ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
วิธีเอาตัวรอดเหตุตึกถล่ม
แชร์
ชอบ
วิธีเอาตัวรอดเหตุตึกถล่ม
28 ธ.ค. 67 • 09.00 น. | 1,869 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

ประเทศไทย  มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้เช่นเดียวกับประเทศอื่น  แต่ทั้งนี้ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พื้นที่ที่อยู่ตามแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลกมีโอกาสจะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวสูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ และในประเทศไทยเคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย เมื่อปี 2557 มีขนาดความรุนแรง 6.3 แมกนิจูด สร้างความเสียหายให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นจำนวนมาก จึงต้องจะหาวิธีป้องกันการทรุดตัว ถล่มของสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ 

โดยสัญญาณเตือนก่อนอาคารจะถล่มลงมา เริ่มตั้งแต่มีรอยร้าวในจุดสำคัญ  เพราะอาคารถล่มอาจจะเกิดจากสาเหตุการทรุดตัวของฐานรากหรือโครงสร้างบางส่วนที่เป็นจุดสำคัญ  เกิดการแยกตัว  และข้อต่อต่างๆ เริ่มมีการแยกออกจากกัน   อย่างน้อยที่สุดหากเป็นอาคารทรุดตัว  ที่ฐานรากไม่เท่ากันรอยร้าวจะเกิดที่ผนังเฉียง แต่ไม่ได้หมายความว่ารอยร้าวนั้นจะทำให้อาคารถล่มเสมอไป   แต่เป็นสัญญานเตือนให้เราต้องเร่งทำการแก้ไขก่อนเกิดความเสียหายไปมากกว่านี้

ส่วนรอยร้าวที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษและต้องแก้ไขเร่งด่วน คือรอยร้าวที่เกิดขึ้นระหว่างรอยต่อเสากับคาน  หรือพื้นกับคานซึ่งจะเกิดเป็นระยะเวลานานและขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ควรรีบทำการแก้ไข  แต่สิ่งที่เป็นสัญญานชัดเจนคือเสียงลั่น  หรือลักษณะสั่นภายในตัวอาคาร  ควรรีบวิ่งออกนอกอาคารให้ทัน เพราะแสดงว่าเหล็กข้างในกำลังรูดตัวออกจากคอนกรีต   ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตสำเร็จรูป  ตรงนี้เป็นสัญญานเตือนโดยเฉพาะเรื่องของการสั่นหลังมีเสียงลั่น  ควรเดินออกไปภายนอกอาคารทันทีเช่นกัน   

ส่วนสาเหตุมี   2 ปัจจัยคือจากภัยธรรมชาติ และจากมนุษย์  เช่นการต่อเติมอาคารไม่ถูกวิธี  โครงสร้างสำคัญเช่น เสา คาน มีขนาดเล็กเกินไป   ฐานรากวิบัติเนื่องจากไม่สามารถรองรับน้ำหนักโครงสร้างได้   การก่อสร้างที่ลัดขั้นตอน  และภัยธรรมชาติ เช่น ลมพายุ แผ่นดินไหว น้ำท่วม

ส่วนวิธีการป้องกันปัญหาโครงสร้างถล่มในอนาคต ทุกฝ่ายควรเร่งดำเนินการตามมาตรการ  คือ 1.การจัดให้มีนั่งร้านรองรับน้ำหนักโครงสร้างระหว่างการก่อสร้าง เจ้าของโครงการและผู้รับจ้าง ต้องไม่ประหยัดค่าใช้จ่ายนั่งร้านโดยเด็ดขาด   2. การมีวิศวกรที่มีใบอนุญาตมากำกับดูแลการก่อสร้าง จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องทางวิชาชีพที่ต้องใช้ผู้ที่ชำนาญโดยเฉพาะ   3. เจ้าหน้าที่รัฐในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องหมั่นตรวจตราการก่อสร้างที่ผิดกฎหมายหรือที่เสี่ยงอันตรายและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป และ 4. ประชาชนชี้เบาะแสการก่อสร้างที่เสี่ยงอันตราย 

นอกจากนี้  อาคารที่อยู่ระหว่างก่อสร้างถือว่ามีความอ่อนแอมาก เนื่องจากคอนกรีตยังไม่ได้อายุ และการก่อสร้างชิ้นส่วนต่าง ๆ ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยทั่วไปการถล่มของตึกในระหว่างการก่อสร้างอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1. ขั้นตอนการก่อสร้างไม่ถูกต้องหรือไม่มีแผนการก่อสร้าง เช่น การใช้ค้ำยันไม่เพียงพอหรือทําไม่ถูกต้อง  พื้นคอนกรีตยังไม่แข็งตัวพอที่จะรองรับน้ำหนักจนเป็นสาเหตุให้เกิดการพังถล่ม2. การก่อสร้างที่เร่งรีบเกินไป เช่น คอนกรีตในพื้นชั้นล่างยังไม่ได้อายุ จึงยังมีกําลังรับน้ำหนักไม่เพียงพอ แต่กลับเร่งการก่อสร้างพื้นในชั้นถัดไป เพื่อให้การก่อสร้างเสร็จเร็วขึ้น 3. การเสริมเหล็กที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอ  4.การใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น คอนกรีตกําลังต่ำ เหล็กเสริมหรือลวดอัดแรงที่ด้อยคุณภาพ และ 5.ฐานรากวิบัติ บ่อยครั้งที่โครงสร้างถล่มมีสาเหตุมาจาก การวิบัติของฐานราก เช่น เสาเข็มหัก หรือเสาเข็มหนีศูนย์ ในลักษณะเช่นนี้ อาจสังเกตพบอาคารทรุดตัวหรือทรุดเอียงด้วย

 การป้องกันตึกถล่มระหว่างก่อสร้างจะต้องคํานึงถึงปัจจัยทั้ง 5 ข้อข้างต้นสําหรับการก่อสร้างอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป ถือว่าเป็นงานวิศวกรรมควบคุม การออกแบบและการก่อสร้างจะต้องมีวิศวกรที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขาวิศวกรรมโยธา ซึ่งออกโดยสภาวิศวกร และวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้างจะต้องประจําอยู่ ณ สถานที่ก่อสร้างตลอดเวลา

สำหรับการระวังภัย สิ่งที่มักสังเกตได้ง่ายก่อนที่อาคารจะถล่ม คือ รอยร้าวตามผนังของอาคาร ตามบริเวณเสารวมไปถึงการได้ยินเสียงอาคารลั่นต้องหมั่นสังเกตและตรวจตราให้ดี  หากเราอยู่ในบ้านที่มีความสูงไม่มากนักประมาณ 1-2 ชั้น   พบความผิดปกติโดยเฉพาะเสียงอาคารลั่นอันเป็นที่มาของการถล่มขอให้รีบออกจากตัวบ้านทันที   หากอยู่ในตัวอาคารที่มีขนาดใหญ่ หรืออาคารที่มีขนาดสูงตั้งแต่ 4 ชั้น ขึ้นไป เบื้องต้นต้องหาส่วนที่แข็งแรงของอาคารเพื่อการหลบภัยและรีบวิ่งไปหลบในบริเวณนั้น เพราะบริเวณดังกล่าวมักถูกออกแบบให้เป็นแกนของอาคารที่มีโครงสร้างแข็งแรงตรงนี้ถือว่ามีความเสี่ยงน้อยสุด

การช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ภายใต้อาคารถล่มด้วยวิธีการ  Search and rescue  การค้นหาและช่วยเหลือ  ด้วยการส่งสุนัขกู้ภัยเข้าไปทำการค้นหา  เมื่อได้กลิ่นหรือพบเห็นผู้ที่อยู่ภายใต้อาคารสุนัขจะเห่าให้สัญญานเจ้าหน้าที่ ก่อนจะนำกล้องส่องหาสิ่งมีชีวิต  เมื่อพบผู้ติดอยู่ภายในอาคารจะเริ่มการค้นหาทางกายภาพ   ให้เจ้าหน้าที่ตะโกนเรียก ผู้ที่ติดภายใต้อาคารเพื่อให้ส่งเสียงหรือเคาะอะไรก็ได้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทีมช่วยเหลือได้ยิน  ดังนั้นทุกคนในเพื้นที่ตึกถล่มต้องเงียบ  เพราะผู้ประสบภัยหมดใช้วิธีการเคาะซึ่งอาจเป็นแรงเคาะครั้งสุดท้ายของเขา

อีกข้อที่ควรปฏิบัติคือ หากหนีออกจากตัวอาคารไม่ทันหรือหาห้องขนาดเล็กหรือโถงลิฟต์ โถงบันได ไม่เจอ ให้หลบภัยบริเวณที่ชิดกับกำแพงอาคารเข้าไว้ เพราะเมื่อภายหลังการเกิดอาคารถล่มหน่วยกู้ภัยจะสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้โดยง่าย แต่ถ้าหลบภัยเข้าไปในที่อยู่ลึกหรือไกลจากบริเวณภายนอกของอาคารมากเท่าไหร่โอกาสที่หน่วยกู้ภัยเจอก็จะน้อยลง

วิธีการเอาตัวรอดจากอาคารถล่ม เบื้องต้นผู้ประสบภัยต้องตั้งสติให้มั่นถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเหตุการณ์มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ดังนั้นเมื่อตั้งสติได้พร้อมหาที่หลับภัยตามคำแนะนำข้างต้น และอย่าวิ่งลงด้านล่างเพราะตามธรรมชาติของอาคารถล่มจะพังซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ หรือพังกองไว้ที่เดิมไม่เอนถล่มตามที่หลายคนเข้าใจ  ควรหนีไปบนชั้นที่สูงกว่าแต่หากอยู่ชั้นต่ำลงไป เช่น ชั้น 1 และชั้น 2 ควรรีบหนีออกจากอาคารโดยทันที ที่สำคัญต้องมีสติ ควบคุมสถานการณ์ให้ได้

นอกจากนี้  ยังมีวิธีเพิ่มความปลอดภัยหากเกิดอาคารถล่ม ควรปฏิบัติตัวดังนี้   1.มุดและหาที่กำบัง  2.ขดตัวในท่าเหมือนทารกอยู่ในครรภ์  3.หากกำลังนอนอยู่บนเตียงให้กลิ้งลงจากเตียงหาช่องว่างที่ปลอดภัยรอบๆ เตียง  4.หากไม่สามารถหนีออกมาจากอาคารได้ให้นอนราบและขดตัวในท่าทารกในครรภ์ ข้างๆ เก้าอี้โซฟาตัวใหญ่ๆ 5.อย่าใช้บันไดเด็ดขาด เพราะบันไดมีช่วงการเคลื่อนตัว   6.อยู่ใกล้กำแพงด้านนอกของตัวอาคารหรือออกจากอาคารถ้าเป็นไปได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#LifeSkill, 
#อาคารถล่ม, 
#แผ่นดินไหว 
ผู้เขียนบทความ
avatar
กองบรรณาธิการ ALTV
ALTV CI
ข่าว ALTV
ข่าว ALTV
ALTV News
ผู้เขียนบทความ
avatar
กองบรรณาธิการ ALTV
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#LifeSkill, 
#อาคารถล่ม, 
#แผ่นดินไหว 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา