ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
PRIDE MONTH : ทำไมความรักถูกกำหนดไว้แค่ชายและหญิง
แชร์
ชอบ
PRIDE MONTH : ทำไมความรักถูกกำหนดไว้แค่ชายและหญิง
17 มิ.ย. 65 • 09.00 น. | 759 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

ทำไมความรักถูกกำหนดไว้แค่ชายและหญิง

         เมื่อพูดถึงความรักที่เป็นไปตามบรรทัดฐาน ที่กำหนดไว้ต้องเป็นเพศพญิงและเพศชายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงมีกลุ่มคนผู้คนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือที่เราเรียกว่า LGBTIQN+ มีอยู่มากมายในปัจจุบัน ซึ่งยังไม่เป็นที่ยอมรับแบบถูกกฎหมาย โดยเฉพาะในเรื่องของการแต่งงาน การจดทะเบียนสมรส วันนี้ ALTV จะมาช่วยอธิบายถึงเหตุผลที่ทำให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ มีพื้นที่การแสดงออกที่ไม่เท่าเทียมกับคนอื่น ๆ

🌈กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQN+)

มาทำความรู้จักกับความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ ที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศนั้นยอมรับได้ และใช้นิยามแทนความเป็นตัวตนของตัวเอง 

👉เลสเบี้ยน (Lesbian) = ผู้หญิงที่มีรสนิยมทางเพศชื่นชอบผู้หญิง

👉เกย์ (Gay) = ผู้ชายที่มีรสนิยมทางเพศชื่นชอบผู้ชาย

👉ไบเช็กชวล (Bisexual) = คนที่มีรสนิยมทางเพศ ชื่นชอบได้ทั้ง 2 เพศไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย หรือผู้หญิง

👉ทรานสเจนเดอร์ (Transgender) = บุคคลที่ข้ามเพศจากเพศกำเนิดของตนเอง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม Transwoman คือผู้หญิงข้ามเพศ ที่ได้รับการแปลงเพศมาเป็นชายแล้วเรียบร้อยและ Transman คือชายข้ามเพศที่ได้รับการแปลงเพศมาจากหญิงมาแล้วเช่นกัน

👉เพศกำกวม (Intersex) = คนที่มีสรีระทางเพศ หรือรูปแบบโครโมโซมที่ไม่ตรงกับลักษณะของชายหรือหญิง หรืออาจมีลักษณะของทั้งชายและหญิง

👉เควียร์ (Queer) = คนที่มองว่าอัตลักษณ์และรสนิยมทางเพศของตนไม่มีกรอบ

👉นอนไบนารี (Non-Binary) = คนที่ไม่ระบุอัตลักษณ์ และรสนิยมทางเพศอยู่ในกรอบของคำว่าหญิงและชายเท่านั้น

         ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยโบราณ ความหลากหลายทางเพศมักถูกมองว่าเป็นเรื่องผิดปกติทั้งเชิงทางแพทย์และจิตวิทยา เชิงสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงมุมมองของหลายศาสนา เช่นเดียวกับความผิดทางกฎหมายก็ไม่เว้น ไม่ว่าจะสังคมตะวันตก และตะวันออก ล้วนปิดกั้นการแสดงออกของผู้คนที่มีความหลากหลายทางเพศเช่นกัน

ทำไมคนไทยในเพศเดียวกันถึงสมรสกันไม่ได้ ?

สังคมในส่วนใหญ่เต็มไปด้วยคนที่มีเพศสภาพที่หลากหลาย มีคู่ชีวิตในเพศเดียวกัน รวมถึงการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว และความฝันอันสูงสุดคือต้องการความคุ้มครอง และมีตัวตนอยู่ในสังคมเหมือนคนทั่วไป ในขณะเดียวกันบทบัญญัติแห่งกฎหมายไทยก็ยังไม่ได้มีการรับรองให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามขั้นตอนได้ เพราะเหตุผลดังต่อไปนี้

  • ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 1448 ได้บัญญัติไว้ว่า
“การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิง มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์”
  • ถึงแม้จะมีการแปลงเพศมาแล้ว ก็ไม่สามารถสมรสได้ เพราะกฎหมายยึดตามเพศโดยกำเนิด เว้นแต่เพศกำเนิดของทั้งสองนั้นเป็นเพศชายและเพศหญิง
  • ที่ผ่านมาสังคมไทยมีกลุ่มต่อต้านอนุรักษ์นิยมจำนวนมาก และในบางกลุ่มยังไม่เปิดรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เพศเดียวกันไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้

ประเทศไทยในปัจจุบันนี้แม้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือกลุ่มรักเพศเดียวกัน มีเจตนาที่จะอยู่กินร่วมกันฉันท์สามีภรรยา ก็ไม่สามารถแต่งงาน หรือจดทะเบียนสมรสเพื่อให้มีที่ยืนในสังคมไทยได้อย่างเท่าเทียม

อย่างไรก็ตามความเชื่อเก่า ๆ หรือความรู้สึกแง่ลบกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ส่วนใหญ่เปลี่ยนไปแล้วในหลายประเทศทั่วโลก ไปดูกันว่าบนโลกนี้ มีประเทศไหนบ้างที่รับรองสถานภาพตามกฎหมายในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งการสมรสกับคนรักในเพศเดียวกัน

5 ประเทศแรกบนโลก เพศเดียวกันสมรสกันได้

1.เนเธอร์แลนด์ ปี 2544

ดินแดนกังหันลม เป็นประเทศแรกในโลกที่สร้างประวัติศาสตร์ ออกกฎหมายรับรองให้เพศเดียวกันสามารถแต่งงาน สมรส และหย่ากันได้ รวมถึงการมอบสิทธิ์ให้รับเลี้ยงบุตรบุญธรรมได้อีกด้วย

2.เบลเยียม ปี 2546

เริ่มต้นจากคู่แต่งงานของคนรักเพศเดียวกันในเบลเยี่ยม ชนะคดีเรียกร้องสิทธิในการแต่งงานโดยชอบธรรม ทำให้รัฐบาลออกกฎหมายให้คนรักเพศเดียวกัน มีการจดทะเบียนเป็นคู่ชีวิต (Registered partnerships) และสามารถรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมได้

3.แคนาดา ปี 2548

เป็นประเทศที่สามในโลกที่ผ่านการร่างกฎหมายรับรองการสมรสของบุคคลเพศเดียวกันทั่วประเทศ หลังจากเริ่มมีการรับรองในระดับจังหวัดอื่น ๆ มาแล้ว โดยเป็นการให้สิทธิกับเกย์ (Gay) และเลสเบี้ยน (Lesbian) ที่สามารถแต่งงานกันได้ จนกฎหมายนี้ได้ครอบคลุมทั้งประเทศแคนาดา เพื่อรับรองและให้สิทธิแก่ทุกคู่สมรสของเพศเดียวกันในเวลาต่อมา

4.แอฟริกาใต้ ปี 2549

เป็นชาติแรกในทวีปอเมริกาที่มีกฎหมายอนุญาตให้เพศเดียวกันแต่งงานกันได้ โดยคู่รักเพศเดียวกันในคู่แรกที่แต่งงานกันภายใต้กฎหมายฉบับนี้คือ เว่อร์น่อน กิบส์ และ โทนี่ ฮอลล์ แต่อย่างไรก็ถามกฎหมายฉบับนี้ก็ยังขัดต่อกลุ่มคนที่เคร่งครัดทางศาสนาในบางกลุ่ม และถูกคัดค้านจากพรรคการเมืองด้วยเช่นกัน

5.นอร์เวย์ ปี 2551

มีการผ่านกฎหมายสมรสโดยเสรีระหว่างคู่รักเพศเดียวกัน และรับรองสิทธิในการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม และยังอนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันที่เป็นผู้หญิงสามารถเข้ารับการผสมเทียม เพื่อทำเด็กหลอดแก้วได้ตามกฎหมาย

สำหรับในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้มีหลายหน่วยงานที่ช่วยพยายามผลักดันให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตขึ้น โดย ค.ร.ม. อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสมารถจดทะเบียนสมรสได้ เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นธรรม เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติและสามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี แต่ดูเหมือนว่าจะมีหลายกลุ่มที่ออกมาโต้แย้งถึงการให้สิทธิระหว่างร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต และ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม และเพื่อให้เห็นข้อแตกต่างของร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับนี้ ที่ดูเหมือนจะมีความใกล้เคียง แต่จริง ๆ แล้ว สิทธิหลายอย่างก็ยังไม่เทียบเท่ากันอยู่ดี

ในตอนนี้แม้จะมีการผลักดันของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ออกมาร่วมแสดงความเห็น ร่วมเชียร์ให้มี พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กว่า 350,000 คน และมากกว่านั้น คือการมีสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งที่จะสามารถสร้างครอบครัวได้โดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ จึงทำให้ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ถูกผลักดันในสังคมไทยมากกว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่มีข้อจำกัดในสิทธิและสวัสดิการหลายอย่าง ซึ่งอาจไม่ได้เรียกว่าครอบครัวอย่างแท้จริง ไปกันดูกันว่าทั้ง 2 พ.ร.บ. นี้จะให้สิทธิอะไรกับกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTIQN+ ให้เท่าเทียมกับคู่รักตามเพศสภาพ

พ.ร.บ.คู่ชีวิต

มีการผลักดันโดยกรมคุ้มครองสิทธิ์ กระทรวงยุติธรรม บัญญัติกฎหมายใหม่ขึ้นมา และนิยามคำเรียกคู่รักเพศเดียวกันว่า “คู่ชีวิต” ที่สามารถจดทะเบียนร่วมกันได้ แต่จะมีสิทธิและสวัสดิการบางอย่างที่อาจไม่ได้รับเหมือนกับ “คู่สมรส” และยังไม่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอีกด้วย เช่น การอุ้มบุญ การหมั้น สิทธิลดหย่อนภาษี สิทธิประกันสังคม เป็นต้น

👉พ.ร.บ.คู่ชีวิต ให้สิทธิ์

✅คู่ชีวิตมีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน

✅มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในคดีอาญาเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา

✅สิทธิรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน

✅สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม

✅สิทธิและหน้าที่ในการเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ หากอีกฝ่ายเป็นคนไร้ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

✅สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย

✅สิทธิจัดการศพ

พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม

เป็นร่างข้อกฎหมายที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้ เป็นแนวทางที่ตรงจุดมากกว่า ในเรื่องของความเสมอภาค ทุกคู่รักควรมีสิทธิและถูกปฏิบัติอย่างเสมอภาพกันอย่างแท้จริง และให้คู่รักทุกเพศ ใช้คำนิยามภายใต้คำว่า “คู่สมรส” ที่มีสิทธิและสวัสดิการเท่ากัน ไม่แบ่งแยก

👉พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ให้สิทธิ์

✅ให้คู่รักต่างเพศ คู่รักเพศเดียวกัน และคู่รักเพศหลากหลาย สามารถจดทะเบียนสมรสได้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448

✅สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้ และเมื่อนายทะเบียนได้บันทึกความยินยอมแล้ว ให้ทั้งสองได้เป็น คู่สมรส ที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1448

✅เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว ให้ทั้งสองอยู่กินด้วยกันเป็นคู่สมรส

✅ให้คู่สมรสสามารถรับผู้เยาว์มาเป็นบุตรบุญธรรมได้ และให้เป็นบุพการีที่ชอบด้วยกฎหมาย

✅ให้คู่สมรสทั้ง 2 ทำหน้าที่ตามสิทธิของบิดา มารดา บุพการี และบุตร

✅ให้คู่สมรส มีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ เช่นเดียวกับคู่สมรสชายและหญิง ถือเป็นทั้ง สามีภรรยา บิดามารดา หรือบุพการี ด้วยเช่นกัน 

เนื่องในเดือนมิถุนายนนี้ เป็นเดือนแห่ง Pride Month ที่เต็มไปด้วยความรักสีรุ้งของเหล่า LGBTIQ+ ที่ออกมาร่วมแสดงพลังต่อการสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ และเป็นสิทธิพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับอย่างถ้วนหน้า และเชื่อว่าสังคมไทยพร้อมที่จะโอบรับความรักที่สวยงามของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศทุกคน


อ้างอิงจาก The Visual Thai PBS, Thansettakij, Plus.thairath. Human.msu.ac.th, PPTVHD36

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#LGBTQ, 
#พ.ร.บ.คู่ชีวิต, 
#พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม, 
#ค.ร.ม., 
#PrideMonth, 
#ความแตกต่างของพ.ร.บ.คู่ชีวิตและพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม, 
#พ.ร.บ.คู่ชีวิตให้สิทธิ์, 
#พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมให้สิทธิ์, 
#ประเทศแรกบนโลก, 
#เพศเดียวกันสมรสกันได้, 
#เพศสภาพ, 
#ความรัก, 
#ความรักสีรุ้ง, 
#Lesbian, 
#Gay, 
#Bisexual, 
#Transgender, 
#Queer, 
#Intersex, 
#Non-Binary, 
#LGBTIQN+, 
#เนเธอร์แลนด์, 
#เบลเยี่ยม, 
#แคนาดา, 
#แอฟริกาใต้, 
#นอร์เวย์, 
#คู่สมรส, 
#คู้ชีวิต, 
#สิทธิและสวัสดิการ, 
#มาตรา1448, 
#อัตลักษณ์ทางเพศ, 
#ความหลากหลายทางเพศ, 
#เกย์, 
#เลสเบี้ยน, 
#ไบเซ็กชวล, 
#ทรานเจนเดอร์, 
#เควียร์, 
#อินเทอเซ็กซ์, 
#นอนไบนารี่, 
#ความรักในเพศเดียวกัน, 
#ชายและชาย, 
#หญิงรักหญิง, 
#ALTVช่อง4ทีวีเรียนสนุก, 
#ALTV, 
#ThaiPBS, 
#ทำไมเพศเดียวกันแต่งงานกันไม่ได้, 
#เหตุผลที่คนรักเพศเดียวันแต่งงานกันไม่ได้, 
#ทำไมความรักต้องมีแค่ชายและหญิง 
ALTV CI
LearnMore
LearnMore
ALTV All Around
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#LGBTQ, 
#พ.ร.บ.คู่ชีวิต, 
#พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม, 
#ค.ร.ม., 
#PrideMonth, 
#ความแตกต่างของพ.ร.บ.คู่ชีวิตและพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม, 
#พ.ร.บ.คู่ชีวิตให้สิทธิ์, 
#พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมให้สิทธิ์, 
#ประเทศแรกบนโลก, 
#เพศเดียวกันสมรสกันได้, 
#เพศสภาพ, 
#ความรัก, 
#ความรักสีรุ้ง, 
#Lesbian, 
#Gay, 
#Bisexual, 
#Transgender, 
#Queer, 
#Intersex, 
#Non-Binary, 
#LGBTIQN+, 
#เนเธอร์แลนด์, 
#เบลเยี่ยม, 
#แคนาดา, 
#แอฟริกาใต้, 
#นอร์เวย์, 
#คู่สมรส, 
#คู้ชีวิต, 
#สิทธิและสวัสดิการ, 
#มาตรา1448, 
#อัตลักษณ์ทางเพศ, 
#ความหลากหลายทางเพศ, 
#เกย์, 
#เลสเบี้ยน, 
#ไบเซ็กชวล, 
#ทรานเจนเดอร์, 
#เควียร์, 
#อินเทอเซ็กซ์, 
#นอนไบนารี่, 
#ความรักในเพศเดียวกัน, 
#ชายและชาย, 
#หญิงรักหญิง, 
#ALTVช่อง4ทีวีเรียนสนุก, 
#ALTV, 
#ThaiPBS, 
#ทำไมเพศเดียวกันแต่งงานกันไม่ได้, 
#เหตุผลที่คนรักเพศเดียวันแต่งงานกันไม่ได้, 
#ทำไมความรักต้องมีแค่ชายและหญิง 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา