ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
Learn Small: วิชาภาษาไทย "สำนวนไทยที่มีความหมายคล้ายกัน"
แชร์
ชอบ
Learn Small: วิชาภาษาไทย "สำนวนไทยที่มีความหมายคล้ายกัน"
08 ต.ค. 65 • 12.00 น. | 10,052 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

สำนวนสุภาษิตปะปนอยู่ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นการพูด อ่าน เขียน เพราะฉะนั้นการทำความเข้าใจความหมายของสำนวนต่าง ๆ จะช่วยให้เราสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเข้าใจเจตนาของคู่สนทนามากขึ้น

สำนวนไทย คืออะไร 

สำนวนไทย คือถ้อยคำเชิงเปรียบเปรยที่ถูกเรียบเรียงให้สั้น กระชับ สละสลวย เพื่อใช้เป็นข้อคิดหรือคติสอนใจ มีความหมายไม่ตรงไปตรงมาต้องอาศัยการตีความเพื่อให้เข้าใจถึงนัยยะที่แฝงอยู่ สำนวนไทยยังสามารถยังสามารถแบ่งแยกย่อยได้เป็น "สุภาษิต" และ "คำพังเพย" โดยมีจุดมุ่งหมายในเชิงสั่งสอน เสียดสี หรือติชม

สำนวนไทยเกิดจากอะไรบ้าง ? 

  • ธรรมชาติ เช่น ฝนตกไม่ทั่วฟ้า, คลื่นกระทบฝั่ง
  • การกระทำและวิถีชีวิต เช่น บ้านเมืองมีขื่อมีแป, ปิดทองหลังพระ
  • ประเพณีและวัฒนธรรม เช่น เข้าตามตรอกออกตามประตู
  • ศาสนา เช่น ตักบาตรถามพระ 
  • เรื่องเล่า นิทาน ตำนาน เช่น กบเลือกนาย, กระต่ายหมายจันทร์ 
  • การละเล่นหรือการแข่งขัน เช่น ไก่รองบ่อน 

สำนวนไทยที่ ‘ความหมายคล้ายกัน’ 

ในบรรดาสำนวนไทย อาจมีบางกลุ่มที่มีความหมายคล้ายกัน ซึ่งทำให้หลายคนอาจสับสนและเลือกใช้ไม่ถูกต้อง

หมวดที่ 1 :ได้ของมีค่ามา แต่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้น 

  • ไก่ได้พลอย 
  • วานรได้แก้ว 

ขยายความ: สำนวนในหมวดนี้ เราใช้เปรียบเทียบถึงคนที่มีของดีใกล้ตัว เช่น มีคนรักที่ดี มีโอกาสในหน้าที่การงานดี แต่กลับปล่อยปะละเลยให้หลุดมือไป แทนที่จะเก็บรักษาเพื่อประโยชน์ต่อตัวเอง

หมวดที่ 2 :ได้ของที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง 

  • หัวล้านได้หวี 
  • นิ้วด้วนได้แหวน 
  • ตาบอดได้แว่น 

ขยายความ: สำนวนในหมวดนี้ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ได้สิ่งที่ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองตัวเอง หรือได้บางสิ่งไปแต่นำไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แม้ว่าสิ่งของเหล่านั้นจะคุณค่าแค่ไหนท้ายที่สุดก็ไม่มีค่า เหมือนคนที่ “ตาบอดได้แว่น” ที่แม้จะสวมใส่แว่นก็ไม่ได้ทำให้เขามองเห็น 

หมวดที่ 3 :โต้ตอบหรือลดตัวไปยุ่งกับคนพาล

  • เอาทองไปรู่กระเบื้อง  
  • เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ 
  • เอาเนื้อไปแลกหนัง

ขยายความ: สำนวนหมวดนี้ใช้เป็นคติสอนใจว่าไม่ควรเสียเวลาลดตัวลงไปทะเลาะ ต่อล้อต่อเถียงกับคนไม่ดี เพราะท้ายที่สุดมีแต่ตัวเราที่เสียศักดิ์ศรี เสียเวลา เหมือนกับการนำพิมเสนที่มีค่าไปแลกกับเกลือที่มีค่าน้อยกว่า

หมวดที่ 4 :คัดค้านผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีอำนาจมากกว่า

  • เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง 
  • เอาเนื้อสู้เสือ 

ขยายความ: สำนวนในหมวดนี้ใช้เปรียบเทียบถึงการคิดเอาชนะผู้มีฐานะสูงกว่า หรือ ผู้มีอำนาจมากกว่า ซึ่งมักพยเจอกับความล้มเหลว และส่งผลร้ายต่อตัวเอง 

หมวดที่ 5 :หาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว

  • หาเหาใส่หัว 
  • แกว่งเท้าเสี้ยน 

ขยายความ: นิยมใช้เปรียบเทียบถึงคนที่มักหาเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องใส่ตัว ทำทุกอย่างทั้งที่ไม่ใช่ธุระของตนเอง จนทำให้ตัวเองวุ่นวาย เดือดร้อน

หมวดที่ 6 :สอนในสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว

  • สอนหนังสือสังฆราช 
  • เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน 
  • สอนจระเข้ว่ายน้ำ  

ขยายความ: สำนวนในหมวดนี้ใช้เปรียบเทียบถึงคนที่ชอบสั่งสอน อวดรู้ หรือการแสดงความคิดเห็นโดยไร้ทักษะความรู้และประสบการณ์ โดยปราศจากการรับฟังจากผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี

หมวดที่ 7 :ทำสิ่งที่เกินกำลังความสามารถของตัวเอง

  • เข็นครกขึ้นภูเขา 
  • งมเข็มในมหาสมุทร 
  • เกี่ยวแฝกมุงป่า 

ขยายความ: นิยมใช้ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ทำอะไรโดยไม่ประเมินกำลังของตนว่าจะทำได้สำเร็จหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่กำลังจะทำนั้นเกินกำลังของตนที่จะทำได้และสุดท้ายแล้วไม่มีทางประสบความสำเร็จได้เลย

 

 

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่่งของสำนวนไทยที่เรานำมาฝากเท่านั้น สามารถรับชมสาระเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้สำนวนให้ถูกต้อง ได้ที่รายการ ห้องเรียนติวเข้ม ตอน A-Level ภาษาไทย : การใช้สำนวนให้ถูกต้องตามความหมาย

 

 



แท็กที่เกี่ยวข้อง
#สำนวนไทย, 
#สุภาษิตและคำพังเพย, 
#ภาษาไทย, 
#A-Level, 
#หลักภาษาไทย, 
#ข้อสอบภาษาไทย, 
#TCAS66, 
#ติวเข้มม.ปลาย, 
#สอบเข้า 
ALTV CI
LearnMore
LearnMore
ALTV All Around
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#สำนวนไทย, 
#สุภาษิตและคำพังเพย, 
#ภาษาไทย, 
#A-Level, 
#หลักภาษาไทย, 
#ข้อสอบภาษาไทย, 
#TCAS66, 
#ติวเข้มม.ปลาย, 
#สอบเข้า 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา