ทุกครั้งที่เราขับรถเข้าไปเติมน้ำมันมักจะมองเห็นป้ายราคาน้ำมันขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่หน้าปั๊ม หรือแม้แต่เวลาที่เราขับผ่านและพบว่า น้ำมันที่เติมอยู่ทุกครั้งถูกปรับเปลี่ยนราคาอีกแล้ว !! สาเหตุมาจากหลายปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันทั้งในไทย และต่างประเทศจึงมีราคาที่แตกต่างกันไป
💸ปัจจัยที่ทำให้น้ำมันถูก หรือ แพง
ปัจจัยที่ทำให้น้ำมันถูกหรือแพง ส่วนหนึ่งมาจากการเกิดความไม่สงบในคู่สงครามกับประเทศที่เขาสามารถส่งออก หรือเป็นแหล่งผลิตน้ำมันที่สำคัญของโลก จะเห็นได้จากตัวอย่างของการเกิดสงครามยูเครน และรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก และหลายประเทศไม่พอใจ จึงเกิดการคว่ำบาตรกับชาติยักษ์ใหญ่อย่างรัสเซีย ทำให้เกิดอุปสรรคในการขนส่ง ปริมาณน้ำมันเข้าสู่ตลาดโลกลดลง และส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอีกด้วย
ประเทศผู้ผลิตน้ำมันมารวมตัวเป็นกลุ่มโอเปก (OPEC : Organization of the Petroleum Exporting Countries) โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าจะต้องช่วยกันรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันไม่ให้ถูก หรือ แพงจนเกินไป
เมื่อมีการทำธุรกิจ สิ่งที่ตามมาคือความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการผลักราคาน้ำมันที่สูงขึ้นตามมาด้วย เช่นเดียวกับความต้องการใช้น้ำมันในแต่ละฤดูกาลที่ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่นฤดูหนาวในหลายประเทศ ที่ผู้คนต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอุปกรณ์สร้างความอบอุ่นให้แก่ตนเอง น้ำมันในช่วงฤดูหนาวจึงมีราคาแพงกว่าในฤดูร้อนนั่นเอง
หากว่าโรงกลั่นแต่ละแห่งได้ซื้อน้ำมันดิบเตรียมไว้ในปริมาณที่มากเพียงพอแล้ว โรงกลั่นจะหยุดซื้อน้ำมันดิบไปในช่วงเวลาหนึ่ง ในขณะเดียวกันปริมาณความต้องการในตลาดโลกจะลดน้อยลง จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันลดลงได้เช่นกัน
สภาพอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติต่อประเทศที่สำคัญในการผลิตหรือส่งออก ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์พายุเฮอริเคนในสหรัฐอเมริกา ทำให้กำลังการผลิตทั่วโลกลดลงเป็นระยะ ๆ และหากว่าเกิดความรุนแรงกระทั่งแผ่นดินไหว ทำให้แหล่งผลิต หรือท่อส่งน้ำมันพังเสียหาย ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันที่ต้องส่งเข้าตลาดโลกลดลงกว่าเดิม จึงทำให้ราคาน้ำมันมีการผันผวนทั่วโลกอีกด้วย
เพื่อป้องกันโควิด-19 ทำให้หลายพื้นที่ต้องปิดประเทศ ผู้คนไม่สามารถเดินทางได้ และเมื่อความต้องการใช้ลดลง ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวถูกลงนั่นเอง
เพราะว่าน้ำมันในตลาดโลก ซื้อขายกันด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หากว่าค่าเงินมีการเปลี่ยนแปลง ต้นทุนในการซื้อน้ำมันจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
รัฐบาลในหลายประเทศ มีนโยบายในการอุดหนุนราคาน้ำมัน เพื่อให้ราคาน้ำมันถูกลง แต่ถ้าหากว่าไม่มีนโยบายนี้ และนำเงินไปพัฒนาอย่างอื่นแทน ราคาน้ำมันอาจจะพุ่งสูงขึ้น เมื่อเทียบกันในหลายประเทศ เพราะฉะนั้นราคาน้ำมันขายแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับรูปแบบของนโยบายในแต่ประเทศนั้น ๆ ด้วย
แต่สำหรับในประเทศไทย ราคาน้ำมันอาจไม่ลดลงตามราคาตลาดโลก จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้บอกว่า ประเทศไทยไม่สามารถปรับลดราคาน้ำมันขายปลีกลงได้ เนื่องจากยังคงต้องอุดหนุนเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดลบกว่าแสนล้านบาท
⛽เปิดโครงสร้างราคาน้ำมันในไทย
ถึงแม้ว่าประเทศไทยมีแหล่งน้ำมันดิบที่สามารถขุดเจาะและกลั่นเองได้ แต่คุณสมบัติของน้ำมันที่ได้อาจมีคุณภาพที่ไม่ดีพอ และไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในชีวิตประจำวัน และอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงต้องนำเข้าน้ำมันเพื่อให้สมดุลกับความต้องการใช้งานภายในประเทศ ไปดูกันว่าต้นทุนการผลิตน้ำมันแต่ลิตรต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
กว่าจะเป็นราคาน้ำมันที่เราเห็นตามป้ายหน้าปั๊มได้นั้นต้องผ่านกระบวนการนำเอาน้ำมันดิบไปเข้าโรงกลั่น จนได้เป็นน้ำมันสำเร็จรูป และมีเรื่องของการจัดเก็บภาษีต่าง ๆ รวมทั้งหมดอยู่ 8 องค์ประกอบ เริ่มจาก...
📍สรุปได้ว่า ราคาน้ำมันที่เราต้องจ่ายในทุกวันนี้ ถูกแบ่งเป็นต้นทุนการผลิตน้ำมันหน้าโรงกลั่น ประมาณ 40-60 % และเสียภาษีต่าง ๆ ให้กับรัฐบาลประมาณ 30-40 % จ่ายเงินเข้ากองทุนอีกประมาณ 5-20 % รวมถึงค่าการตลาดให้กับเจ้าของปั๊มน้ำมันอีกประมาณ 10-18 % ของราคาน้ำมัน
และหลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าทำไมราคาน้ำมันในประเทศเพื่อนบ้าน หรือกลุ่มประเทศอาเซียนถึงมีราคาขายที่แตกต่างกัน ตามที่กระทรวงพลังงาน ได้เผยข้อมูลถึงปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันกล่าวว่า
แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุน หรือการอุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน ซึ่งในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่ และประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์นั้นถูกกว่าเบนซิน
สถิติราคาน้ำมันแพงสุด VS ถูกสุด
ในปี พ.ศ. 2551 ราคาน้ำมันแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ อยู่ที่ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (หากคิดเป็นค่าเงินบาทในปัจจุบันราคาน้ำมันอยู่ที่ประมาณ 5,249 บาทต่อ 159 ลิตร) โดยเหตุการณ์ที่ทำให้ราคาน้ำแพงหูฉี่ เกิดจากคู่สงครามสหรัฐ และประเทศอิหร่าน ทำให้หลายประเทศเกิดการคว่ำบาตรอิหร่านซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันอันดับ 2 ของประเทศ OPEC จึงส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกค่อนข้างมาก
ช่วงเดือนเมษายน ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาไม่นาน ราคาน้ำมันถูกที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ จนติดลบอยู่ที่ -37.63 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (หากคิดเป็นค่าเงินบาทติดลบอยู่ที่ 1,344 บาท) สาเหตุมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้หลายพื้นที่จำเป็นต้องล็อกดาวน์ (Lockdown) ความต้องการใช้น้ำมันลดลงตามไปด้วย จึงเป็นสาเหตุให้ราคาน้ำมันดิ่งลงจนติดลบในที่สุด
ปัจจุบันประเทศไทยยังคงต้องนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่น ๆ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน โดยประเทศที่เป็นแหล่งผลิตน้ำมันที่สำคัญของโลก จะมีประเทศไหนบ้างไปดูกันเลย
🏗5 ประเทศที่ผลิตน้ำมันได้มากที่สุด
ทริกการคำนวณราคาน้ำมัน !
เพื่อการคำนวณน้ำมันล่วงหน้า หากทุกคนได้เห็นข่าวเศรษฐกิจว่าจะมีการปรับราคาน้ำมันในตลาดโลกขึ้น ทุกครั้งที่ราคาน้ำมันขึ้น 1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นั่นมีความหมายว่า ราคาหน้าหัวจ่ายจะปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20 สตางค์ต่อลิตรนั่นเอง
ทุกคนพอเข้าใจกันแล้วใช่ไหมว่าปัจจัยอะไรทำให้ราคาน้ำมันขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่คงที่ บางวันราคาพุ่งสูงขึ้น บางวันราคาปรับตัวต่ำลง และในฐานะผู้บริโภคที่จำเป็นต้องใช้รถอย่างเรา ๆ ควรมีการวางแผนในการเดินทาง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงได้ช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย
อ้างอิงจาก กระทรวงพลังงาน, Springnews, Longtunman, Bangkokbiznews