ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
Learn small : วิชาสังคมศึกษา "การเกิดภูเขาไฟปะทุ"
แชร์
ชอบ
Learn small : วิชาสังคมศึกษา "การเกิดภูเขาไฟปะทุ"
08 ส.ค. 65 • 18.00 น. | 66,868 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

แม้ว่า "ภูเขาไฟปะทุ" จะเป็นภัยที่ดูไกลตัวสำหรับคนไทย แต่แท้จริงแล้วภูเขาไฟปะทุสามารถสร้างผลกระทบได้ไกลหลายร้อยหลายพันไมล์จนเรานึกไม่ถึง บางครั้งมาในรูปแบบของ "แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ" ที่เราคุ้นเคยกันดี ในวันนี้ ALTV จึงอยากพามาเรียนรู้และทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับภูเขาไฟไปด้วยกัน



🌋ภูเขาไฟคืออะไร ?

ภูเขาไฟ (Volcalno) คือ ช่องเปิดที่พบได้บนแผ่นเปลือกโลกหรือดาวเคราะห์ที่ทำให้หินหนืด (Magma) ฝุ่นละออง ก๊าซ และเถ้าถ่านภูเขาไฟ สามารถเล็ดลอดขึ้นมาตามช่องเปิด หรือบริเวณปล่องภูเขาไฟ (Volcanic crater) จุดที่มักเกิดภูเขาไฟจะอยู่ตามแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก โดยเฉพาะบริเวณ “วงแหวนไฟ (The ring of fire)” จุดที่ตั้งของแนวรอยเลื่อนขนาดใหญ่ในอาณาเขตมหาสมุทรแปซิฟิก มีความยาวประมาณ 40,000 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประเทศกว่า 31 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซียซึ่งใกล้กับประเทศไทยเรามากที่สุด

 

บริเวณวงแหวนแห่งไฟ ถือได้ว่าเป็นจุดที่มีภูเขาไฟมากที่สุดในโลก คาดว่ามีราว ๆ ถึง 452 ลูก และร้อยละ 75 ของภูเขาไฟทั้งหมดที่นี่ยังคงคุกกรุ่นมีโอกาสปะทุในอนาคต โดยภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงในบริเวณวงแหวนไฟ ได้แก่ ภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น ภูเขาไฟกรากะตัว (Krakatoa) ประเทศอินโดนีเซีย และภูเขาไฟโปโปคาเตเปตล์ (Popocatépetl) ประเทศเม็กซิโก ฯลฯ

 

🌋ประเภทของภูเขาไฟ 

เราสามารถแบ่งแยกภูเขาไฟออกได้ 3 ประเภท ได้แก่

  •  ภูเขาไฟมีพลัง (Active volcanoes) หมายถึง ภูเขาไฟที่มีประวัติปะทุมาก่อน กำลังปะทุ ไปจนถึงมีโอกาสปะทุในอนาคต
  •  ภูเขาไฟสงบ (Dormant volcanoes) หมายถึง ภูเขาไฟที่ไม่มีการปะทุมาแล้วกว่าหมื่นปีแต่ก็มีโอกาสปะทุได้ในอนาคต เช่น ภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น
  •  ภูเขาไฟดับสนิท (Extinct volcanoes) หมายถึง ภูเขาไฟที่ไม่ได้ปะทุมาเป็นเวลาหลายหมื่นปี และคาดว่าจะไม่ปะทุอีกในอนาคต

🌋ภูเขาไฟปะทุ (Volcanic eruption) 

ภูเขาไฟปะทุ เกิดจากการเคลื่อนตัวของหินหนืดดันตัวขึ้นมาสู่พื้นผิวโลก โดยจะนำเอาทั้งไอน้ำ ฝุ่นละออง เถ้าถ่านและแก๊สต่าง ๆ ขึ้นมาสู่ชั้นบรรยากาศ ก่อนการปะทุไม่นานจะมีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เช่น เกิดเสียงดังคล้ายฟ้าร้องติดต่อกัน แผ่นดินไหว พื้นดินบริเวณภูเขาไฟบวมหรือลาดเอียงผิดปกติ 

 

โดยทั่วไปแล้วการปะทุของภูเขาไฟ แบ่งออกได้ 2 แบบ ได้แก่ ปะทุพ่น (Effusive) คือการที่ลาวาค่อย ๆ ไหลออกมาจากปล่องภูเขาไฟไปตามที่ลาดชัน และ ปะทุระเบิด (Explosive) คือ การระเบิดแบบพุ่งสูงขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ ซึ่งถือว่าเป็นแบบที่อันตรายกว่าแบบพ่น โดยระดับความรุนแรงของการปะทุ ยังสามารถแบ่งออกได้อีกหลายแบบ โดยจะมี 4 ระดับย่อย ๆ ที่พบเห็นได้มากสุด คือ

 

  • การปะทุแบบพลีเนียน (Plinian) การปะทุที่รุนแรงที่สุด ส่งผลให้ลาวาพุ่งสูงไปบนชั้นบรรยากาศ เกิดหมอกควันหนาทึบเป็นรูปดอกเห็ด
  • การปะทุวัลเคเนียน (Vulcanian) การปะทุของวัลคาเนียนเป็นการระเบิดขนาดเล็กถึงปานกลาง กินเวลาไม่กี่นาที จากการปะทุสามารถปล่อยเถ้าถ่านได้ถึง 20 กม. มีหมอกควันลอยหนาทึบเหนือปล่อง
  • การปะทุแบบสตรอมโบเลียน (Strombolian) โดยทั่วไปเป็นการปะทุค่อนข้างเล็ก ทิศทางคล้ายกับน้ำพุ บางครั้งอาจสูงได้ถึง 10 ไม่ค่อยหมอกควันหนาทึบเท่าพลีเนียน เกิดเศษลาวาโปรยปราย ระเบิดต่อเนื่องเป็นระยะ
  • การปะทุแบบฮาวายเอียน (Hawaiian) เป็นการปะทุแบบค่อย ๆ เอ่อล้น มีลาวาไหลครอบคลุมพื้นที่เป็นวงกว้าง 

🌋รูปทรงภูเขาไฟ

ภูเขาไฟสามารภแบ่งตามรูปทรงได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • ภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) ลักษณะมีฐานใหญ่แผ่กว้าง ลาดชันน้อย ไม่ได้ก่อตัวเป็นภูเขาสูงตระหง่านมีรูปร่างคล้ายโล่ของนักรบวางราบบนพื้นโลก ตัวอย่างภูเขาไฟแบบโล่ คือ ภูเขาไฟกระโดง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ภูเขาไฟแบบสลับชั้น (Composite Volcano) เป็นภูเขาไฟที่ก่อตัวเป็นรูปทรงกรวย มีความลาดชันสูง ภูเขารูปทรงนี้เมื่อปะทุจะมีความรุนแรงมาก ภายในภูเขาไฟมีการเรียงสลับชั้นกันระหว่างหินหนืดและเถ้าถ่านภูเขาไฟ ยกตัวอย่าง ภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น หรือภูเขาไฟปอมเปอิ ประเทศอิตาลี 
  • ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด (Cinder Volcano) ภูเขาไฟประเภทนี้มีความสูงชัน เกิดจากเถ้าถ่านและลาวาพุ่งออกมาทับถมกันบริเวณรอบ ๆ ปากปล่อง

🌋ผลกระทบจากภูเขาไฟปะทุ

  • ฝนกรด ฝนกรด (Rain acid) ไม่ได้หมายถึงการที่น้ำฝนกลายเป็นกรดบริสุทธิ์แต่อย่างใด แต่ป็นการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่าง ซึ่งมักเกิดจากการรวมตัวของน้ำฝนเข้ากับก๊าซออกไซด์บางชนิด ซึ่งเมื่อภูเขาไฟระเบิดมันจะปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนสู่ชั้นบรรยากาศโลก ทำให้เกิดฝนกรด อันเป็นสาเหตุที่ทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายตามไปด้วย
  • อุณหภูมิโลกผันผวน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง การระเบิดของภูเขาไฟจะปล่อยเถ้าถ่านและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมหาศาล ส่งผลให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศลดลง ในกรณีที่ระเบิดรุนแรงมาก จะทำให้ก๊าซและฝุ่นละอองต่าง ๆ กระจายออกไปได้ทั่วโลก และลอยอยู่ได้หลายเดือน
  • ไฟป่า หากเกิดภูเขาไฟระเบิดใกล้กันกับแหล่งที่อยู่อาศัย มีโอกาสที่ธารลาวาจะไหลเขาท่วมที่อยู่อาศัย หรือทำลายท่อแก๊สทำให้เกิดเพลิงไหม้ลุกลามได้
  • ปะการังใต้น้ำเสียหาย เมื่อเกิดการปะทุของภูเขาไฟ เถ้าถ่านภูเขาไฟจะทับถมทั่วทั้งบนบกและในน้ำทำให้เกิดสารพิษปะปนในน้ำ ไม่นับรวมธาตุเหล็กจากภูเขาไฟที่กระตุ้นการเกิดสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบางชนิดที่เป็นตัวทำลายปะการัง

 

นอกจากเกร็ดความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูเขาไฟที่เรานำมาฝากกันแล้ว รายการ สังคมสนุกคิด จากช่อง ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก ได้นำเกร็ดความรู้ดี ๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับภูเขาไฟ เช่น วิธีการสังเกตหินภูเขาไฟ การเอาตัวรอดจากภูเขาไฟปะทุ และสาระน่ารู้อื่น ๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ สามารถรับชมต่อได้ที่ รายการ สังคมสนุกคิด ตอน ภูเขาไฟ <คลิก

 

ที่มา: National geographic

 

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#ภูเขาไฟ, 
#ภูเขาไฟปะทุ, 
#ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, 
#ธรณีพิบัติ, 
#โลกและดาราสาสตร์, 
#สังคมสนุกคิด, 
#สังคมศึกษา, 
#ข้อสอบวิชาสังคม, 
#แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด, 
#โลก, 
#สิ่งแวดล้อม 
ผู้เขียนบทความ
avatar
H. ARIGATO
หงส์ฟ้า
ทาสแมวผู้ Enjoy กับชีวิตเรียบง่าย มีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ
ALTV CI
LearnMore
LearnMore
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
H. ARIGATO
หงส์ฟ้า
ทาสแมวผู้ Enjoy กับชีวิตเรียบง่าย มีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#ภูเขาไฟ, 
#ภูเขาไฟปะทุ, 
#ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, 
#ธรณีพิบัติ, 
#โลกและดาราสาสตร์, 
#สังคมสนุกคิด, 
#สังคมศึกษา, 
#ข้อสอบวิชาสังคม, 
#แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด, 
#โลก, 
#สิ่งแวดล้อม 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา