รองลงมาคือสมองมีน้ำ 80% และเซลล์แต่ละเซลล์มีน้ำ 60% ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อทุกหน้าที่ในร่างกาย เช่น
หากร่างกายเข้าสู่ "ภาวะขาดน้ำ" หรือสูญเสียน้ำมากกว่าที่ควรได้รับ ระบบการทำงานทุกอย่างจะผิดปกติทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาและอาจอันตรายถึงชีวิต
ทุก ๆ การเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะวิ่ง เดิน ออกกำลังกาย ขับถ่าย หรือการหายใจ ร่างกายจะสูญเสียน้ำโดยเฉลี่ยประมาณ 2.5 ถึง 3 ลิตรในทุกชั่วโมง ยิ่งอากาศร้อนหรือออกกำลังกายนาน ๆ ก็ยิ่งสูญเสียน้ำมากขึ้น แม้แต่การนั่งเครื่องบินเพียง 2-3 ชั่วโมงร่างกายอาจสูญเสียน้ำได้เท่ากับน้ำ 1 ขวดใหญ่ (1.5 ลิตร) เลยทีเดียว ซึ่งก็หมายความว่า การดื่มน้ำวันละ 8 แก้วคงไม่เพียงพอ
สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Sciences - NAS) และสถาบันแพทยศาสตร์ (The Institute of Medicine - IOM) มีคำแนะนำเกี่ยวกับการดื่มน้ำในหนึ่งวัน คือ
หรือคำนวนด้วยสูตร [น้ำหนักตัว x 2.2 x 30/2] /1000 = ปริมาณน้ำ (ลิตร)
เช่นถ้าคุณมีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม จะต้องดื่มน้ำวันละ [50X2.2X30/2] /1000 = 1.65 ลิตร
แม้แต่การขาดน้ำเล็กน้อยก็สามารถทำให้เรารู้สึกเหนื่อยมากขึ้นและไม่สามารถออกกำลังกายได้
นักวิจัยเกี่ยวกับเหลวและความสมดุลในร่างกาย กล่าวถึงผลกระทบจากการดื่มน้ำน้อยไว้อย่างน่าสนใจ “ไตของคุณจะส่งน้ำไปยังกระเพาะปัสสาวะน้อยลง ทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม เมื่อเหงื่อออกน้อยลง อุณหภูมิร่างกายก็จะสูงขึ้น เลือดของคุณจะข้นขึ้นและไหลเวียนช้าลงเพื่อรักษาระดับออกซิเจน และอัตราการเต้นของหัวใจของคุณจะเพิ่มขึ้น”
หากขาดน้ำเพียง 1% น้ำในสมองจะลดลง 2% มีผลต่อการทำงานของร่างกายที่ลดลงตามไปด้วย คุณจะรู้สึกเหนื่อยล้า ปวดหัว อารมณ์เสีย เครียด จนถึงภาวะซึมเศร้า และอาจส่งผลให้สูญเสียความจำระยะสั้น รวมถึงความสามารถในการคิดคำนวณ งานวิจัยบางชิ้นยังพบว่าภาวะขาดน้ำสามารถทำให้ผู้สูงอายุมีอาการเพ้อได้
หนูจิงโจ้ (Kangaroo rat) เห็นหนูน้อยตัวเล็กแค่นี้ ไม่น่าเชื่อว่ามันจะไม่เคยดื่มน้ำเลยมาทั้งชีวิต นั่นก็เพราะพวกมันได้พลังงานและน้ำจากเมล็ดพืชที่เก็บไว้ในกระพุ้งแก้ม บวกกับระบบเผาผลาญพลังงานที่ต่ำจึงทำให้มันไม่มีเหงื่อหรือสูญเสียน้ำในร่างกาย ถือเป็นวิธีเอาชีวิตรอดที่ยอดเยี่ยมสำหรับหนูที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายอันแห้งแล้ง
เกรินุก (Gerenuk) สัตว์ที่หน้าตาคล้ายกวางน้อยชนิดนี้ มีพฤติกรรมการกินสุดแปลกที่ไม่เหมือนสัตว์ตัวอื่น เจ้าเกรินุกมักยืนสองขาพร้อมกับยืดคอที่ยาวเป็นพิเศษของมันเพื่อเอื้อมไปหม่ำใบไม้ถึงปลายยอด ซึ่งแต่ละครั้งมันจะกินใบไม้ทีละมาก ๆ เพราะใบไม้แต่ละใบมีน้ำเป็นส่วนประกอบ อีกทั้งธรรมชาติยังออกแบบ “รูจมูก” ของมันให้มีขนาดตะมุตะมิเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำในร่างกายอีกด้วย
ปีศาจหนาม (Thorny Devils) ภายใต้หนามแหลมอันน่ากลัวของน้องกิ้งก่ามีความลับที่ไม่ธรรมดาซ่อนอยู่ ระหว่างผิวหนังของมันจะมีร่องละเอียดขนาดเล็กสามารถดูดซับน้ำออกจากทรายที่ชื้นได้ มันจะยืนอยู่นิ่ง ๆ อย่างชิลและดื่มน้ำทางระบบผิวหนังโดยไม่ต้องขยับปากแม้แต่น้อย
5% ในร่างกายของแมงกะพรุน ประกอบด้วยโครงสร้างโปรตีน กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท ในขณะที่อีก 95% ที่เหลือเป็นน้ำ แตงกวาก็มีน้ำเป็นส่วนประกอบเท่ากับ 95% เช่นกัน และจัดว่ามากสุดในบรรดาผักหรือผลไม้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยสารอนุมูลอิสระ แร่ธาตุ ไฟเบอร์ และวิตามิน จึงเหมาะนำมา "ทาน" หรือ"พอกตามร่างกาย" เพื่อทำให้รู้สึกสดชื่น
จากผลสำรวจของสถาบันวิชาการในสหรัฐอเมริกา (The U.S. National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine) เผยว่าหากต้องน้ำดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ประเทศที่มีราคาน้ำดื่มแพงที่สุด 3 อันดับ ได้แก่
อันดับ 1 ประเทศกานา (Republic of Ghana) ราคาน้ำดื่ม คือ ฿31.94 ($0.91)
ค่าแรงขั้นต่ำของประชากรในประเทศกานาได้เพียงวันละ ฿52.37 ($1.49) เมื่อเทียบกับราคาน้ำที่จะต้องจ่าย ฿31.94 ต่อวัน คิดเป็น 60.99 % ของค่าแรง ถือว่าดื่มน้ำในประเทศนี้แพงที่สุด เหตุผลที่ต้องแพงขนาดนี้เป็นเพราะน้ำประปาในประเทศมีคุณภาพต่ำมาก ประชากรจึงจำเป็นต้องควักเงินซื้อน้ำสะอาดในราคาที่สูงมาก
อันดับ 2 สาธารณรัฐโดมินิกัน (Dominican Republic) ราคาน้ำดื่ม คือ ฿31.54 ($0.89)
หากเทียบกับประเทศกานาซึ่งมีราคาน้ำดื่มใกล้เคียงกัน คนโดมินิกันมีค่าแรงขั้นต่ำที่สูงกว่าเพียงเล็กน้อยอยู่ที่ ฿177.96 ($5.04) แต่คนประเทศนี้ต้องจ่ายค่าน้ำดื่มคิดเป็น 17.73 % ถือว่าเป็นประเทศมีน้ำดื่มที่แพงเป็นอันดับ 2
อันดับ 3 ประเทศเดนมาร์ก (Denmark) ราคาน้ำดื่ม คือ ฿67.16 ($1.91)
แม้เดนมาร์กจะมีราคาน้ำดื่มที่สูงที่สุด อยู่ที่ ฿67.16 แต่ด้วยรายได้ขั้นต่ำต่อวันที่มากพอ คือ ฿4,083.05 ($115.92) ทำให้ชาวเดนมาร์กจ่ายค่าน้ำเพียง 1.2% เหตุผลเพราะว่าน้ำประปาในประเทศนี้มีคุณภาพดีสามารถดื่มได้ฟรี ถือว่าเป็นประเทศที่มีราคาน้ำดื่มที่ถูกที่สุดเลยก็ว่าได้
สำหรับประเทศไทย หากจะต้องน้ำดื่มปริมาณ 2 ลิตร ราคาโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ ฿21.17 และเมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ คือ ฿373.64 ต่อวัน คนไทยจ่ายค่าน้ำดื่มที่ 5.67% ของรายได้ ซึ่งเทียบเท่ากับประเทศรัสเซีย
Luxury Collection Diamond Edition น้ำดื่มสุดหรูที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ในราคาขวดละ 3,531,350 บาท ($100,000) เป็นน้ำ “Master Crafted” แห่งแรกของโลกที่สร้างสรรค์โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารรสเลิศ นำโดย Martin Riese หนึ่งในผู้ผลิตที่เป็นซอมเมลิเย่ร์น้ำชั้นนำของโลก
น้ำขวดนี้ได้รับการพัฒนาสูตรอย่างประณีต โดยใช้น้ำแร่คุณภาพที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุธรรมชาติ จากเทือกเขาเซียร์ราเนวาดา เทือกเขาแคลิฟอร์เนียทางตอนใต้อันบริสุทธิ์ กลายเป็นน้ำแร่ที่มีรสสัมผัสเนียนนุ่ม สดชื่นสุดจะบรรยาย แต่ละขวดจะมีฝาปิดที่ประดับด้วยทองคำขาวกว่า 600 เม็ด และเพชรสีดำมากกว่า 250 เม็ด รวมเป็น 14 กะรัต พร้อมด้วยขวดบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากแก้วคริสตัลโดยผู้ผลิตคริสตัลชั้นดีของฝรั่งเศสที่มีความหรูหราดุจประกายเพชรเจิดจ้า และปิดผนึกสามชั้นเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตสดใหม่ ปลอดภัย และเป็นของแท้ มีจำหน่ายในจำนวนจำกัด เพียง 10,000 ขวดเท่านั้น
ปี 2560 สถาบัน United Nations University Institute for Water, Environment and Health, Hamilton, Canada ได้รวบรวมผลการศึกษาและสถิติด้านน้ำเกือบ 100 ชิ้น ระบุว่า “แหล่งน้ำจืด” ในโลกมีเพียง 2.5% และด้วยปริมาณน้ำจืดที่จำกัดนี้ ภายในปี 2593 หรืออีก 28 ปีข้างหน้า ประชากรกว่า 3,900 ล้านคนจากประชากรที่คาดว่าจะสูงถึง 9,700 ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณ 40% สุ่มเสี่ยงจะไม่มีน้ำจืดใช้อย่างเพียงพอ
ทุกปีประชากรและเศรษฐกิจโลกเติบโตขึ้น และความต้องการใช้น้ำก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คิดเป็นร้อยละ 20 - 30 ของระดับการใช้น้ำในปัจจุบัน แต่ทรัพยากรน้ำกลับเหลือน้อยจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ น้ำเสีย และมลพิษ ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะเข้าถึงน้ำสะอาดทำได้ง่ายเพียงแค่เปิดก๊อกน้ำ ขณะแปรงฟัน อาบน้ำ และล้างห้องน้ำ ผู้คนเทน้ำเป็นแกลลอนลงท่อระบายน้ำทุกวันโดยไม่คิด ในขณะประเทศที่กำลังพัฒนาไปจนถึงด้อยพัฒนา มีผู้คนราว 1.1 พันล้านคนทั่วโลกไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัย กล่าวคือในจำนวนประชากร 10 คน จะมีเพียง 3 คน ที่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด และจำนวน 2.7 พันล้านคนพบว่า พวกเขากำลังเผชิญกับการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงอย่างน้อยที่สุด 1 เดือนต่อปี
หากไม่การบริหารและจัดการน้ำให้ดี อีกไม่กี่ปีข้างหน้าหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทยอาจจะเจอกับวิกฤตปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราต้องใช้น้ำอย่างประหยัดและอนุรักษ์น้ำโดยตระหนักรู้คุณค่าให้สมกับคำว่า “น้ำคือชีวิต” #savewater
ติดตามการทำงานของ "ฮีโร่พิทักษ์น้ำ" ที่มีหน้าที่ดูแลและจัดการต้นน้ำให้คงอยู่เพื่อประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ พร้อมเจาะลึกการเรียนรู้ในภาควิชาอนุรักษ์วิทยาได้ใน รายการ Class One ทางฉันฝันเธอ (คลิก)
และเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการน้ำกับวิกฤติ climate change ได้ในรายการ 2 องศา (คลิก)
ขอบคุณข้อมูล: bbc.com, sheldrickwildlifetrust.org, greenpeace.org, theatlantic.com, themomentum.co