ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
ส่าหรีสีขาว การสื่อสารผ่านเครื่องแต่งกายที่เป็นมากกว่าสี
แชร์
ชอบ
ส่าหรีสีขาว การสื่อสารผ่านเครื่องแต่งกายที่เป็นมากกว่าสี
06 ส.ค. 65 • 08.00 น. | 2,463 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

กระแสคังคุไบจบไประยะใหญ่แล้ว แต่ที่เมืองเคราล่าทางตอนใต้ของอินเดียซึ่งเป็นเมืองที่มีความเข้มข้นในประเพณีวัฒนธรรม ผู้หญิงเมืองนี้ใส่ชุดส่าหรีสีขาวในทุก ๆ วันโดยไม่เกี่ยวกับหนังดังเรื่องใด ๆ

ส่วนเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นสีขาวนั้น ไม่มีใครบอกหตุผลได้ชัดเจน แต่มีข้อสังเกตว่าในเมืองเคราล่ามีสีสันจากความหลากหลายของพืชพรรณ มีพื้นที่สีเขียวอยู่เยอะ ทั้งป่า สวนและไร่นา รวมไปถึงชีวิตประจำวันของคนเมืองนี้เองก็ผูกพันกับการใช้สี ผู้หญิงเมืองนี้เลยเลือกที่จะใส่ส่าหรีสีขาวซึ่งเป็นสีค่ากลาง เพื่อจะอยู่ได้กับสีสันจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว อีกข้อสังเกตเป็นเรื่องของลักษณะภูมิศาสตร์และฤดูกาล เคราล่าเป็นเมืองที่ฝนตกบ่อย น้ำเยอะ หากจะต้องทำกระบวนการย้อมสีต่างๆ ถือเป็นเรื่องที่ยากมาก ขณะเดียวกัน ผู้คนเมืองนี้ก็นิยมใช้เครื่องประดับสร้อยแหวนทองคำ ฉะนั้นตัวส่าหรีเองจึงไม่จำเป็นต้องมีความแฟนซีอะไรนัก เพราะขาวกับทองคือสีและผิวสัมผัสที่อยู่ด้วยกันได้อย่างลงตัวอยู่แล้ว มันคือความสง่างามที่ผสมด้วยความรู้สึกของสีธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใส่ส่าหรี่สีขาวคู่กับเครื่องประดับทองคำ สีขาวจะยิ่งช่วยขับความเป็นทองให้โดดเด่น

ว่าด้วยสีขาวในความหมายของชาวเอเชียใต้ ตีความหมายกันว่าสีขาวคือสีแห่งความไร้เดียงสา เรียบง่าย ปลอบประโลม ความสงบสุข ตรงกันข้ามอย่างชัดเจนกับสีแดง

ส่าหรีสีแดงของผู้หญิงอินเดียสื่อสารถึงความรัก ความหลงใหล การเฉลิมฉลอง และยังเป็นสัญลักษณ์แทนความบริสุทธิ์ทางเพศอีกด้วย และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเจ้าสาวอินเดียจึงมักสวมชุดแต่งงานสีแดงหรือมีสีแดงเป็นส่วนประกอบในข้าวของที่ใช้ในงานแต่งงาน

ในอีกมุม สีขาวสำหรับศาสนาฮินดูยังถือเป็นสีของการไว้ทุกข์

ในอดีต ผู้หญิงอินเดียจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นหม้าย ทั้งไม่ว่าจะจากสามีเสียชีวิตหรือจากการหย่าร้าง ผู้หญิงกลุ่มนี้จะถูกสังคมตัดสินอย่างไม่ยุติธรรมทันทีด้วยการแบ่งแยกสถานะของพวกเธอออกอย่างชัดเจน โดยผู้หญิงที่เป็นหม้ายจะต้องใส่ชุดส่าหรีสีขาวไปทั้งชีวิตของเธอ ส่วนถ้าเป็นหญิงหม้ายทางฝั่งอินเดียเหนือจะมีเครื่องประดับหลากสีเข้ามาผสม

และด้วยความที่เหล่าแม่หม้ายถูกบรรทัดฐานทางสังคมแบ่งแยกสถานะของพวกเธอ ถึงขั้นว่าผู้หญิงกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิ์ที่จะแต่งงานใหม่ ชีวิตของพวกเธอในทุกวันจึงต้องซ่อนตัวอยู่แต่ในบ้าน เพราะครอบครัวของพวกเธอเองก็มองสถานะแม่หม้ายว่าคือความน่าอับอายของครอบครัว ทางออกของแม่หม้ายจำนวนหนึ่งเลยใช้วิธีหนีเข้าเมืองใหญ่ บางคนหนีหายไปเลยแบบไม่มีใครตามหาเจอ บางคนเลือกที่จะหนีไปอยู่ที่เมืองพาราณสีซึ่งเป็นเมืองแห่งการชำระบาป และบางคนก็หอบเสื้อผ้าไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่เมือง Vrindavan ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองเดลีออกไปประมาณ 100 กิโลเมตร เขาเรียกเมืองนี้กันว่าเป็นเมืองแม่หม้าย เพราะที่นี่มีชาวแม่หม้ายฮินดูรวมตัวใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันถึงสองหมื่นคน

นอกจากสีขาวจะเป็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจนของกลุ่มแม่หม้ายในอดีต ซึ่งปัจจุบันตามเมืองในชนบทของอินเดียก็ยังคงเป็นเช่นนั้น คนไทยเองก็คงคุ้นเคยกับสีขาวจากภาพการแต่งตัวของกลุ่มพราหมณ์และวรรณะชั้นสูงของอินเดียที่นำสีขาวมาเป็นสัญลักษณ์ในรูปแบบของเครื่องแต่งกาย โดยกลุ่มพราหมณ์เชื่อว่าการย้อมสีทุกประเภทถือเป็นความไม่บริสุทธิ์

เรื่อง // ภาพ : พัทริกา ลิปตพัลลภ

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#คังคุไบ, 
#ส่าหรีสีขาว, 
#วัฒนธรรมอินเดีย, 
#ประเทศอินเดีย, 
#อินเดีย, 
#เมืองเคราล่า, 
#ส่าหรีสีแดง, 
#พิธีแต่งงานอินเดีย, 
#ความหมายของสีขาว, 
#ศาสนาฮินดู, 
#พราหมณ์, 
#ผู้หญิงหม้าย, 
#ผู้หญิงหม้ายชาวอินเดีย, 
#เมืองแห่งหญิงหม้าย, 
#เมืองพาราณสี, 
#วรรณะชาวอินเดีย, 
#แพทพัทริกา, 
#พัทริกาลิปตพัลลภ, 
#ชาติที่แล้วคงเกิดเป็นแขก, 
#ซินญอริต้าในชุดผ้ากันเปื้อน, 
#บทความแนะนำ, 
#บทความน่าอ่าน, 
#เกี่ยวกับอินเดีย, 
#ไทยพีบีเอส, 
#ThaiPBS, 
#ALTV 
ผู้เขียนบทความ
avatar
พัทริกา ลิปตพัลลภ
แพท
นักเขียนอิสระ เจ้าของหนังสือชาติที่แล้วคงเกิดเป็นแขกและซินญอริต้าในชุดผ้ากันเปื้อน ที่หลงใหลการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ และการได้พบปะผู้คนใหม่ ๆ ก็มีเรื่องน่าสนใจเต็มไปหมด
ALTV CI
คิด-ออก
คิด-ออก
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
พัทริกา ลิปตพัลลภ
แพท
นักเขียนอิสระ เจ้าของหนังสือชาติที่แล้วคงเกิดเป็นแขกและซินญอริต้าในชุดผ้ากันเปื้อน ที่หลงใหลการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ และการได้พบปะผู้คนใหม่ ๆ ก็มีเรื่องน่าสนใจเต็มไปหมด
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#คังคุไบ, 
#ส่าหรีสีขาว, 
#วัฒนธรรมอินเดีย, 
#ประเทศอินเดีย, 
#อินเดีย, 
#เมืองเคราล่า, 
#ส่าหรีสีแดง, 
#พิธีแต่งงานอินเดีย, 
#ความหมายของสีขาว, 
#ศาสนาฮินดู, 
#พราหมณ์, 
#ผู้หญิงหม้าย, 
#ผู้หญิงหม้ายชาวอินเดีย, 
#เมืองแห่งหญิงหม้าย, 
#เมืองพาราณสี, 
#วรรณะชาวอินเดีย, 
#แพทพัทริกา, 
#พัทริกาลิปตพัลลภ, 
#ชาติที่แล้วคงเกิดเป็นแขก, 
#ซินญอริต้าในชุดผ้ากันเปื้อน, 
#บทความแนะนำ, 
#บทความน่าอ่าน, 
#เกี่ยวกับอินเดีย, 
#ไทยพีบีเอส, 
#ThaiPBS, 
#ALTV 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา