นิทานพื้นบ้านไทย ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องเล่าปากต่อปากเพื่อให้ความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและมีความสำคัญของไทย ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงความเชื่อ ค่านิยม และภูมิปัญญาของคนในอดีต

✏️นิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้าน (folktale) คือ เรื่องเล่าที่สืบทอดต่อกันมาภายในท้องถิ่น มักแฝงด้วยคติสอนใจ คุณธรรม หรือค่านิยมของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ มักไม่มีบันทึกหลักฐานว่าใครเป็นผู้แต่ง เพราะถ่ายทอดเด้วยวิธีการมุขปาฐะ หรือการเล่าต่อกันปากสู่ปาก
✏️ประเภทนิทานพื้นบ้าน
ประเภทของนิทานพื้นบานสามาถแบ่งออกได้หลายประเภท ตามรูปแบบเนื้อหาและจุดประสงค์การเล่า ดังนี้
- เทพนิยาย เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับ เทวดา เทพเจ้า มีการผจญภัย มีการแสดงอภินิหาร เหนือธรรมชาติ
- นิทานชีวิต ดำเนินเรื่องในโลกความจริง มีการเอ่ยถึงชื่อสถานที่หรือบุคคลที่มีอยู่จริง
- นิทานวีรบุรุษ การเล่าถึงวีรกรรมความกล้าหาญความเหนือมนุษย์ของบุคคลหนึ่ง
- นิทานคติ นิทานที่มุ่งเน้นการสั่งสอน มีแนวคิดแฝงไว้ท้ายเรื่อง
- นิทานศาสนา เรื่องเล่าที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ และหลักธรรมคำสอน มีตุดประสงค์เพื่อเผยแผ่หลักธรรม
- นิทานปริศนา มีการสอดแทรกปมปริศนาให้ขบคิด เพื่อให้อ่านคิดและหาคำตอบ เช่น นิทานเวตาล
- นิทานอธิบายเหตุ นิทานที่เน้นการอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ในโลก คน สัตว์ สิ่งของ ประเพณีและวัฒนธรรม
- นิทานเกี่ยวกับสัตว์ เดินเรื่องโดยตัวละครสัตว์ ที่มีพฤติกรรมความคิดเหมือนมนุษย์
✏️ความสำคัญของนิทานพื้นบ้าน
- ให้ความเพลิดเพลิน
- ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
- ให้คติสอนใจเกี่ยวกับกฎการณ์และประวัติศาสตร์
- สืบทอดวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
- ให้ข้อคิดสอนใจ
รับชมสาระความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับ “นิทานก้อม” นิทานพื้นบ้านทางภาคอีสาน ได้ที่รายการ ก(ล)างเมือง ทางเว็บไซต์ ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก https://www.altv.tv/KlangMuang