ในวันนี้ ALTV จะพาทุกคนมาทบทวนส่วนประกอบสำคัญของจดหมายกิจธุระ ว่ามีอะไรบ้าง เขียนอย่างไรให้ดูสุภาพ ถูกต้อง เพื่อการสื่อสารได้อย่างมืออาชีพและน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นสกิลที่ยังจำเป็นอยู่ในโลกการทำงานปัจจุบัน
คือจดหมายสำหรับการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการ ระหว่างบุคคลถึงบุคคล หรือบุคคลถึงองค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับธุรกิจ การสอบถาม การเสนอสินค้าและบริการ ฯลฯ เน้นประโยชน์ในการดำเนินงานเป็นหลัก
• มักขึ้นต้นด้วยคำว่า “เรียน…” และลงท้ายด้วยคำว่า “ขอแสดงความนับถือ”
• มีการระบุสิ่งที่จำเป็นและเนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วน เช่น สถานที่ รายระเอียด เวลา ตำแหน่ง
• ใช้ภาษาเป็นทางการ กระชับได้ใจความ
• มีความสุภาพ ทั้งการใช้ภาษา การจัดเรียงย่อหน้ากระดาษที่เป็นระเบียบ หรือการพิมพ์ลงในกระดาษที่สะอาดเรียบร้อย
• ใช้ซองหรือกระดาษสีไม่ฉูดฉาด และขนาดมาตรฐาน
แม้ว่าจุดประสงค์ของจดหมายกิจธุระจะมีหลากกลาย ก็ต้องมีส่วนประกอบที่เหมือนกัน ได้แก่ ส่วนต้น ส่วนกลาง ส่วนท้าย
ส่วนต้นของจดหมายกิจธุระ
• หัวจดหมาย คือส่วนของชื่อและที่อยู่ขององค์กร สังกัด หรือบุคคล อยู่ในส่วนของมุมขวาของกระดาษ
• ลำดับที่ของจดหมาย มักเป็นอักษรย่อของหน่วยงาน ตามด้วยเลขที่เลขบอกลำดับที่ของจดหมายและตามด้วยปี พ.ศ. เช่น ที่ ๕/ ๒๕๖๕
• วัน เดือน ปี วัน เดือน ปี ที่ออกจดหมาย โดยไม่ต้องเขียนคำว่า วันที่ เดือน ปี เช่น ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕
• หัวเรื่องจดหมาย จุดประสงค์ของจดหมายฉบับนั้น ๆ มักใช้คำสั้น กระชับ เข้าใจได้ทันที
• คำขึ้นต้นจดหมาย ต้องใช้คำว่า “เรียน….” และตามด้วย ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ของผู้รับ
• สิ่งที่แนบมาด้วย ระบุสิ่งที่ผู้ส่งแนบมากับจดหมายฉบับนั้นด้วย เช่น กำหนดการ เอกสารประกอบการประชุม ฯลฯ
ส่วนกลางของจดหมายกิจธุระ
• เนื้อหาจดหมาย เนื้อหาหลักและใจความสำคัญของจดหมาย หากเนื้อหายาว มักแบ่งออกเป็น 2 ย่อหน้า
• เนื้อหาย่อหน้าแรก บอกถึงสาเหตุของการเขียนจดหมาย มักขึ้นต้นด้วยคำว่า เนื่อง, เนื่องด้วย, เนื่องจาก, เนื่องใน
• เนื้อหาย่อหน้าที่สอง บอกวัตถุประสงค์ของการเขียนจดหมาย มักขึ้นต้นด้วยคำว่า “จึงเรียนมาเพื่อ…” แล้วตามด้วยจุดประสงค์ เช่น เรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนมาเพื่อขออนุญาต เป็นต้น
• คำลงท้าย ต้องใช่คำว่า “ขอแสดงความนับถือ” ตรงกับวันที่
• ชื่อ นามสกุลและตำแหน่งของผู้เขียนจดหมาย ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของผู้เขียนจดหมายแบบเต็ม และมีคำนำหน้าชื่อเสมอ
• ลายมือชื่อ ลายมือชื่อของผู้ลงชื่อ
• หมายเลขโทรศัพท์ หรือหน่วยงานที่ติตต่อกลับ มักอยู่ชิดขอบด้านซ้าย และเป็นส่วนท้ายที่สุดของจดหมาย
เรียนรู้เกี่ยวกับจดหมายประเภทอื่น ๆ ได้ที่ รายการ ห้องเรียนติวเข้ม ภาษาไทย ตอน ภาษาไทย : การเขียนจดหมายกิจธุระ ทุกช่องทางออนไลน์ของ ALTV