ปัจจุบัน 'อาชีพแปลกใหม่' ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีมีความหลากหลายมากขึ้น หลายอาชีพที่เคยเป็นงานอดิเรก วันนี้กลับมาเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักทำรายได้งาม ๆ สำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางอาชีพใหม่ ALTV จะพาทุกคนไปรู้จัก 'อาชีพแนวใหม่ มาแรง น่าจับตามอง' เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและแนวทางสำหรับคนรุ่นใหม่ปรับตัวสู่โลกอนาคต
ปัจจุบัน ‘ภาพยนตร์ไทย’ ได้รับความนิยมในต่างประเทศ และเป็นสินค้าส่งออกที่ทำกำไรเข้าสู่ประเทศได้มาก ส่วนใหญ่มักเป็นภาพยนตร์แนวตลก (Comedy) หรือไม่ก็แนวสยองขวัญ (Horror) เสียมากกว่า แต่ภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ (Sci-Fi) ที่ยังถือว่าเป็นส่วนน้อย ด้วยเหตุนี้จึงต้องการเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่จะมาช่วยรันวงการภาพยนตร์ไทยและเทคโนโลยีต่าง ๆ ออกไปสู่สายตาทั่วโลกได้มากที่สุด
สำหรับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการทำงานสายภาพยนตร์ หรือใครที่กำลังมองหาสาขาเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเพื่อต่อยอดในอาชีพที่ใฝฝัน ไม่ควรพลาด ‘รายการ Scifi-Scifilm หนังวิทย์พลิกโลก’ โดยทางไทยพีบีเอส ร่วมกับ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) รายการที่จะพาทุกคนไปพบกับความมหัศจรรย์ของโลกวิทยาศาสตร์ผ่านมุมมองบนแผ่นฟิล์ม ที่เรียกว่า ‘ภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์’ หรือ หนัง Sci-Fi
เรียนรู้แนวคิดและขั้นตอนการทำงานในวงการภาพยนตร์ ที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมมาช่วยขับเคลื่อน รวมถึงแนะแนวการเริ่มต้นเข้าสู่เส้นทางภาพยนตร์ ผ่านการพูดคุยของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ศาสตร์ ในสาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาภาพยนตร์ แต่ละท่านก็ล้วนมีชื่อเสียงในวงการนั้น ๆ
นอกจากประเด็นที่น่าสนใจในมุมมองของคนทำหนังและนักวิทยาศาสตร์แล้ว ทุกคนยังได้ชม ‘ผลงานของนักสร้างภาพยนตร์สมัครเล่น’ ทั้งนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป จากการประกวดภาพยนตร์สั้นโครงการ Short Science Film ซึ่งสอดแทรกไว้ในแต่ละตอนของรายการอีกด้วย
ตัวอย่างตอนที่น่าสนใจ ในรายการ Scifi-Scifilm หนังวิทย์พลิกโลก
🔸จากจินตนาการ สู่การพัฒนา พูดคุยถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ต่อสังคมไทย เคล็ดลับการเล่าเรื่อง และอิทธิพลของภาพยนตร์ที่ส่งผลต่อจินตนาการของคนรุ่นใหม่ อีกทั้งยังได้ชมภาพยนตร์สั้นของนักสร้างหนังระดับมัธยมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการ Short Science Film ประจำปี 2558 ประเภทอุดมศึกษา
แขกรับเชิญ : คุณสาคร ชนะไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช) และ คุณพรรณพันธ์ ทรงขำ ผู้กำกับมืออาชีพ (คลิก)
🔸monster ชีวิตกลายพันธุ์ เรียนรู้การสร้างภาพยนตร์แนวสัตว์ประหลาด การกลายพันธุ์ เชื้อไวรัสระบาด เช่น กำเนิดไดโนเสาร์ มนุษย์เหนือธรรมชาติ ซอมบี้ และโอกาสที่จะเป็นไปได้ในโลกแห่งความจริงทางทฤษฏีวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้หนังไซไฟมีความสมจริงมากขึ้น
แขกรับเชิญ : ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสาร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คุณชายอดัม ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล ผู้กำกับและวิทยากรพิเศษด้านภาพยนตร์ให้แก่มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ (คลิก)
🔸อวกาศจินตนาการ ไร้ขอบเขต เรียนรู้เรื่องราวในอวกาศ และทำความรู้จักกับแรง G (Gravity) ในทางหลักของวิชาฟิสิกส์ การเดินทางย้อนเวลา รวมถึงความยากง่ายเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ไทยที่มีเรื่องราวของเดินทางในอวกาศ
แขกรับเชิญ : คุณมิงค์ พิรดา เตชะวิจิตร์ ว่าที่นักบินอวกาศหญิงคนแรกของประเทศไทย และ คุณปรัญชา ปิ่นแก้ว ผู้กำกับ ผลงาน ภาพยนตร์เรื่อง ‘องค์บาก’ และ ‘ต้มยำกุ้ง’ (คลิก)
ติดตามรายการ Scifi-Scifilm หนังวิทย์พลิกโลก ในตอนอื่น ๆ (คลิก)
ปัจจุบัน Big Data หรือข้อมูลที่มีมากมายมหาศาล มีประโยชน์อย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริษัท, ข้อมูลลูกค้า, ข้อมูลสินค้า, พฤติกรรมของผู้ซื้อ ฯลฯ แต่ยังมีข้อมูลอีกจำนวนไม่น้อย ที่ยังอยู่ในรูปแบบ ‘เอกสาร’ หรือไฟล์ดิจิทัลรูปแบบ pdf. ที่ระบบคอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถอ่านและนำมาวิเคราะห์ได้ จึงเกิดเป็นอาชีพที่น่าสนใจอาชีพหนึ่งที่เรียกว่า ‘นักแปลงไฟล์ให้สมองกล’ หรือ Machine Readable Converter โดยเจ้าของอาชีพนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ‘คนแกะไฟล์ pdf.’ ตำแหน่งที่จะช่วยแปลงข้อมูลที่เข้าถึงได้ยาก ให้กลายเป็นเข้าถึงง่ายในยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation)
คนที่สามารถทำอาชีพนี้ได้จะต้องมีทักษะหลัก ๆ คือ Data Engineer บุคคลที่ทำหน้าที่จัดการข้อมูลทั้งระบบให้เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งต้องอาศัยการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python ความเข้าใจโครงสร้างและการทำงานของชุดแบบอักษร (Font) ซึ่งรายการ “โต้คลื่นอนาคต” พาทุกคนไปรู้จักอาชีพนี้จากปากนักแปลงไฟล์อาชีพโดยตรง มีทั้งแนวทางการทำงาน โอกาส รวมถึงอุปสรรคที่เจอระหว่างการทำงาน ซึ่งการแปลงไฟล์ข้อมูลไม่ได้จำกัดแค่งานในองค์เท่านั้นแต่ยังมีส่วนสำคัญในการขยายข้อมูลที่เป็นประโยชน์ออกสู่สาธารณะด้วยเช่นกัน
นอกจากอาชีพ ‘นักแปลงไฟล์ให้สมองกล’ แล้ว โต้คลื่นอนาคต ยังนำเสนออาชีพที่แปลกใหม่ ที่คุณอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน เช่น
🔸นักคณิตศาสตร์ประกันภัย [Actuary] อาชีพที่เปลี่ยนความเสี่ยงและความน่าจะเป็นอนาคตคิดคำนวนให้ออกมาอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (คลิก)
🔸นักออกแบบบอร์ดเกม อาชีพที่ออกแบบและพัฒนา ‘บอร์ดเกม’ รูปแบบใหม่ ๆ ที่นอกเหนือจากบอร์ดเกมในแบบที่เคยรู้จัก (คลิก)
ติดตามรายการ โต้คลื่นอนาคต ทำความรู้จักกับอาชีพใหม่ ๆ สำหรับโลกอนาคตได้ที่นี่ (คลิก)
นักออกแบบท่าเต้น เป็นอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญต่อวงการบันเทิงอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่อยู่เบื้องหลังท่าเต้น cover เท่านั้น ในวงการโฆษณา การแสดงโชว์ หรือแม้กระทั่งเกม ละคร และภาพยนตร์ ก็ยังต้องการอาชีพนี้ในการออกแบบท่าทางต่าง ๆ ของตัวละคร ให้สื่อความหมายและความรู้สึกเป็นไปอย่างสวยงาม ตรงตามโจทย์ ซึ่งนักออกแบบท่าเต้นสามารถเพิ่มรายได้ด้วยการเป็นครูสอนเต้น นักเต้น และนักแสดงในงานศิลปะต่าง ๆ
กว่าจะได้มาเป็น ‘นักออกแบบท่าเต้น’ แน่นอนว่าต้องมีความรู้และเทคนิคการเต้นสไตล์ต่าง ๆ เป็นพื้นฐาน เช่น การเต้นบัลเลย์, ฮิปฮอป, แจซ และอื่น ๆ อีกทั้งยังต้องใช้ทักษะการเต้นประกอบเพลง การเข้าใจดนตรีและเสียงต่าง ๆ สร้างการเคลื่อนไหวที่ตรงกับจังหวะและอารมณ์ของเพลงได้ดีขึ้น โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ที่ไม่เหมือนใคร เพื่อการเคลื่อนไหวที่เป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจ
โดยรายการ ‘โรงเรียนนานาช่าง’ ตอน นักออกแบบท่าเต้น (คลิก) จะพาไปรู้จักกับ ครูปั้น พัชรกมล มีอินทร์เกิด นักออกแบบท่าเต้นวัยรุ่น ที่เริ่มต้นจากการเป็นครูสอนเต้นตั้งแต่อายุ 13 ปี ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในเส้นทางนักออกแบบท่าเต้นมืออาชีพ ซึ่งทุกคนจะได้เห็นบรรยากาศสอนเต้นในคาบเรียนของครูปั้น ที่สำคัญ ‘พี่แจนโล่’ ธนภัทร ศุภวรรณาวิวัฒน์ พิธีกรรายการ ก็ยังได้มีโอกาสเรียนเต้นในท่อนฮุกจากเพลงดังอีกด้วย รวมถึงการพูดคุยถึงบทบาทของนักออกแบบท่าเต้นในวงการต่าง ๆ
‘โรงเรียนนานาช่าง’ ไม่เพียงพาไปรู้จักกับ ‘ช่างมืออาชีพ’ ที่น่าสนใจ ยังได้แรงบันดาลใจในการค้นหาอาชีพทางเลือก ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้จากนอกห้องเรียน เช่น
🔸 ศิลปินกราฟฟิตี นักพ่นศิลปะบนกำแพง คุณต่อ ปกรณ์ ธนานนท์ (คลิก)
🔸ช่างงานปั้นจิ๋ว ช่างปั้นย่อส่วนเสมือนจริง อ.พรหมสุรี กิตติธนะศักดิ์ (คลิก)
ติดตามรายการอาชีพที่น่าสนใจใน ‘โรงเรียนนานาช่าง’ ได้ที่นี่ (คลิก)
จากผลสำรวจข้อมูลอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย ประจำปี 2564 ของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (Depa) เผยว่า ‘ตลาดเกมออนไลน์ในไทยปี 2564’ มีผู้เล่นเกมเพิ่มขึ้น มูลค่ามากถึง 37,063 ล้าน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกิดอาชีพใหม่ในอุตสาหกรรมเกมไทย อย่าง ‘อาชีพเกมเมอร์’ ที่สร้างรายได้ต่อคนถึงหลักแสน นอกจากนี้ยังสามารถเลือกทำงานสายอื่นที่อยู่ในวงการเกมได้อีกมากมาย เช่น
และยังรวมถึง นักออกแบบเสียงและดนตรี (Game Sound Designer/ Music Composer) และ นักการตลาดเกม (Game Marketer) อีกด้วย ซึ่งแต่ละสายก็มีรายได้ตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลักล้านเลยทีเดียว
ตัวอย่างรายการต่าง ๆ ของ ALTV ที่นำเสนอความรู้และอาชีพในสายเกมเมอร์ เช่น
🔸Have A Newsday ตอน เกมเมอร์อาชีพ คู่ซี้เกมเมอร์ที่เอาดีด้านเกมออนไลน์ ประสบความสำเร็จจากการเปิดเซิร์ฟเวอร์สร้างโลกในเกม สามารทำเงินได้เป็นแสนบาทภายใน 1 เดือน (คลิก)
🔸Game Caster เล่นให้เด็กมันส์ดู ที่พาไปเรียนรู้และเจาะลึกถึงการสร้างตัวตนสู่การเป็น ‘นักแคสเกมมืออาชีพ’ รวมถึงความรู้พื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกมออนไลน์ เช่น ความรู้ด้านไอที, ประเภทของเกม, การออกแบบ Logo ผ่านการ Workshop และการแข่งขันเป็นทีม (คลิก)
🔸โต้คลื่นอนาคต ตอน นักกีฬาอีสปอร์ต เรียนรู้การแข่งขันเกมมืออาชีพในวงการ E-sport ที่กำลังได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในกีฬาของการแข่งขันซีเกมส์และเอเชียนเกมส์ รวมทั้งวิถีชีวิตของ นักกีฬาอีสปอร์ต (คลิก)
อาชีพแนวใหม่ที่กล่าวมานี้มีแนวโน้มว่าจะเติบโตได้ไม่รู้จบ ตราบใดที่โลกดิจิตัลยังไม่ล่มสลาย เราอาจได้เห็นอาชีพที่แปลกใหม่ แหวกแนวมากขึ้นอีกหลายร้อยอาชีพก็เป็นได้