ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
‘ชม’ คนไม่เก่ง เริ่มยังไงดีนะ ? 4 คำชมที่ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าได้ผลเสมอ!
แชร์
ฟัง
ชอบ
‘ชม’ คนไม่เก่ง เริ่มยังไงดีนะ ? 4 คำชมที่ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าได้ผลเสมอ!
24 ม.ค. 68 • 12.02 น. | 292 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

คำชื่นชม เปรียบเสมือนของขวัญที่มอบให้กันได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อาจเป็นเรื่องทั่วไปที่ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่สำหรับบางคนกลับกลายเป็นเรื่องยาก จนหลายครั้งเลือกที่จะเก็บคำชื่นชมอยู่ในใจ หรือไม่ได้เห็นความสำคัญของการเอ่ยชมมากนัก


ในวัน 24 มกราคม ถือเป็นวันชมเชยแห่งชาติ ALTV ขอพาไปหาคำตอบว่าเพราะอะไรเราถึงไม่ค่อยกล้ากล่าวชมกัน และ 4 เทคนิคการชมง่าย ๆ ที่สบายใจทั้งคนและคนฟัง!

เรามักประเมินพลังของคำชม ‘ต่ำ’ เกินไป  

ที่ผ่านมาได้มีการพิสูจน์แล้วว่าการกล่าวชื่นชมใครสักคน ไม่เพียงสร้างความรู้สึกดีให้กับคนฟังเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้พูดด้วย แต่หลายครั้งเรากลับไม่กล้าเอ่ยชมกัน และมักเก็บถ้อยคำเหล่านั้นอยู่ภายในใจ ด้วยเหตุผลหลัก ๆ คือ ‘กลัว’ โดนอีกฝ่ายตัดสินว่ากำลังเสแสร้ง ไม่จริงใจ หรือกล่าวอวยไปงั้น ๆ 

 

ทว่า ผลการวิจัยและคำกล่าวของผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นว่า ความวิตกกังวลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพียงสิ่งที่เราสร้างขึ้น เพราะในความเป็นจริง คนที่เป็นฝ่ายเอ่ยคำชมส่วนมาก มักจะประเมินคำชมของตัวเอง ‘ต่ำ’ กว่าผู้ที่ได้รับคำชมอยู่มากทีเดียว กล่าวคือผู้คนมักไม่รู้ว่าคำชมของพวกเขามีคุณค่ากับคนฟังมากกว่าที่คิดไว้เสียอีก 

 

งานวิจัย Why a Simple Act of Kindness Is Not as Simple as It Seems: Underestimating the Positive Impact of Our Compliments on Others  โดย Erica Boothby และ Vanessa Bohns นักจิตวิทยาสังคม มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ระบุไว้ว่า หลายคนมักไม่รู้ตัวว่าคำพูดของตัวเองมีพลังมากแค่ไหน และมักจะประเมินพลังของคำชม ‘ต่ำ’ เกินไปจากความเป็นจริง

ในการทดลอง Erica และ Bohns ให้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน เดินเข้าไปทักทายและกล่าวชมสั้น ๆ กับคนแปลกหน้า จำนวน 100 คน โดยกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างเข้าหาเพศเดียวกัน และให้ประเมินก่อนเข้าไปทักทายว่าคนแปลกหน้าจะรู้สึกอย่างไร เมื่อได้รับคำชม ได้แก่ เฉย ๆ พึงพอใจ ยินดี หรือรู้สึกอึดอัด เมื่อจบบทสนทนาแล้ว คนแปลกหน้าจะได้รับแบบสอบถามปิดผนึก ที่ภายจะถามว่า ‘คุณรู้สึกอย่างไรกับคำชมที่ได้รับ’

 

ซึ่งจากการทดลองหลายครั้งได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจว่า คนแปลกหน้ากว่า 95% กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขารู้สึกดีเมื่อได้รับคำชม ซึ่งสวนทางกับการแระเมินของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 15 คนในช่วงแรก ที่ประเมินความพึงพอใจของคนแปลกหน้าต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมาก ส่วนใหญ่ประเมินไปในทางเดียวกันว่า กลุ่มคนแปลกหน้าจะรู้สึกอึดอัดเมื่อได้รับคำชม 

การชมเชยไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เราใส่ใจและจริงใจ

การชื่นชมใครสักคนด้วยเจตนาดี ทำไมกลับทำให้เรารู้สึกวิตกกังวลและไม่มั่นใจได้มากกว่าที่คิด ? Nicholas Epley นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล ผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าของการชมเชย กล่าวไว้ในวารสาร Journal of Personality and Social Psychology ฉบับปี 2021 ไว้ว่า ‘ความฉลาดทางสังคม’ (Social competence) มีส่วนสำคัญมากในการตัดสินใจว่าเราจะชมเชยผู้อื่นอย่างไร และเมื่อไหร่ 

 

คนที่มีความฉลาดทางสังคมสูง จะสื่อสารออกมาได้ดี และสามารถสังเกตปฏิกิริยาของผู้อื่นได้มากกว่า เช่น การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง หรือน้ำเสียง ซึ่งจะช่วยให้เขาเลือกคำชมที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบุคคลนั้น ๆ ได้ 

 

Epley กล่าวต่อว่า คนส่วนใหญ่มักกังวลเกี่ยวกับวิธีการแสดงออก กังวลเกี่ยวสีหน้า แววตา การใช้โทนเสียงที่จะกลัวว่าจะดูไม่จริงใจในสายตาอีกฝ่าย ซึ่งในความจริงแล้วคนฟังแทบจะไม่ให้ความสำคัญสิ่งเหล่านั้นเลย พวกเขามักให้ความสำคัญไปทีคำพูด และความรู้สึกที่แสดงออกมามากกว่า 

 

เพราะฉะนั้น อย่ากลัวที่จะชมเชยใครสักคน การชื่นชมอย่างตรงไปตรงมาอย่างจริงใจ เราเชื่อว่าผู้รับจะรู้สึกเจตนาของเราได้อย่างแน่นอน แต่สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มชมอย่างไร หรือใช้คำพูดแบบไหน เราได้รวบรวม 4 วิธีการชมที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำมาฝากกัน

ชมเมื่ออีกฝ่ายเพิ่งผ่านสถานการณ์ตึงเครียดมา 

Xuan Zhao นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ให้คำแนะนำไว้ใน นิตยสาร TIME ว่า การชมเชยไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเวลาที่คนอื่นประสบความสำเร็จเท่านั้น เมื่อเห็นใครสักคนที่เพิ่งผ่านถานการณ์ตึงเครียดมา เราสามารถชื่นชมพวกเขาด้วยประโยคว่า “คุณจัดการมันได้ดีมาก” หรือ “คุณจัดการสถานการณ์ตรงหน้าได้ดีจริง ๆ” เพราะคนส่วนใหญ่ที่เพิ่งเจอกับปัญหามาสด ๆ ร้อน ๆ พวกเขามักไม่แน่ใจว่าตัวเองจัดการกับสถานการณ์เหล่านั้นได้ดีพอ ซึ่งคำชมในลักษณะนี้จะเป็นสิ่งยืนยันว่า ความพยายามของพวกเขามีคุณค่า และไม่ได้ถูกมองข้ามไป  

 

การชื่นชมสิ่งของที่คนอื่นสวมใส่ 

วันไหนที่เราใส่เสื้อตัวใหม่ ก็ต้องแอบอยากให้ใครสักคนมองเห็นและชื่นชมมัน ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการการยอมรับและอยากให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราเลือก การชมไปที่เครื่องแต่งกายหรือเสื้อผ้าที่สวมใส่ จึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการจะมอบความรู้สึกดี ๆ ให้แก่กัน เช่น “ต่างหูสวยจังเลยค่ะ” หรือ ”รองเท้าสีนี้เข้ากับคุณมาก” นอกจากทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี ยังเป็นหัวข้อที่เหมาะกับการพูดคุยละลายพฤติกรรมกับคนที่คุณยังไม่รู้จักอีกด้วย 

 

ชมเมื่อเห็นความพยายาม 

อีกหนึ่งวิธีที่ไม่ทำให้ทั้งคนพูดและคนฟังรู้สึกอึดอัด ให้เน้นชมไปที่ความสามารถหรือความพยายามของคน ๆ นั้น เช่น เมื่อคุณเห็นเพื่อนร่วมงานของคุณนำเสนอผลงานได้ดี คุณอาจกล่าวชื่นชมง่าย ๆ “งานชิ้นนี้เธอทำได้ดีมากเลย” หรือ “เธอทำมันออกมาได้ละเอียดและรอบคอบมาก”  

 

ชมอย่างเฉพาะเจาะจง ลงรายละเอียด  

อาจเน้นย้ำไปถึงคุณสมบัติหรือการกระทำที่เฉพาะเจาะจง สะท้อนให้เห็นถึงทักษะ ความสามารถ หรือจุดแข็งที่ซ่อนอยู่ของแต่ละคน แทนที่จะใช้คำว่า "ดี" หรือ "เก่ง" อาจลงรายละเอียดเพิ่มเติมว่าเก่งอย่างไร เช่น “คุณเป็นคนมองโลกในแง่ดีจังเลยค่ะ ทำให้บรรยากาศรอบตัวดูสดใสขึ้นเยอะเลย" หรือ “อาหารที่คุณทำวันนี้อร่อยมาก ฉันคิดว่าคุณมีพรสวรรค์ด้านนี้นะ”

 

ที่มา : BBC , TIME MAGAZINE 

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#เทคนิคการชมเชย, 
#ตัวอย่างคำกล่าวชื่นชม, 
#คำชมคนอื่น, 
#คำชมดีๆ 
ผู้เขียนบทความ
avatar
THANATCHA SUVIBUY
นับถือแมวเป็นศาสนา มีไอดอลเกาหลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ALTV CI
Interest Thing
Interest Thing
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
THANATCHA SUVIBUY
นับถือแมวเป็นศาสนา มีไอดอลเกาหลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#เทคนิคการชมเชย, 
#ตัวอย่างคำกล่าวชื่นชม, 
#คำชมคนอื่น, 
#คำชมดีๆ 
แชร์
ฟัง
ชอบ
ติดตามเรา