การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง 'ภาษาพูด' และ 'ภาษาเขียน' มีความสำคัญอย่างมากในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพราะช่วยให้เราสามารถพูดและเขียนภาษาไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะและจุดมุ่งหมาย
ภาษาพูดหรือภาษาปาก หมายถึง ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้พูดคุยกับคนสนิทหรือคนเฉพาะกลุ่ม มักเป็นภาษาระดับไม่ทางการ มีคำแสลง คำตัด คำไม่สุภาพ อาจมีการใช้คำสำนวนเปรียบเทียบเพื่ออธิบายหรือแสดงอารมณ์รวมอยู่ด้วย เช่น เขาโกรธเป็นฝืนเป็นไฟ, ผู้หญิงคนนั้นใจยักษ์ใจมาร
ภาษาเขียน ลักษณะมีระเบียบแบบแผนตามหลักภาษา เรียบเรียงประโยคถูกต้องสวยงาม มีการประดิษฐ์ถ้อยคำให้สละสลวย ใช้ภาษาระดับกึ่งทางการขึ้นไป มีคำสุภาพ คำศัพท์วิชาการ คำบัญญัติ มักใช้ในงานเขียนเชิงวิชาการ หรือ พิธีการต่าง ๆ
เปรียบเทียบระหว่าง ภาษาพูด และ ภาษาเขียน
ภาษาพูด: เพื่อนผมเล่นเกมอ่อนมาก ผมเป็นคนแบกเพื่อนตลอดเลย
ภาษาเขียน: เพื่อนเล่นเกมไม่เก่ง ผมต้องคอยดูแลเพื่อนตลอด
ภาษาพูด: นางงามคนนั้นตอบคำถามปังมาก
ภาษาเขียน: นางงามคนนั้นตอบคำถามได้ดีมาก
ภาษาพูด: หลังเลิกเรียนจะไปไหน
ภาษาเขียน: หลังเลิกเรียนจะไปที่ไหน
ภาษาพูด: มีไรให้ช่วยป่าว
ภาษาเขียน: มีอะไรให้ช่วยหรือไม่
ระดับภาษา หมายถึง การลดหลั่นของถ้อยคำตามความเหมาะสมของฐานะของบุคคล ระดับความสัมพันธ์ และกาลเทศะ ซึ่งเราสามารถแยกความแตกต่างระหว่าง ‘ภาษาพูด’ และ ‘ภาษาเขียน’ ได้จากการสังเกตระดับภาษาที่ใช้ได้ โดยในภาษาไทยที่มีทั้งหมด 5 ระดับ ดังนี้
เมื่อทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียนแล้ว สามารถไปร่วมพิชิตโจทย์ภาษาไทยในรื่องภาษาพูด ภาษาเขียนกันต่อ กับ ครูแจ็ค โชคอำนวย เอี่ยมนเรพร ในรายการ ห้องเรียนติวเข้ม ม.ต้น ทางเว็บไซต์ ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก