จากสิ่งที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ในทฤษฏีตาราง 9 ช่องที่ถูกนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน การทำเชิงธุรกิจ การออกกำลังกาย รวมถึงวิธีคิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา จะมีทฤษฏีอะไรที่น่าสนใจ และคุณก็สามารถหยิบมาใช้ได้เช่นกัน
ถ่ายภาพด้วย “ตาราง 9 ช่อง” เพื่อองค์ประกอบภาพที่ดี
เชื่อว่าก่อนทุกคนจะหยิบกล้อง หรือมือถือขึ้นมาถ่ายภาพ สายตาของเราเห็นถึงความสวยงามของสิ่ง ๆ นั้น ไม่ว่าจะบรรยากาศที่เราต้องการถ่ายเก็บไว้ดู หรืออัพเดทลงบนโซเชียลต่าง ๆ บางครั้งภาพถ่ายเหล่านั้น ไม่ได้ออกมาสวยงามอย่างที่ตาเราเห็น โดยการถ่ายภาพออกมาให้ดูดีและน่าสนใจนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภาพที่ดีด้วยเช่นกัน ไม่ว่าเทคโนโลยีจะล้ำมากแค่ไหนก็ตาม หากไม่รู้เทคนิคในการถ่ายภาพก็อาจจะต้องเหนื่อยกว่าจะได้ภาพที่สวยงาม โดยเทคนิคง่าย ๆ ฉบับสั้น ๆ ได้ใจความกับ ทฤษฏีตารางจุดตัด 9 ช่อง หรือกฎ 3 ส่วน ซึ่งเกิดจากการแบ่งเส้นในระนาบแนวนอน และแนวตั้ง จะได้เส้นแบ่งเป็นตาราง 9 ช่อง และเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กันเช่นนี้
จะเห็นได้ว่าเส้นทั้งแนวนอนและแนวตั้งตัดกัน 4 จุด ซึ่งเป็นจุดสำคัญของภาพ ที่ไว้ใช้บอกตำแหน่งในการวางวัตถุที่เราอยากถ่ายให้โดดเด่น และได้รับความสนใจจากผู้ชมภาพมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมวางภาพจากจุดที่เด่นที่สุดก่อน โดยเริ่มจาก จุดบนสุดฝั่งขวา ต่อด้วยจุดล่างขวา เพราะว่าธรรมชาติของมนุษย์แล้ว จะมองภาพจากมุมล่างซ้ายไล่ต่อไปจนหยุดที่มุมบนขวาของภาพ ในขณะเดียวกันหากวางวัตถุไว้ทุก 4 จุด โดยมีขนาด สีสัน ความชัด ที่เท่ากัน ซึ่งอาจทำให้ภาพดูอึดอัด หนาแน่น และถ่วงดุลกันเอง จนทำให้ภาพดูไม่น่าสนใจ
สรุปได้ว่า ตาราง 9 ช่อง หรือกฎ 3 ส่วนนี้ มีจุดตัด 4 จุดที่เป็นเทคนิคในการจัดวางองค์ประกอบของภาพ ให้ดูโดดเด่นและน่าสนใจมากขึ้น โดยหลักการนี้สามารถนำไปใช้ได้กับการถ่ายภาพทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นวิวทิวทัศน์ อาหาร คน สิ่งของ หรือสัตว์เลี้ยงสุดน่ารักของทุกคน
วิธีคิดด้วยทฤษฏี “ตาราง 9 ช่อง” แบบ TRIS สู่ไอเดียการแก้ไขปัญหา
วิธีคิดตามทฤษฏีตาราง 9 ช่อง แบบ TRIZ หลายคนอาจเคยได้ยินผ่านหูผ่านตามาบ้าง ในขณะเดียวกันก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เข้าใจ และไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีวิธีคิดแก้ไขปัญหาด้วยเครื่องมือแบบนี้จริง ๆ
ย้อนกลับไปถึงจุดริ่มต้นวิธีคิดแบบ TRIZ ซึ่งย่อมาจากคำภาษารัสเซีย (Teoriya Resheniya Izobretatelskikh Zadach) มีความหมายว่า ทฤษฏการแก้ไขปัญหาเชิงนวัตกรรม คิดค้นขึ้นโดย เกนริค อัลทชูลเลอร์ (Genrikh Altshuller) นักประดิษฐ์ชาวรัสเซีย และพรรคพวกในช่วงปี 1946 – 1985
โดยวิธีคิดแบบ TRIS ตามตาราง 9 ช่อง ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่แท้จริงแล้วเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทุกคนไปสู่ความสำเร็จ สร้างสรรค์ไอเดียนอกกรอบแบบ 360 องศา ต่อยอดไปถึงการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการจัดระเบียบความคิด การแก้ไขปัญหา และหาทางออกในเรื่องเหล่านั้นได้เสมอ ซึ่งวิธีคิดแบบตาราง 9 ช่องเป็นการมองภาพในปัจจุบัน อดีต และอนาคตที่เราคาดหวังอยากจะให้เป็น และในทุกครั้งเราต้องเริ่มคิดระบบต่าง ๆ จากช่องตรงกลางที่เป็นปัจจุบันก่อนเสมอ
จากภาพจะเห็นว่ากระบวนการสื่อสารจากช่องใน อดีต เป็นการใช้ส่งอีเมล ทำให้ระบบสื่อสารรวดเร็วกว่าการส่งจดหมายแบบเดิม รวมถึงลดทรัพยากรที่ใช้ในการสื่อสารที่ผ่านมา เปลี่ยนจากกระดาษ ดินสอ มาเป็นคอมพิวเตอร์ สัญญาณอินเทอร์เน็ต และฮาร์ดแวร์ ถัดมาเป็นในส่วนของ ปัจจุบัน เป็นการสื่อสารเห็นหน้าแบบ Face to Face สามารถโต้ตอบกับได้ผ่านเสียง รูปภาพ วีดีโอ หรือตัวหนังสือ โดยมีระบบย่อยในช่องด้านล่างสุด จำพวก มือถือ อินเทอร์เน็ต WIFI SIM Card เข้ามาช่วย Support และช่องในอนาคตทั้งความต้องการ เครื่องมือ หรือระบบย่อยที่เปรียบเสมือนทรัพยากรจะเป็นอย่างไร เราสามารถวางแผน หรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้จากความจริงที่ผ่านมา เช่น ใน อนาคต มีระบบจัดการที่สื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วขึ้นกว่าเดิมโดยพัฒนา Metaverse ใช้ในการสื่อสาร โดยมีเครื่องมือที่สามารถพบเจอกันแบบตัวต่อตัว ผ่าน AI ที่ช่วยประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการสื่อสาร รวมถึงตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์ในยุคโควิด-19
สรุปได้ว่า ทฤษฏีตาราง 9 ชองเป็นเครื่องมือที่ใช้ทำนายอนาคตจากประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีต ให้สามารถคาดการณ์กับทุกสิ่งที่คาดว่าจะเป็นไปได้ในอนาคต เพื่อหลีกเลี่ยง และรับมือกับแผนการต่าง ๆ ที่อาจจะล้มเหลว ผิดหวัง ทุกคนสามารถนำหลักการนี้ไปปรับใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำธุรกิจ หรือทุกเรื่องที่เป็นปัญหาในชีวิตประจำวัน
ออกกำลังกาย ด้วย “ตาราง 9 ช่อง”
เป็นเทคนิคการออกกำลังกายในพื้นที่จำกัดขนาดไม่เกิน 1 ตารางเมตร ด้วยตาราง 9 ช่อง โดยมีตัวเลข 1-9 เป็นตัวกำหนดในการขยับร่างกายไปตามจังหวะ เป็นวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัยไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ โดยการออกกำลังกายด้วยตาราง 9 ช่องมีประโยชน์ซ่อนอยู่มากมาย ได้แก่
4 ท่าทางในการออกกำลังกาย
Tip : แนะให้การก้าวเท้าของคนถนัดขวาให้ก้าวเท้าซ้ายก่อน ส่วนคนที่ถนัดซ้ายให้ก้าวเท้าขวาก่อน ฝึกทำวันละ 3-4 ท่า ทำซ้ำท่าละ 10 รอบ
ทฤษฏีตาราง 9 ช่อง เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถฝึกฝนกันง่าย ๆ ได้ที่บ้าน โดยเฉพาะผู้สูงอายุเพราะมีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีกมากมาย และสามารถเรียนรู้การออกกำลังกายด้วยวิธีเจ๋ง ๆ เหล่านี้ได้ทางรายการ ข.ขยับ Family ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา18:40 น. << (คลิป)
อ้างอิงจาก : Thekommon, Ta-lang-kao-chong