ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
“วันศารทวิษุวัต” วันที่เวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน
แชร์
ชอบ
“วันศารทวิษุวัต” วันที่เวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน
23 ก.ย. 64 • 10.24 น. | 5,216 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

“วันศารทวิษุวัต” วันที่เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้

วันที่ 23 กันยายน 2564 เป็นวัน “ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) เวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน คำว่า “Equinox” มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Aequus แปลว่า เท่ากัน และ Nox แปลว่า กลางคืน ดังนั้น Equinox หมายถึงวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซึ่งตรงกับคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า "จุดราตรีเสมอภาค" 

ในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดเหนือสุดลงมาทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 6.07 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18.13 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร) นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้ 

เนื่องจากแกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณภูมิต่างกัน รวมถึงระยะเวลากลางวันและกลางคืนก็ต่างกันด้วย เหตุนี้ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั่นเอง จะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า เวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน แตกต่างกับฤดูหนาวที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว เวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน

 

ปรากฏการณ์ต่อไปที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ของดวงอาทิตย์ คือ “วันเหมายัน” (Winter Solstice) ซึ่งจะตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม 2564 เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ ช่วงกลางวันจะยาวที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อนนั้นเอง 

ในโลกของเรา แต่ละพื้นที่ก็มีสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศที่แตกต่างกันออกไปอีกมากมาย มาทำความรู้จักภูมิอากาศฉบับเข้าใจง่าย และเพลิดเพลินไปกับหลากหลายเรื่องราวในหมวดสังคมศาสตร์ กับรายการ สังคม สนุกคิด ออกอากาศ ทุกวันศุกร์ เวลา 18.15 - 18.35 น. ทาง ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

ข้อมูลจาก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#ALTV, 
#วันศารทวิษุวัต, 
#กลางคืนเท่ากับกลางวัน, 
#ฤดูใบไม้ร่วง, 
#ฤดูใบไม้ผลิ, 
#ศารทวิษุวัต, 
#AutumnalEquinox, 
#จุดราตรีเสมอภาค, 
#แกนโลกเอียง, 
#วิทยาศาสตร์, 
#NARIT, 
#สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, 
#ดาราศาสตร์, 
#พระอาทิตย์, 
#โลก, 
#ฤดูกาล, 
#วันเหมายัน, 
#WinterSolstice, 
#ตะวันอ้อมข้าว 
ALTV CI
คลังความรู้
คลังความรู้
ALTV News
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#ALTV, 
#วันศารทวิษุวัต, 
#กลางคืนเท่ากับกลางวัน, 
#ฤดูใบไม้ร่วง, 
#ฤดูใบไม้ผลิ, 
#ศารทวิษุวัต, 
#AutumnalEquinox, 
#จุดราตรีเสมอภาค, 
#แกนโลกเอียง, 
#วิทยาศาสตร์, 
#NARIT, 
#สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, 
#ดาราศาสตร์, 
#พระอาทิตย์, 
#โลก, 
#ฤดูกาล, 
#วันเหมายัน, 
#WinterSolstice, 
#ตะวันอ้อมข้าว 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา