นขึ้นโดยชาวอียิปต์ในช่วงเวลานี้เช่นกัน

 

อาณาจักรกลาง (2000-1580 ปีก่อนคริสตกาล)     

อาณาจักรกลาง หรือ The Middle Kingdom เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ 2,000-1,580 ปี ก่อนคริสตกาล เป็นยุคสมัยที่มีความรุ่งเรืองในหลายด้าน ในสมัยนี้ไม่นิยมสร้างพีระมิดขนาดใหญ่อีกต่อไป แต่เน้นไปที่การสร้างวิหารบูชาเทพเจ้ามากขึ้น มีการพัฒนาระบบชลประทานและขุดลอกคลองเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำไนล์เข้ากับทะเลแดง มีการนำงบประมาณมาดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้น

 

ในด้านการเมืองการปกครอง ตั้งแต่ 1,505-1484 ก่อนคริสกาล ได้ถือกำเนิดฟาโรห์หญิงองค์แรกนั่นคือ ‘พระนางฮัตเชปซุต‘ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของอียิปต์ที่ผู้หญิงสามารถเข้ามามีบทบาทในการบริหารกิจการบ้านเมือง โดยพระราชกรณียกิจสำคัญของพระนางฮัตเชปซุต คือขยายการติดต่อค้าขายไปถึงเมืองปุนต์ (Punt) ในโซมาเลีย ซึ่งนับว่าเป็นการทำนุบำรุงเศรษฐกิจและการค้าขายของอียิปต์ในสมัยนั้นอย่างมาก

 

อาณาจักรใหม่ (3,000-2,100 ก่อนคริสตกาล)   

อาณาจักรใหม่ หรือ The New Kingdom ช่วงเวลาตั้งแต่ 1,600-1,100 ในสมัยนี้อียิปต์สามารถขยายอำนาจการปกครองไปยังดินแดนต่าง ๆ เช่น ซีเรีย ปาเลสไตน์ ฟินิเซีย ในขณะเดียวกันชนชั้นนักบวชเริ่มมีอำนาจมากขึ้น เนื่องจากการทำพิธีต่าง ๆ ที่เป็นการติดต่อสื่อสารกับเทพเจ้าต้องผ่านนักบวชเท่านั้น ทำให้ในสมัยนี้จึงมีการยกเทพเจ้ารา (Ra) หรือ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ขึ้นเป็นเทพสูงสุดเพียงองค์เดียว และเริ่มมีการปลูกฝังความเชื่อว่า 'ฟาโรห์สืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพ' ส่งผลให้อำนาจของนักบวชอ่อนแอลงในเวลาต่อมา 

 

ในสมัยนี้ยังป็นช่วงเวลาที่อำนาจการปกครองค่อย ๆ อ่อนแอลง จนในที่สุดประมาณ 332 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์โบราณก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของชาวกรีก ที่นำโดย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)

⭐มรดกอารยธรรมอียิปต์  

การเมืองการปกครอง 

  • ฟาโรห์เป็นประมุขสูงสุด 
  • ฟาโรห์แต่งตั้งคณะเสนาบดีเข้าควบคุมการบริหารราชการและปกครองหัวเมืองต่าง ตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ โดย วิเซียร์ (Vizier) และ ข้าหลวง (Nomarch)

ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม 

  • พีระมิด ใช้เป็นสุสานเก็บพระศพของฟาโรห์ โดยพีระมิดที่สำคัญ ได้แก่ พีระมิดขั้นบันได (Step pyramid), พีระมิดแห่งคูฟู หรืออีกชื่อหนึ่ง มหาพีระมิดแห่งกีซ่า (The Great Pyramid of Giza)
  • วิหารบูชาเทพเจ้า ที่โด่งดังคือ วิหารอาบูซิมเบล (Abu simbel) วิหารคาร์นัค (Karnak) วิหารลักซอร์ (Luxor)
  • สฟิงซ์ รูปแกะสลักแบบลอยตัวที่เชื่อว่าเป็นสัตว์ในตำนาน มีลักษณะมีหัวเป็นมนุษย์ มีร่างกายเป็นสิงโต รูปปั้นสฟิงซ์ที่โด่งดัง คือ มหาสฟิงซ์แห่งกีซ่า (Great Sphinx of Giza)

ภาษาและวรรณกรรม 

  • วรรณกรรมเกี่ยวกับศาสนา เช่น “คัมภีร์ของผู้วายชนม์” (Book of the Dead) ภายในเนื้อหาเกี่ยวกับ โลกหลังความตาย
  • อักษรเฮียโรกลิฟิก 
  • อักษรเฮียราติก
  • อักษรเดโมเคติก

ศาสนาและคติความเชื่อ  

  • ความเชื่อแบบพหุเทวนิยม หรือ การนับถือเทพเจ้าหลายองค์
  • ความเชื่อเรื่องชีวิตและโลกหลังความตาย  

วิชาการ 

  • คณิตศาสตร์ การบวก ลบ หาร เรขาคณิต และระบบเลขทศนิยม 
  • ดาราศาสตร์ การจัดระบบและตำแหน่งดวงดาว
  • การแพทย์ การรักษาสภาพศพไม่ให้เน่าเปื่อย 

นวัตกรรม 

  • การทำปฏิทิน
  • กระดาษปาปิรุส
  • เขื่อนกักเก็บน้ำ

 

สำหรับเกร็ดความรู้ที่ ALTV นำมาฝากกันยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพื่อน ๆ ยังสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับอารยธรรมอียิปต์ในแง่มุมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้ที่ รายการ สังคมสนุกคิด ตอน อียิปต์โบราณ ได้ทางเว็บไซต์ ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก

 

 

ที่มา : National Geographic ,ฺ BBC

 

 

 

 

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#อารยธรรมโบราณ, 
#อียิปต์, 
#ประวัติศาตร์, 
#สรุปอารยธรรมโลก, 
#สังคมศึกษา, 
#ติวสอบ, 
#เกร็ดความรู้, 
#ประวัติศาสตร์โลก, 
#ความรู้รอบตัว 
ผู้เขียนบทความ
avatar
THANATCHA SUVIBUY
นับถือแมวเป็นศาสนา มีไอดอลเกาหลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ALTV CI
LearnMore
LearnMore
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
THANATCHA SUVIBUY
นับถือแมวเป็นศาสนา มีไอดอลเกาหลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#อารยธรรมโบราณ, 
#อียิปต์, 
#ประวัติศาตร์, 
#สรุปอารยธรรมโลก, 
#สังคมศึกษา, 
#ติวสอบ, 
#เกร็ดความรู้, 
#ประวัติศาสตร์โลก, 
#ความรู้รอบตัว 
แชร์
ฟัง
ชอบ
ติดตามเรา