ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
โลกร้อน ค่าไฟแพง รับมืออย่างไร
แชร์
ชอบ
โลกร้อน ค่าไฟแพง รับมืออย่างไร
31 ต.ค. 67 • 09.00 น. | 74 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

"นโยบายภาครัฐที่ออกมาช่วยเหลือประชาชนด้วยการอั้นค่าไฟ มันได้ผลระยะสั้นเท่านั้น หากอยากแก้ปัญหาจริงๆ ต้องแก้ที่โครงสร้างและการวางแผน ในฐานะประชาชนผู้บริโภคคนหนึ่ง เราสามารถต่อต้านกับปัญหานี้ได้อย่างไร  ทางออกคืออะไร ที่ผ่านมามีข่าวมากมายเกี่ยวกับโลกร้อน ค่าไฟแพง พายุ น้ำท่วม มหันตภัยต่างๆ  ส่วนหนึ่งคือจากภาวะโลกร้อน อีกส่วนคือค่าพลังงานสูงมากประชาชนจะมีวีการรับมืออย่างไร”

ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซ่น  นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน  กล่าวถึงสาเหตุปัญหาค่าไฟฟ้าราคาสูงขึ้น มาจากการลงทุนระบบไฟฟ้าที่เกินความจำเป็น  จากกราฟจะเห็นว่ากำลังการผลิตคือเส้นสีน้ำเงิน  และการใช้ไฟฟ้าคือเส้นสีแดง  ช่วงต้นปี 2544 เส้นกราฟสีน้ำเงินอยู่เหนือความต้องการใช้ไฟสูงสุด  สะท้อนว่าที่ผ่านมามีการลงทุนเกินเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนถึงระดับ 55% ในปัจจุบัน  เป็นภาระส่วนเกินที่คนไทยต้องแบกรับร่วมกัน  อีกสาเหตุคือ  เชื้อเพลิงเป็นปัญหาสะสมมาหลายสิบปี  แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือแผน PDP  ฉบับล่าสุดนำมาสู่การครองตลาดที่ชัดเจนของบริษัทหนึ่ง  ผลที่ตามมาคือการผูกขาดในกลุ่มทุนพลังงาน  

ที่ผ่านมา  มีการตั้งคำถามเรื่องความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่   สวนทางกับการกระทำของรัฐบาลยังคงลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ไม่มีความต้องการรองรับ สะท้อนระบบที่บิดเบี้ยว เนื่องจากเป็นการวางแผนที่ไม่ได้สนองความต้องการไฟฟ้าอีกต่อไป แต่เป็นการขยายสัญญาซื้อขายไฟฟ้า  เพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์ของการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้า   ปัจจุบันไฟฟ้าไม่ใช้ระบบสาธารณูปโภคอีกต่อไป  แต่เป็นเครื่องมือในการทำกำไรของกลุ่มทุนพลังงาน  สะท้อนโครงสร้างที่มีปัญหาหากเราไม่แก้ไขที่ต้นทางย่อมไม่สามารถแก้ต้นเหตุค่าไฟแพงหรือค่าไฟที่ไม่เป็นธรรมได้  

ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซ่น   ย้ำว่า   การแก้ไขปัญหาโลกร้อนและค่าไฟแพง สิ่งที่ต้องเร่งแก้ไม่ใช่แค่เรื่องราคา  แต่โครงสร้างปัญหาคล้ายภูเขาน้ำแข็ง ค่าไฟและผลกระทบต่างๆ การตัดสินใจลงทุนเป็นปัญหาแค่ปลายภูเขาน้ำแข็ง  ส่วนอื่นๆ ที่รองรับโครงสร้างนี้มีนโยบาย แผน การกำกับดูแล โครงสร้างกิจการ รวมถึงโครงสร้างอำนาจและการตัดสินใจ  ดังนั้นทางรูปธรรม หากมองความเป็นธรรมเรื่องค่าไฟ ต้องแก้ไขโครงสร้าง อย่างกรณีรัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือประชาชนด้วยการอั้นค่าไฟที่เป็นการช่วยเหลือระยะสั้น  เพราะปัญหาเชิงโครงสร้างยังอยู่    ประเทศไทยมีโครงสร้างกิจการไฟฟ้าแบบผู้ซื้อรายเดียว  หรือแบบผูกขาด สิ่งสำคัญคืออำนาจการตัดสินใจ ที่ไม่ได้เป็นไปตามวิชาการ แต่ถูกขับเคลื่อนด้วยการเมืองธนกิจ  หรือเรื่องผลประโยชน์ทางการเงินเป็นตัวผลักดันหลักเรื่องการตัดสินใจ  และอิงอำนาจในส่วนกลุ่มทุนพลังงาน  

“ที่ผ่านมา  เคยนำเสนอเรื่องการปรับโครงสร้างเราจะทำได้หรือไม่  ในเมื่อปัญหาโครงสร้างเป็นปัญหาใหญ่ จึงอยากขอนำเสนอทางออกที่ประชาชนสามารถทำได้อย่างแท้จริง  ทางออกคืออะไร  ปัจจุบันเห็นแล้วว่ารัฐบาลส่วนใหญ่ไม่แตะเรื่องโครงสร้าง  สิ่งที่ทำคือเรื่องการลดคาร์บอน เพื่อรองรับปัญหาโลกร้อน ในส่วนพลังงานต้องลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทน ลดการผูกขาด  และกระจายรูปแบบการจัดการ รวมถึงการทำให้ระบบการตัดสินใจมีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น”

ยกตัวอย่างใกล้ตัว  เครื่องมือวัดอุปกรณ์การใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่สามารถแสดงผลเป็นปริมาณการใช้ไฟ หรือแสดงจำนวนหน่วย ยกตัวอย่างที่บ้านของตนเอง  เนื่องจากเป็นร้านค้าจึงมีตู้เย็น 5 ตัว  ผลการใช้ไฟค่อนข้างแปลกใจ พบว่าตู้เย็น 5 ตัวมีปริมาณการใช้ไฟต่างกัน บางตัวใช้ไฟประมาณ 1 ใน 5  ของอีกตัว ซึ่งตู้เย็นที่ใช้ไฟมากที่สุดคือตู้แช่เครื่องดื่มจากบริษัทน้ำอัดลม  เมื่อเทียบกับตู้เย็นขนาดเท่ากันแต่กลับใช้ไฟมากถึง 5 เท่า

ผลจากการตรวสอบค่าใช้ไฟฟ้า ได้บทสรุปว่าต้องกำจัดตู้แช่เครื่องดื่ม เพราะกินไฟสูงไม่ประหยัดพลังงาน มีการเครื่องเดินตลอดเวลา   เมื่อเราต้องการลดการใช้ไฟฟ้าจึงนำไปสู่เรื่องการลดพลังงานของประเทศ  โดยสามารถใช้อุปกรณ์มาตรวจสอบได้  ยกตัวอย่างบริทษัทน้ำดื่ม  1 บริษัทมีแช่ประมาณ 1 แสน 5 หมื่นตู้ทั่วประเทศ  รวมถึงตู้แช่เครื่องดื่ม ไอศครีม 1 ตู้กินไฟประมาณ 1,600 บาท/ เดือน  ชี้ว่าพฤติกรรมการใช้ไฟ อาจนำมาสู่บทสรุปการลดพลังงานไฟฟ้าของประเทศได้  โดยยกเลิกการใช้ตู้แช่รุ่นเก่าทิ้ง ซื้อตู้แช่รุ่นใหม่ที่มีการประหยัดพลังงานได้มากกว่า เช่น ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานที่ได้มาตรฐานตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนด โดยฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัดตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 ซึ่งคือระดับที่ประหยัดไฟมากที่สุด

“GIZ  หรือองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน ระบุ  ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบปรับอากาศและทำความเย็นของประเทศไทย  มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ปัจจุบันสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 ของประเทศ  ซึ่งหากไม่มีมาตรการใดๆ คาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เท่าในปี 2573”  

เครื่องปรับอากาศมีความจำเป็นในภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น  โอกาสที่อุณหภูมิกระทบสุขภาพค่อนข้างสูง  เช่นฮีสโตรกทำให้ป่วยเพิ่ม  ที่ผ่านมาทั่วโลกมีคนเสียชีวิตจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นมากถึง 5 ล้านคน  การใช้เครื่องปรับอากาศยังเป็นสิ่งจำเป็น  แต่การใช้เครื่องปรับอากาศทำให้เย็นแค่ในส่วนอาคาร แต่ส่วนที่ดึงความร้อนออกจากภายในอาคารจะถูกปล่อยสู่ภายนอกอาคาร   เครื่องปรับอากาศรุ่นเก่าปล่อยจากสารหล่อเย็นที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เท่ากับ 1 หน่วย  แต่ปรากฏว่าสารทำความร้อนในเครื่องปรับอากาศหรือตู้เย็น  มีหลายแบบโดยเฉพาะเครื่องเก่ายิ่งมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่า คาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าพันเท่า  การใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้นทำให้โลกร้อน กลายเป็นวัฏจักรหมุนเวียน  การใช้ไฟเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าหลังจากนั้นมีโอกาสสูงขึ้นเรื่อยๆ

กรณีกรุงเทพมหานคร มีความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศสูงขึ้น  ทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าสภาพแวดล้อมตามชนบท  หรือชานเมือง  ที่ผ่านมามีนโยบายมากมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซภาวะเรือนกระจก  แต่การประหยัดอย่างเดียวไม่ได้นำมาสู่การลดใช้พลังงานไฟฟ้า  ข้อเสนอคือ  ควรทำให้หลังคามีสีอ่อน เพื่อลดการดูดความร้อนจากแสงแดด  หรือการติดตั้งโซล่าร์ลูฟบนหลังคา หรือออกแบบให้อาคารมีลมถ่ายเทได้สะดวก  มีการศึกษาในประเทศไทยว่า การที่มีชั้นดินเพียง 10 เซนติเมตร สามารถลดความต้องการในการทำความเย็นภายในอาคารได้ถึง 31%  หากมีการปลูกพืชในชั้นดินนั้น ปริมาณการลดยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็น 37%  ที่ผ่านมาอาจยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมาก เพราะมุ่งเน้นเรื่องส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า  

สิ่งสำคัญคือการปลูกต้นไม้  เพราะไม่เพียงดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์  แต่ยังผลิตออกซิเจนให้ชั้นบรรยากาศ  ทำให้อุณหภูมิที่อยู่ใต้ต้นไม้เย็นขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ  ในกรณีสิงค์โปร์ เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เนื่องจาก พื้นที่น้อยความหนาแน่นสูง  ประสบปัญหาอุณภูมิของเมืองเพิ่มสูงขึ้นกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่ม 2 เท่า  นำมาสู่การทำแผนวางยุทธศาสตร์  ทำให้สิงค์โปร์มีอุณหภูมิที่เย็นลง  

การแก้ปัญหาค่าไฟฟ้า ควรดึงภาคประชาชนมีส่วนร่วมการจัดการด้านพลังงานเชิงบูรณาการ กรณีศึกษาในรัฐวอชิงตัน  สหรัฐอเมริกา ใช้รูปแบบการจัดการแบบสหกรณ์  ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางตรวจสอบ ร่วมบริหารองค์กรการไฟฟ้าเพื่อความเป็นธรรม ภายใต้แผน PDP เน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน  ตามมาด้วยพลังงานลม  และพลังงานอื่นๆ  แตกต่างจากแผน PDP ของประเทศไทย  ที่หลักๆ คือโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่  พลังงานจากฟอสซิล และโครงการเขื่อนขนาดใหญ่  ดังนั้น  อุปสรรคการวางแผนของเมืองไทยเพื่อความยั่งยืน ยังเป็นเรื่องของโครงสร้าง 

“ดังนั้น หากไทยจะปรับตัวไปสู่การพลังงานที่คาร์บอนต่ำ ต้องปลดล็อคตรงนี้ให้ได้  ทำอย่างไรจึงจะปลดล็อคการควบคุมระบบ  หยุดการรับใช้เฉพาะกลุ่มทุนพลังงาน  ในอนาคตรูปแบบการปรับโครงสร้างต้องเปลี่ยนจากระบบโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่มาสู่ประชาชน ซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค  โครงสร้างต่างๆ ที่ทำมาต้องรับต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตโดยรูปแบบพลังงานมีความกระจายสูงมากขึ้น  นี่เป็นอนาคตที่เราอยากเห็น ทำอย่างไรให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการสร้างและประหยัดพลังานของตัวเองตั้งแต่ระดับครัวเรือน 

 

หมายเหตุ : ถอดความจาก "โลกร้อน ค่าไฟแพง เราทำอะไรได้บ้าง"

 

 

ผู้เขียนบทความ
avatar
กองบรรณาธิการ ALTV
ALTV CI
ข่าว ALTV
ข่าว ALTV
ALTV News
ผู้เขียนบทความ
avatar
กองบรรณาธิการ ALTV
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา