นายกรัฐมนตรี หนึ่งในอาชีพที่เด็กเยาวชนใฝ่ฝัน และมักตั้งคำถามว่า “อยากเป็นนายกฯ ต้องเรียนอะไรบ้าง?” เพื่อที่จะนำความรู้ความสามารถที่ได้ร่ำเรียนมาพัฒนาประเทศในอนาคต การบริหารประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น คนที่จะเข้ามาทำงานในฐานะนายกฯ ต้องมีทักษะรอบด้านทั้งศาสตร์และศิลป์ รวมถึงวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการนำพาประเทศไปข้างหน้า
สำหรับ “คุณสมบัติด้านการศึกษา” ของผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ ต้องจบวุฒิอะไร? ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2560 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 160 ว่า รัฐมนตรีต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า” ซึ่งก็แปลว่าคุณสมบัติดังกล่าว ไม่จำกัดที่สถาบัน หลักสูตร หรือสาขาวิชาที่เรียน ALTV จึงขอหยิบยกทักษะเด่น ๆ ที่นายกฯ ควรมี พร้อมแนะนำสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องของแต่ละสถาบัน
เมื่อพูดถึงการเป็นนายกฯ สิ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้นั้นก็คือ “การเมืองการปกครอง” เกี่ยวข้องกับ “การใช้อำนาจทางการเมือง” ด้วยกฏหมาย หรือนโยบายสาธารณะ ในการควบคุมดูแลสังคมให้อยู่ร่วมกันด้วยสงบเรียบร้อย อำนาจทางนิติบัญญัติในระบบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญ ตลอดจนการบริหารและการจัดการองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ระบบตุลาการ และกระบวนการทางการเมือง ซึ่งนายก ฯ ต้องมีแนวคิดที่เป็นประชาธิปไตย มีคุณธรรมและจริยธรรมในการกระจายอำนาจในทุกภาคส่วน
รัฐศาสตร์ เป็นการศึกษาที่ว่าด้วยการเมืองการปกครอง, รัฐ, เศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมให้มีการการคิด วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นในเรื่องของรัฐ การเมือง การปกครอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศ รวมทั้งแนวทางการประกอบอาชีพ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่าง ๆ เช่น
แม้ “รัฐศาสตร์” จะไม่ได้สอนเรื่องวิธีการเป็นนักการเมือง แต่ก็เป็นวิชาอันดับต้น ๆ ของคนที่ต้องการเข้าสู่เส้นทางการเมือง เนื่องจากการเรียนรัฐศาสตร์ช่วยให้มีความรู้ที่หลากหลาย เช่น การเมืองการปกครอง, ระบบราชการ, กฏหมาย, การเงิน, การศึกษา อีกทั้งผู้ที่จบรัฐศาสตรบัณฑิต สามารถเข้ารับราชการได้ทุกกระทรวง รวมถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน
🧩ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน “หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต”
ตัวอย่าง นายกรัฐมนตรีที่เรียนจบด้านการเมืองการปกครอง
ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 20
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 28
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เนื่องจากนายกรัฐมนตรีอยู่ในฐานะ "หัวหน้ารัฐบาล" ซึ่งมีอำนาจในการบริหารและอำนาจนิติบัญญัติในระบบรัฐสภา จึงต้องรู้ความข้อกฎหมาย นโยบาย มาตรการ ระเบียบของรัฐบาล เพราะรัฐบาลเป็นผู้บังคับให้มีกฎหมาย กำหนดนโยบาย มาตรการ ข้อปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อบริหารทรัพยากรของสังคม
ทั้งนี้นายกฯ เองก็ต้องเข้าใจขอบเขตอำนาจหน้าที่ของรัฐ เพื่อมิให้ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามนโยบายที่ทำได้จริง
หากนายกฯ ใดมีการบังคับใช้กฎหมายไม่คงเส้นคงวา ทำให้เกิดการก่อการร้ายและการจลาจล ก็ย่อมส่งผลลบต่อภาพลักษณ์องค์กร เกิดความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นการทำงานอย่างไร้ประสิทธิภาพ ดังนั้น กฎหมายจึงสัมพันธ์กับการพัฒนาประเทศอย่างยิ่งที่อาจส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาได้
สำหรับวิชาที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายโดยตรง คือ นิติศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับตัวบทกฎหมายที่ใช้เป็นกฏเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ทำความเข้าใจข้อบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบ และบทบาทของบุคคลในทุกกิจกรรม ทุกระดับ เพื่อให้เกิดความ “เป็นธรรม” และความสงบสุขในสังคม โดยการเรียนนิติศาสตร์จะมีสาระสำคัญ 3 ข้อหลัก ๆ คือ
🧩ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน “หลักสูตรนิติศาสตร์”
โดยแต่ละสถาบันอาจแยกเป็นสาขาย่อย เช่น
ตัวอย่าง นายกรัฐมนตรีที่เรียนจบด้านกฏหมาย หลักสูตรนิติศาสตร์
ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7
อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 18 ปริญญาตรีด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 20
บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 26 จบนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 25 นิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เนื่องจากนายกฯ มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการบริหารราชการ เสนอนโยบาย และวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคงของชาติ จึงจำเป็นต้องรู้วิธีบริหารและการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ เช่น คน เงิน วัสดุสิ่งของอันเป็นเครื่องมือในการจัดการ เพื่อให้งานนั้นสำเร็จตามเป้าหมาย พร้อมทั้งติดตามผลแล้วนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
การบริหารและการจัดการ เป็นกระบวนการบริหารการจัดการ แนวคิด ทฤษฎี และกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับทำงานให้เกิดประสิทธิภาพในองค์การ มีการจัดการเชิงกลยุทธ์ หลักการบริหารองค์กร การตัดสินใจทางธุรกิจ การวางนโยบายองค์กร ซึ่งทักษะนี้เป็นประโยชน์สำหรับผู้ต้องการมีกิจการเป็นของตนเอง
ในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการจัดการ มักอยู่ใน สูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ของคณะบริหารธุรกิจ หรือคณะวิทยาการจัดการในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นการเรียนเกี่ยวกับกระบวน แนวคิด ทฤษฏีด้านการบริหารและการจัดการประกอบด้วย
รวมถึงจริยธรรมในการทำงาน ความรู้เหล่านี้สามารถนำมาใช้ทั้งการบริหารราชการ การบริหารธุรกิจ ตลอดจนการจัดการทุกสาขา
🧩ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน “หลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการ”
ตัวอย่าง นายกรัฐมนตรีที่เรียนจบหลักสูตรด้านการบริหารและการจัดการ
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26 ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การจัดการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ มีผลกระทบต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะหมายถึงปากท้องของประชาชนทุกคน หากเศรษฐกิจในสังคมใดเติบโตสูงขึ้น เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทำให้ “ประชาชนมีรายได้และมีกำลังซื้อมากขึ้น” ตามไปด้วย
ในทางกลับกัน เมื่อประเทศอยู่ในวิกฤตที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ จะมีผลกระทบต่อรายได้ขององค์กรและภาครัฐ การจัดเก็บภาษีลดลง ทำให้งบประมาณของโครงการพัฒนาด้านต่าง ๆ ลดลงไปด้วย และหากเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องก็จะเกิด “การว่างงาน” สิ่งที่ตามมา คือการเกิดอาชญากรรม จึงเป็นเหตุผลที่นายกฯ ที่จะต้องวางนโยบายให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีแนวทางและแผนการทำงานในการกระตุ้นเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม และรับมือกับวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของสังคมโดยตรง ที่ว่าด้วยเหตุผล การตัดสินใจ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ทั้งในชีวิตประจำวัน ระดับครอบครัว ไปจนถึงในระดับประเทศ ซึ่งจะศึกษาพฤติกรรมมนุษย์และสังคม ทั้งการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า และการบริการ เพื่อจัดสรรทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การตัดสินใจว่าจะผลิตอะไรดี? หรือจะให้ใครเป็นผู้ผลิต? โดยใช้ “ระบบตลาด” มาเป็นเกณฑ์วางแผนว่า ควรผลิตสินค้าอะไร จำนวนเท่าไหร่ วิธีการใด เป็นต้น
ปัจจุบันการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มี 2 แขนง คือ
ประโยชน์ของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ทำให้เข้าใจปัญหาทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งสาเหตุและผลกระทบต่อบุคคล ครอบครัว และประเทศชาติ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีเหตุผล เลือกแนวทางในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ตลอดจนสามารถวางนโยบายให้เหมะสมกับเศรษฐกิจขององค์กรหรือประเทศได้
🧩ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน “หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต” ส่วนมากอยู่ใน “คณะเศรษฐศาสตร์” แต่ละสถาบันแบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยรังสิต คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยของแก่น วิทยาเขตหนองคาย คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ สาขาเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์
ตัวอย่าง นายกรัฐมนตรีที่เรียนจบหลักสูตรด้านเศรษฐศาสตร์
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 13
ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 27
ประเด็นด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่นายกฯ ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งควรนำมาวิเคราะห์และปรับให้เหมาะสมกับการกำหนดนโยบายต่าง ๆ เช่น
สำหรับการศึกษาความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม มักอยู่ใน “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” เป็นการเรียนเกี่ยวกับสภาวะของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย ศึกษาประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการ และการปรับตัวของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ การศึกษาด้านวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยแต่ละสาขาจะเจาะลึกมากขึ้น เช่น ภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก, ประวัติศาสตร์, สังคมและวัฒนธรรม ,การเมือง, วรรณคดี, ภูมิศาสตร์, ปรัชญาและศาสนา, ศิลปะการแสดง, บรรณารักษศาสตร์ จิตวิทยา ฯลฯ
บางมหาวิทยาลัยจะใช้ชื่อคณะที่แตกต่างกันออกไป แต่รายวิชาพื้นฐานหรือเนื้อหาที่สอนค่อนข้างใกล้เคียงกัน ได้แก่ คณะศิลปศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์
🧩ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรด้านสังคมและวัฒนธรรม
ตัวอย่าง นายกรัฐมนตรีที่เรียนจบหลักสูตรด้านสังคมและวัฒนธรรม
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 6 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไทเป
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรักษาการนายกรัฐมนตรี จบคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การทูต เป็นศิลปะด้านการสื่อสาร เจรจา เพื่อใช้ในการติดต่อธุระต่าง ๆ ระหว่างบุคคลที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการให้เป็นตัวแทนการเจรจาขององค์กรหรือประเทศ โดยประโยชน์ด้านความสัมพันธ์ หรือทำข้อตกลงด้านกฏหมายระหว่างประเทศ ซึ่งในบางครั้งนายกฯ อาจถูกเชิญให้เข้าไปเจรจาเพื่อทำข้อตกลงหรือการปฏิบัติงานต่าง ๆ กับรัฐอื่นในต่างประเทศ ในฐานะ “ตัวแทนของรัฐ” เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศโดยต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ร่วมกันสำหรับประชาชนของประเทศนั้น ๆ
การเป็นผู้แทนทางการทูตนั้นจึงจำเป็นต้องมีทักษะรอบด้านในเจรจาประเด็นต่าง ๆ อย่างมืออาชีพ เช่น ภาษาต่างประเทศ, ทักษะการเจรจาต่อรอง, จิตวิทยาการสื่อสาร, กฏหมายระหว่างประเทศ, เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เป็นต้น
สำหรับสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์ในด้านการทูตที่สุด คือ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต อยู่ในคณะรัฐศาสตร์ มีเนื้อหาคลอบคลุมทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, กฎหมาย, เศรษฐศาสตร์, สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รวมถึงการเมืองการปกครอง และการบริหารรัฐกิจ
นอกจากนี้ยังหลักสูตรอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างประเทศ เช่น
🧩ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน “ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ”
🧩ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรเกี่ยวกับ “ภาษาต่างประเทศ”
การเป็นนายกฯ หรือนักการเมือง ไม่ควรจำกัดที่รูปแบบการศึกษาหรือสาขาที่เรียน เพราะในสังคมมีหลากหลายอาชีพ ดังนั้น ควรเลือกคนที่เป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ มีความสามารถ คุณธรรม และความรับผิดชอบเพื่อมาพัฒนาประเทศให้ดีกว่าเดิม
ติดตามข่าวสารและเกาะติดสถานการณ์ การเลือกตั้ง 66 #เลือกอนาคตประเทศไทย กับ ThaiPBS ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Election66
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, หนังสือเสริมวิชาเศรษฐศาสตร์, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์