แม้ภายนอกของแรดจะดูน่าเกรงกลัว แต่ความจริงแล้วน้องมีมุมน่ารักมากมายที่คุณอาจยังไม่เคยรู้ บทความนี้จะพาทุกคนไปล้วงลับเรื่องที่แรดไม่เคยบอก (แต่เราจะบอกให้นะ)
ถึงแรดจะมี “ผิวหนา” แต่บอบบางและแพ้ง่ายมาก เพราะหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ชั้นผิวหนังทำให้เกิดเป็นรอยแผลได้ง่าย ดังนั้นเพื่อปกป้องผิวสวยจากแดดเผาและแมลงกัดต่อย แรดจึง “แช่โคลน” ตามแอ่งน้ำแล้วปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติ ดูเผิน ๆ คล้ายกับ “เกราะสีเทา” และถูกกระเทาะร่วงหล่นเวลาที่แรดเอาตัวไปถูกไถกับต้นไม้
นักวิทยาศาสตร์ยังเผยว่า ดินโคลนบนผิวหนังของแรดที่แห้งหลุดร่วง ช่วยกระจายความอุดมบูรณ์ไปยังวงกว้าง ซึ่งมีผลกระทบต่อภูมิประเทศมากกว่าช้าง
แรดไม่ได้ตาบอด แต่มีสายไม่ค่อยดีนัก มีการศึกษาพบว่า สายตาของแรดในระยะที่มองเห็นชัดเทียบเท่าสายตาแมวเพียงครึ่งเดียว คือ ราว ๆ 3 เมตร และ 1 ใน 10 ของแรดที่มีสายตาปกติ มักมองไม่เห็นสัตว์ขนาดใหญ่จะยืนอยู่ในที่โล่ง ถ้ายืนนิ่ง ๆ ในระยะเพียง 30 เมตรแรดจะไม่สามารถแยกแยะระหว่างคนกับต้นไม้ได้เลย ส่วนเหตุผลที่ทำให้แรดสายตาแย่นั้น อาจมาจากพันธุกรรมที่บกพร่อง และดวงตาขนาดเล็กที่อยู่ในตำแหน่งที่ “นอ” บดบังสายตา
ถึงสายตาจะด้อย แต่ธรรมชาติก็ได้มอบประสาทสัมผัสอย่างคมชัดมาชดเชย ด้วย “จมูก” ที่ไวต่อกลิ่น และ “หู” ที่รับเสียงได้กว้างไกลเพื่อเอาชีวิตรอดในป่า
มังเขี่ย มังเนื้อ มังปลอม หลบไป! ขอทางให้แรดสายมังสวิรัติตัวจริงหน่อย! นักวิจัยพยายามกันอย่างมากที่จะศึกษาว่าแรดกินอะไร และแล้วก็พบว่า แรดอินเดีย สุมาตรา ชวา แรดขาวและดำ ล้วนเป็นมังสวิรัติ โดยทั่วไปแต่ละวันของพวกมันจะกินพืชมากกว่า 50 กิโลกรัม เช่น หญ้า ลำต้น กิ่งก้าน และใบ เพื่อให้เพียงพอสำหรับร่างกายที่ใหญ่โต ซึ่งแรดแต่ละสายพันธุ์ก็มีพฤติกรรมการกินแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในตอนนั้น
แรดขาว (Ceratotherium simum) เป็นแรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบในทวีปแอฟริกา ไม่มีริมฝีปากที่หนาพอเพื่อหักกิ่งไม้ จึงเลือกกินได้แค่หญ้าขนาดเล็กและใบไม้บางชนิดเท่านั้น ซึ่งความชื้นจากหญ้าที่กินเข้าจำนวนมากสามารถแรดขาวอยู่ได้ 5 วันโดยไม่ต้องดื่มน้ำ
แรดดำ (Diceros bicornis) ตัวใหญ่รองจากแรดขาว มี "นอยาว" และแหลมคม พบในทวีปแอฟริกาเช่นกัน ส่วนมากจะเลือกกินใบไม้ กิ่งเล็ก ๆ และผลไม้จากต้น รวมทั้งที่ร่วงหล่นพนพื้นดิน ในบางครั้งก็จะขุดกินรากไม้ใช้เขาของมัน
แรดสุมาตรา (Dicerorhinus sumatrensis) เป็นแรดที่มีมีขนาดเล็กที่สุด มี 2 นอ พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากอาศัยอยู่ในเขตร้อน จึงเป็นสัตว์ที่ “ไม่เลือกกิน” สามารถกินพืชทุกชนิดได้อย่างหลากหลายและตลอดเวลา
แรดชวา (Rhinoceros sondaicus) สายพันธุ์ที่หายากที่สุดในโลก พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นขาประจำชอบที่ลุ่มและแหล่งน้ำ อาหารของพวกเขาจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ใบอ่อนที่ชื้น และผลที่ตกลงมาจากไม้พุ่ม
แรดอินเดีย (Rhinoceros unicornis) พี่ใหญ่ผิวหนังย่น และมีนอเดียว มักใช้เวลาส่วนใหญ่ในพื้นที่ชุ่มน้ำและในน้ำเย็นจัด มักชอบเล็มยอดไม้ใบหญ้าต้นสูง ๆ มากกว่าจะกินบนพื้นดิน ดังนั้นแรดกินเดียจะได้กินแต่พืชที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำค้างและสายฝน
“สนามหญ้าสั้น” เป็นผลพวงที่ได้จากการเล็มกินหญ้าของแรด ซึ่งจำเป็นต่อการอยู่รอดของพืชพรรณบางชนิด เช่น หญ้าเมล็ดแครอท (Tragus berteronianus) และนกต่าง ๆ ที่ไม่สามารถอยู่ได้ตามป่าหรือพื้นที่หญ้าสูง นอกจากนี้ สนามหญ้าของแรดยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่หลบภัยสำหรับสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้าอย่างเต่า ในช่วงที่เกิดไฟป่าอีกด้วย
เมื่อแรดต้องการสื่อสารกัน หรือระหว่างการเผชิญหน้า พวกมันมักส่งเสียงตลก ๆ ออกมาด้วยการ “คำราม และ “เป่าแตร” เวลารูสึกโกรธจะส่งเสียง “กรน”, “จาม” เพื่อเป็นสัญญาณเตือน และ “กรีดร้อง” เมื่อกลัว นอกจากนี้ แรดยังสื่อสารกันผ่าน “มูล” และ “ปัสสาวะ” เพื่อแสดงอาณาเขต
บางครั้งชื่อเรียก “แรดขาว”กับ “แรดดำ”ก็อาจทำให้เข้าใจผิด เดาว่าพวกมันคงมีสีผิวตามชื่อแน่ ๆ ความจริงแล้วทั้งสองสายพันธุ์มีผิวหนังเป็น “สีเทา” ทั้งคู่ เหตุผลก็เพราะนักสำรวจในยุคแรก ๆ เกิดความเข้าใจผิดทางด้านภาษา เนื่องจากคำว่า “White” แปลว่าสีขาว พ้องเสียงกับคำว่า “wyd” ในภาษาแอฟริกันที่แปลว่า “กว้าง” หมายถึงลักษณะริมฝีปากที่กว้างและเป็นเหลี่ยม ส่วนแรดดำนั้นมีริมฝีปากบนที่แหลมคม ด้วยเหตุนี้จึงตั้งชื่อสองสายพันธุ์นี้ว่า 'แรดขาว' และ 'แรดดำ' เพื่อแยกความแตกต่าง
แรดนั้นเป็นสัตว์ที่มีลูกยาก บางสายพันธุ์ไม่มีลูกอีกเลยตลอด 2 ปี และมีชีวิตบนโลกโดยเฉลี่ย 45 ปีแล้วแต่สายพันธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้พวกมันมีประชากรน้อย “แอปฯหาคู่” จึงเป็นวิธีสุดแปลกเพื่อช่วยขยายพันธุ์ให้แรดได้ ปี 2017 สำนักอนุรักษ์โอลเปเจตา (Ol Pejeta Conservancy) ในเคนยา ได้สร้างโปรไฟล์หาคู่ให้แรดขาวเหนือเพศผู้ อายุ 43 ปี ชื่อว่า “ซูดาน”
“ซูดาน” เป็นแรดขาวเพศผู้ตัวสุดท้ายในโลก มันไม่สามารถสืบพันธุ์ตามธรรมชาติกับแรดขาวเพศเมียที่เหลืออีก 2 ตัวได้ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์พยายามรักษาภาวะเจริญพันธุ์ของแรดในหลอดทดลอง แต่ด้วยข้อจำกัดที่ต้องใช้ทุนหลายล้านบาท นักวิทยาศาสตร์จึงมีไอเดียเปิดรับบริจาคผ่านโปรไฟล์ของซูดานใน Tinder
มีบันทึกว่าประเทศไทยนั้นเคยเป็นบ้านของแรดป่าสายพันธุ์ที่ "หายากที่สุด" 2 ชนิด ได้แก่ แรดชวา และแรดสุมาตรา (กระซู่) ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็น “สัตว์ป่าสงวน คือห้ามล่า” ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในธรรมชาติ (Extinct in the wild) เนื่องจากไม่มีร่องรอยการค้นพบมาตั้งแต่ปี 2500 แม้จะผืนป่าของไทยจะไม่มีแรดให้ได้เห็นแล้ว แต่เราสามารถชมแรดตัวเป็น ๆ ได้ ที่สวนสัตว์ทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่สวนสัตว์เชียงใหม่ มีแรดดำสายพันธุ์อินเดีย อายุ 36 ปี ชื่อว่า “กาลิ”
แรดเพศเมียในช่วงวัยเจริญพันธุ์มีพฤติกรรมต่อสู่กันในการแย่งชิงเพศผู้เพื่อมาผสมพันธุ์ จึงเป็นที่มาของการใช้คำว่า "แรด" มาเปรียบเปรยกับพฤติกรรมของมนุษย์
แรดไม่มีเป็นสัตว์ที่ศัตรูทางธรมชาติ แม้แต่สัตว์นักล่าอย่าง เสือ สิงโต ก็ยังไม่กล้าแหยม แต่ศัตรูเพียงหนึ่งเดียวที่ทำให้แรดใกล้สูญพันธ์ุนั่นก็คือ “มนุษย์” จากวิกฤตการณ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ของประชากรแรด เราทุกคนสามารถช่วยแรดให้มีชีวิตยืนยาวได้ ด้วยการช่วยกันต่อต้านค่านิยมการนำ “นอแรด” มาทำเครื่องประดับ ด้ามอาวุธ และความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า นอแรดมีสรรพคุณทางยา เพื่อปกป้องจากการถูกคุกคามที่จะทำให้พวกมันสูญพันธุ์ไปจากโลก
ขอบคุณข้อมูล: zoothailand.org, pbs.org, africageographic.com