ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
เหตุผลที่ทำไม "การเป็นทาส" ควรหายไปจากโลกนี้...
แชร์
ฟัง
ชอบ
เหตุผลที่ทำไม "การเป็นทาส" ควรหายไปจากโลกนี้...
22 ส.ค. 66 • 11.08 น. | 295 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

ทาส การแบ่งชนชั้น เป็นสิ่งที่อยู่คู่อารยธรรมตั้งแต่โบราณกาล ปรากฎอยู่ในหลายอารยธรรม จนนำไปสู่ความเฟื่องฟูอันโหดร้ายที่ลดคุณค่าของมนุษย์ให้เสมือนกับสัตว์ และยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน…

 

วันที่ 23 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันระลึกการค้าทาสและการเลิกทาสสากล ยูเนสโกประกาศเพื่อระลึกถึงการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และเหตุการณ์การลุกฮือของทาสจนนำไปสู่การเลิกค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

 

วันนี้จึงอยากพาเพื่อน ๆ มาทำความเข้าใจว่าเหตุใด “การเป็นทาส” ควรหายไปจากโลกนี้กันค่ะ

 

การมีทาสเริ่มต้นเมื่อไร ?

 

จากการค้นพบหลักฐานที่มีการพูดถึงทาสที่เก่าแก่ที่สุด ปรากฎในประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ในยุคเมโสโปเตเมีย ซึ่งคาดว่าตราขึ้นเมื่อ 1754 ปีก่อนคริสตกาล ไว้ว่า “ผู้ใดพาทาสชายหรือหญิง และทาสที่เป็นไทออกจากประตูเมืองไป ผู้นั้นจักต้องถูกประหารชีวิต (If anyone take a male or female slave of the court, or a male or female slave of a freed man, outside the city gates, he shall be put to death.) 

 

 

ต่อมาในอารยธรรมอื่น ๆ เช่น อียิปต์โบราณ กรีก โรมัน และอื่น ๆ ก็มีการใช้ทาสเพื่อทำงานให้คนที่ร่ำรวยกว่า หรือคนที่มีสถานะทางสังคมสูงกว่ากันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของทุกอารยธรรมทั่วโลกล้วนมีทาสเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมทั้งสิ้น

 

และในวันหนึ่ง… 

 

หลังจากคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบโลกใหม่ในทวีปอเมริกาเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางการค้าในมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวสเปนและโปรตุเกสต่างใช้ประโยชน์จากผืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ในทวีปอเมริกาไปกับการเพาะปลูกพืชเมืองร้อนเพื่อนำผลผลิตที่ได้ส่งกลับทวีปยุโรป

 

 

แต่กว่าจะได้มาซึ่งผลผลิตให้พอต่อความต้องการนั้นต้องมีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก และชนพื้นเมืองบนทวีปอเมริกาติดโรคจากกะลาสีชาวยุโรปทำให้ล้มป่วยเป็นอันมาก ทำให้ชาวยุโรปต้องหาแรงงานใหม่ ที่ทนต่องานหนัก อากาศอันโหดร้าย และโรคภัยนานาชนิด จนค้นพบว่าทาสผิวดำจากทวีปแอฟริกาเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

 

จุดเริ่มต้นการซื้อทาสในยุโรป

 

โดยชาวยุโรปในสมัยนั้นต้องการแรงงานชายที่แข็งแรง เพาะปลูกพืชไร่ที่ต้องการการดูแลตลอดเวลา เช่น ฝ้าย น้ำตาล และยาสูบ ในช่วงแรกชาวยุโรปเข้าไปซื้อหาทาสเอง แต่ด้วยสภาพอากาศในแอฟริกาที่ชาวยุโรปไม่คุ้นชิน ทำให้ชาวยุโรปกลุ่มแรกพากันป่วยและจากไปด้วยโรคเขตร้อน (ตัวอย่างเช่น ไข้เลือดออก มาลาเรีย อหิวาตกโรค ฯลฯ) ต่อมาจึงผันตัวไปเป็นคนกลางในการซื้อทาสผิวดำจากพ่อค้าชาวอาหรับส่งต่อไปยังหมู่เกาะแคริบเบียนแทนที่จะหาซื้อด้วยตัวเองโดยตรง และความต้องการแรงงานทาสมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็เปลี่ยนไปติดต่อกับหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ ในแถบแอฟริกากลางและตะวันตก แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการค้าทาส พร้อมทั้งจูงใจด้วยสินค้าฟุ่มเฟือยจากชาติตะวันตก 

 

 

ต่อมาการค้าทาสกลายเป็นสิ่งที่ให้กำไรงามกว่าการค้าอื่น ๆ ที่ชาวยุโรปเคยรู้จัก เช่น การค้าเครื่องเทศ เป็นต้น ภายในเวลาเพียง 300 ปี ชาวแอฟริกันนับสิบล้านคนถูกส่งไปเป็นแรงงานในโลกใหม่อย่างทวีปอเมริกา ซ้ำร้ายบางส่วนบาดเจ็บล้มตายระหว่างการเดินเรือข้ามทวีป บางส่วนเลือกจบชีวิตเพื่อหวังให้คลื่นทะเลช่วยพัดพาพวกเขากลับไปหาครอบครัว และแผ่นดินเกิด

 

ทาส ≠ พลเมือง

 

ทาสได้รับการปฏิบัติราวกับไม่ใช่มนุษย์ ถูกลดศักดิ์ศรีลงเรื่อย ๆ เช่น การจำกัดการเป็นพลเมืองให้เป็นของคนขาวเท่านั้น ทาสไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เลย เพราะทาสไม่ถือว่าเป็นพลเมืองตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา

 

จนกระทั่งเหล่าทาสผิวดำเริ่มลุกขึ้นต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ต่อต้านการค้าทาส วาทกรรมต่าง ๆ ที่พูดถึงคนดำ แต่ยิ่งต่อต้านมากเท่าไรก็ยิ่งมีการต่อต้านไม่ต้องการให้ทาสเป็นอิสระจากกลุ่มคนขาวเพิ่มเป็นเงาตามตัว 

 

กว่าทาสจะเท่าเทียม

 

เมื่ออับราฮัม ลินคอล์น ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีในปี 1860 เขาต่อต้านการใช้แรงงานทาสอย่างชัดเจน ทำให้ทางตอนใต้ของสหรัฐฯ ไม่พอใจและถอนตัวจากรัฐบาลอเมริกา ก่อตั้งสมาพันธรัฐอเมริกา (Confederate State of America) ซึ่งสนับสนุนการใช้แรงงานทาส อันมีที่มาจากการที่ทางตอนใต้เน้นการทำเกษตรกรรม ส่วนทางตอนเหนือเป็นสังคมอุตสาหกรรม โรงงาน ทำให้มุมมองการครอบครองทาสจึงต่างกัน

 

 

นำไปสู่สงครามกลางเมืองอเมริกา (American Civil War 1861 - 1865) มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งกันในเรื่องการถือครองทาสที่ไม่ลงตัวระหว่างฝ่ายสมพันธรัฐอเมริกาหรือฝ่ายใต้ กับฝ่ายที่ภักดีต่อสหรัฐฯ หรือฝ่ายเหนือ สงครามนี้ถือได้ว่าเป็นสงครามนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายเหนือ ทำให้มีการห้ามใช้แรงงานทาส และทาสได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันกับพลเมืองชาวอเมริกัน แต่การเลือกปฏิบัติต่อคนดำยังไม่หายไปไหน… 

 

แม้ว่าการค้าทาสในมหาสมุทรแอตแลนติกจะจบลงไปแล้วกว่าสองร้อยปีก็ตาม…

 

สิทธิที่ทาสได้รับ ?

 

ส่วนใหญ่ทำงานด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ผ้าฝ้าย น้ำตาล ยาสูบ ในยุคแรก ๆ ทาสมีทั้งจากยุโรป และแอฟริกา แต่ต่างกันที่บทลงโทษ ถ้าผู้กระทำผิดเป็นทาสจากยุโรป จะได้รับโทษเบากว่าทาสจากแอฟริกา และเป็นทาสตลอดชีวิต ต่อมาจึงนำไปสู่การแบ่งแยกและปกครอง ทำให้คนขาวที่ยากจนกลายเป็นพรรคพวกของคนขาวมีสถานะที่ดีขึ้น ส่วนทาสผิวดำยังคงถูกกดขี่ใช้แรงงานอย่างหนัก และมีกฎหมายกำหนดให้สถานะของบุตรขึ้นอยู่กับมารดา หมายถึง ลูกของแม่ที่เป็นทาส ไม่ว่าพ่อจะเป็นใครก็ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต

 

 

ยุคดิจิทัลแล้ว ยังมีทาสอยู่หรือ ?

 

ในปัจจุบันยังมีทาสอยู่ โดยองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organisation หรือ ILO) ของสหประชาชาติระบุว่าทุก ๆ 150 คน ของประชากรโลก จะต้องมี 1 คน ที่ตกอยู่สถานะทาสยุคใหม่ 

 

คำว่าทาสในปัจจุบันครอบคลุมความหมายไปถึงการเอารัดเอาเปรียบผู้คนด้วยการกระทำต่าง ๆ ในที่นี้รวมถึง การบังคับใช้แรงงานโดยไม่เต็มใจ การถูกบังคับให้ทำงานเพื่อชำระหนี้สิน ทาสที่เป็นแต่กำเนิด การถูกบังคับแต่งงาน และทาสรับใช้ในบ้าน ซึ่งเป็นไปโดยที่ไม่มีใครรับรู้ และเพิ่มขึ้นมากในสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้คนหลายคนตกงาน ติดอยู่ในต่างประเทศ และต้องการเงิน จึงเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์

 

…ที่เลวร้ายไปกว่านั้น กลุ่มคนที่ก่อให้เกิดทาสยุคใหม่ ก็คือ นายจ้าง ซึ่งล้วนมีส่วนในการรับผิดชอบต่อการบังคับใช้แรงงานนั่นเอง…

 

เกร็ดน่ารู้

หลังจากรัชกาลที่ 5 ทรงประกาศเลิกทาสแล้ว ทาสในไทยที่ได้รับการปลดปล่อยแล้วบางส่วนไม่สามารถออกไปประกอบอาชีพอื่นได้ ซ้ำจะกลับมาขายตัวเป็นทาสใหม่ก็ไม่ได้ เพราะกฎหมายห้ามไว้แล้ว และสุดท้ายจบลงที่เป็นหนี้พ่อค้าชาวจีน หรือทิ้งผืนนาอพยพหาที่ทำกินใหม่ ไม่สามารถตั้งตัวได้...

 

นับตั้งแต่การเลิกทาส การค้าทาสสิ้นสุดลงนับหลายศตวรรษ ทว่ามรดกอันเจ็บปวดนี้ยังคงสร้างบาดแผลแก่มวลมนุษยชาติเห็นได้จากการเหยียดสีผิว เหยียดเชื้อชาติ และเหตุการณ์การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ ทำให้โลกตระหนักรู้ประเด็นอ่อนไหวมากขึ้น และเรียนรู้มากขึ้น จึงพบว่า…

 

ทาส และการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ใด ๆ ไม่ควรมีอีกต่อไปค่ะ

 

 

ที่มา มติชน, ศิลปวัฒนธรรม, BBC Thai, The Standard, MuseumSiam, NYTimes, The Momentum, Britannica, The History Press

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#23สิงหาคม, 
#วันระลึกการค้าทาสและการเลิกทาสสากล, 
#ทาส, 
#การค้าทาส, 
#มหาสมุทรแอตแลนติก, 
#สิทธิ, 
#เสรีภาพ, 
#ความเท่าเทียม, 
#การเป็นทาส, 
#ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, 
#แรงงานทาส, 
#ประวัติศาสตร์ 
ผู้เขียนบทความ
avatar
Chayanin C
yun
nerdy girl ผู้สนใจใน Kpop ตัวยง รักการนอนและการกินเป็นชีวิตจิตใจ สีเหลือง? เยลโล่ว มะม่วง? แมงโก้
ALTV CI
บทความที่เกี่ยวข้อง
Learn small วิชาประวัติศาสตร์: บุคคลสำคัญของโลก "เนลสัน แมนเดลา"
18 ก.ค. 65 • 11.40 น.
Learn small วิชาประวัติศาสตร์: บุคคลสำคัญของโลก "เนลสัน แมนเดลา"
‘ท่านประธานสภาที่เคารพ…’ ตำแหน่งนี้ทำอะไรบ้าง?
01 ก.ค. 66 • 11.00 น.
‘ท่านประธานสภาที่เคารพ…’ ตำแหน่งนี้ทำอะไรบ้าง?
เรียนรู้พระราชกรณียกิจของพระพันปีหลวงจากบทเพลง ‘คีตามาลัย เทิดไท้พระพันปี’
11 ส.ค. 66 • 17.20 น.
เรียนรู้พระราชกรณียกิจของพระพันปีหลวงจากบทเพลง ‘คีตามาลัย เทิดไท้พระพันปี’
ไทยพีบีเอส เปิดรับสมัครร่วมกิจกรรม DXC Creator and Innovation Contest "พิบัติภัยใกล้ตัว : โลกที่ไม่เหมือนเดิม"
21 ก.ย. 66 • 11.56 น.
ไทยพีบีเอส เปิดรับสมัครร่วมกิจกรรม DXC Creator and Innovation Contest "พิบัติภัยใกล้ตัว : โลกที่ไม่เหมือนเดิม"
Interest Thing
Interest Thing
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
Chayanin C
yun
nerdy girl ผู้สนใจใน Kpop ตัวยง รักการนอนและการกินเป็นชีวิตจิตใจ สีเหลือง? เยลโล่ว มะม่วง? แมงโก้
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#23สิงหาคม, 
#วันระลึกการค้าทาสและการเลิกทาสสากล, 
#ทาส, 
#การค้าทาส, 
#มหาสมุทรแอตแลนติก, 
#สิทธิ, 
#เสรีภาพ, 
#ความเท่าเทียม, 
#การเป็นทาส, 
#ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, 
#แรงงานทาส, 
#ประวัติศาสตร์ 
แชร์
ฟัง
ชอบ
ติดตามเรา