เมื่อพูดถึงวิชาเคมีหลายคนก็จะนึกถึงการท่องจำสูตรยาก ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทำข้อสอบ แต่หากรู้หลักการจำแล้ว จะช่วยให้ทุกคนสามารถทำข้อสอบได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น ALTV จึงเตรียมสรุปสอบ "เคมีไฟฟ้า" วิชาเคมีที่ออกข้อสอบบ่อย มาให้ทุกคนได้อ่านก่อนไปสอบ A-Level กัน
การเรียนเรื่องเคมีไฟฟ้าสิ่งแรกที่ต้องจำก็คือ “ปฏิกิริยารีดอกซ์” มีอยู่ 2 แบบคือ
ปฏิกิริยารีดักชัน
หลักการจำ : รี รับ ลด ออกซิไดส์ (ตรงข้ามออกซิเดชัน)
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน
หลักการจำ : ออก ให้ เพิ่ม รีดิวซ์ (ตรงข้ามรีดักชัน)
นำหลักการจำนี้ไปใช้เปรียบเทียบในตาราง “ครึ่งเซลล์รีดักชัน” เพื่อหาว่าสมการเคมีที่โจทให้มานั้นมีคุณสมบัติในการจ่ายอิเล็กตรอน หรือให้อิเล็กตรอน ดังนี้
จากบทเรียนเคมีไฟฟ้ามีหลักการที่ต้องจำคือ ปฏิกิริยารีดอกซ์ มีอยู่ 2 แบบได้แก่ ปฏิกิริยารีดักชัน (รี รับ ลด ออกซิไดส์) และ ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (ออก ให้ เพิ่ม รีดิวซ์) หากอยากรู้ว่าสมการเคมีนี้มีคุณสมบัติแบบใดให้สังเกตุที่อิเล็กตรอน อยู่ฝั่งเดียวกันสมการมีคุณสมบัติเป็นรับแต่หากอยู่ตรงข้ามกันสมการจะมีคุณสมบัติในการจ่าย หากจำสูตรของปฏิกิริยารีดอกช์ได้อย่างแม่นยำ จะช่วยให้น้อง ๆ หาคุณสมบัติของสมการเคมีได้เร็วยิ่งขึ้น สามารถรับชมการเรียนการสอนและดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ ห้องเรียนติวเข้ม ม.ปลาย (คลิก)