ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
Learn small: ภาษาอังกฤษ A-level Writing เทคนิคการทำ Paragraph Organization
แชร์
ชอบ
Learn small: ภาษาอังกฤษ A-level Writing เทคนิคการทำ Paragraph Organization
15 พ.ย. 65 • 06.00 น. | 18,110 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

การทำข้อสอบ Paragraph Organization ในส่วนของ Writing Skill จะว่าง่ายก็ง่าย แต่หากไม่รู้เทคนิคก็ถือว่ายากและใช้เวลาพอสมควร โดยโจทย์ที่พบบ่อยจะเป็นการเรียงประโยคและเติมเต็ม paragraph นั้นให้สมบูรณ์อย่างเป็นเหตุเป็นผล ดังนั้น การรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องมีกลเม็ดเด็ดในการอ่านจับใจความสำคัญของเรื่องด้วย ซึ่งจะมีเทคนิคอะไรบ้าง มาดูกันเลย

📖Paragraph คืออะไร ?

paragraph คือ กลุ่มของประโยคที่เขียนขึ้นภายใต้หัวเรื่องเดียวกัน (Single Topic) โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

1) topic sentence: main idea หรือใจความสำคัญของ paragraph นั้น

2) supporting sentence: ประโยคที่ช่วยขยายความ main idea ประโยคที่เป็นการการยกตัวอย่าง การแจกแจงรายละเอียด

3) concluding sentence: ประโยคสรุปหรือประโยคเชื่อมโยงไปยังย่อหน้าถัดไป โดยจะเป็นการปิดจบ main idea นั้น ๆ

 

เทคนิคสุดเวิร์ค การทำ paragraph organization

ถ้าหา main idea เจอและแยก supporting ideas ของเรื่องได้ เราก็จะเห็น โครงสร้างของ paragraph ชัดเจนมากขึ้น

 

➡️พยายามหา topic sentence หรือ main idea ให้เจอ ส่วนใหญ่มักซ่อนอยู่ใน “ประโยคแรก” ของ paragraph (ความจริงแล้ว main idea จะอยู่ตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนท้ายของ paragraph ก็ได้)

ลักษณะของประโยคแรก

  • ต้องไม่ขึ้นต้นด้วย คำสรรพนาม เช่น he, she, it, they
  • ต้องไม่ขึ้นต้นด้วย คำเชื่อม เช่น but, and, then

💡จำให้แม่น💡 main idea เป็นส่วนที่่สำคัญที่สุด ครอบคลุมเนื้อหาในพารากราฟ และมีแค่ประโยคเดียวเท่านั้น

 

➡️ หา supporting ideas และ supporting details ที่ทำหน้าที่ขยายรายละเอียดของ main idea ให้เข้าใจง่ายขึ้น

➡️1 พารากราฟ ต้องพูดแค่เรื่องเดียว (ไม่ออกนอกเรื่อง) เช่น พูดถึง "ประโยชน์ของไข่ไก่" ก็ต้องพูดถึงเรื่องนี้เรื่องเดียว ไม่ควรมีเรื่องแม่ไก่ หรือการทำฟาร์มไก่มาอยู่ในพารากราฟ

➡️สังเกต conjunctions/ transition words/ pronouns คำศัพท์ที่ช่วยลำดับเนื้อหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล 💡มี “เหตุ” ก็ต้องมี “ผล” ตามมา💡

 

Conjunctions คือ คำสันธาน หรือคำที่ใช้เชื่อม “คำกับคำ” หรือ “ประโยคกับประโยค” เข้าด้วยกันเพื่อให้ประโยคสละสลวยมากขึ้น

💡เทคนิคช่วยจำ คือคำว่า “fanboys”

f = for สำหรับ, เพื่อ

a = and และ

n = nor ไม่ทั้งสองอย่าง

b = but แต่

b = or (หรือ) ใช้เชื่อมประโยคที่แสดงทางเลือก

y = yet (แต่) ใช้เชื่อมประโยคที่ขัดแย้งกัน

s = so (ดังนั้น) ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุผลเป็นผลกัน

 

Transition words คือ คำหรือวลีที่ใช้เชื่อมส่วนต่าง ๆ ของบทความ เช่น ระหว่างประโยคหนึ่งไปอีกประโยคหนึ่ง หรือจากย่อหน้าหนึ่งไปยังอีกย่อหน้าหนึ่ง ช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงกันมากขึ้น 

 

💡กลุ่มคำเชื่อม transition words ที่แบ่งตามความหมาย

เพิ่มเติม

and then = แล้วก็

again = อีก

besides, furthermore, in addition, moreover = นอกเหนือจากนี้, ยิ่งไปกว่านั้น

equally important = สำคัญไม่แพ้กัน

🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸

 

เปรียบเทียบ (บอกความแตกต่าง)

on the other hand, in contrast = ในทางกลับกัน, ในทางตรงกันข้าม

however, yet, nevertheless, nonetheless = อย่างไรก็ตาม, แต่ถึงอย่างไร, แต่กระนั้น

at the same time, meanwhile = ในเวลาเดียวกัน, ในขณะเดียวกัน

similar to = คล้ายกับ, ราวกับ

just as = เช่นเดียวกับ

although = แม้ว่า

🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸

บอกลำดับ

first, second, third = ขั้นตอนที่ 1 2 3

and so forth = และอื่น ๆ ต่อไป

next = ต่อจากนั้น

then = แล้วก็, อีกประการหนึ่ง

at this time = ในตอนนี้

now = ตอนนี้, บัดนี้

simultaneously = พร้อมกัน

after = หลังจาก, ภายหลัง

previously = ก่อนหน้านี้

finally = ในที่สุด, ในตอนท้าย

🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸

เพื่อเน้นย้ำ

extremely = อย่างยิ่ง

obviously = อย่างชัดเจน

certainly, absolutely = อย่างแน่นอน

in fact = ในความเป็นจริง

indeed = โดยแท้จริง

in any case = ไม่ว่ากรณีใด ๆ

🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸

เพื่อสรุป

so, therefore, hence, thus, = ดังนั้น

as a result = ด้วยเหตุนั้น, ดังนั้น

consequently = จึงเป็นเหตุ

accordingly = ตามนั้น

in brief = โดยสังเขป

 

Pronoun คือ คำสรรพนาม ใช้แทนคำนาม คน สัตว์ สิ่งของ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำนามซ้ำซาก ใช้แทนสิ่งที่ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร และให้ประโยคกระชับ เข้าใจง่าย 

Pronoun มี 8 ประเภท ดังนี้

  • Personal (บุรุษสรรพนาม) เช่น I, you, we, they, he, she, it
  • Possessive (สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ) เช่น mine, yours, ours, theirs, his, hers, its
  • Reflexive (สรรพนามเน้นตนเอง) เติม -self/ -selves ลงท้าย เช่น myself, yourself, ourselves, themselves
  • Definite (สรรพนามเจาะจง) เช่น this, that, these, those, one, such, the same
  • Indefinite (สรรพนามไม่เจาะจง) เช่น all, everybody, nobody, some, any, many, everything, either, few
  • Interrogative (สรรพนามคำถาม) เช่น who, which, what, whom, whose
  • Relative (สรรพนามเชื่อมความ) เช่น who, whom, whose, which, that, where, when, why
  • Distributive (สรรพนามแจกแจง) เช่น each, either, neither
  • Reciprocal (คำสรรพนามแสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน) เช่น each other, one another

➡️ เมื่อหาประโยคแรกได้แล้ว ก็เริ่มตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่ออก จากนั้นก็มองภาพทุกอย่างให้เป็นจิ๊กซอว์ แล้วจึงเรียงลำดับประโยคให้สมเหตุสมผล สมมติประโยคแรกเป็น D ประโยคต่อไปก็จะเป็น supporting ideas > ประโยคสรุปจบ

 

สิ่งสำคัญของการทำข้อสอบ "Paragraph Organization" คือการฝึกทำโจทย์บ่อย ๆ จนชำนาญ จากนั้นทักษะต่าง ๆ และความมั่นใจก็จะตามมาเอง ติดตามสรุปเนื้อหา เคล็ดลับ และเทคนิคพิชิตคะแนนในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ใน "ห้องเรียนติวเข้ม ม.ปลาย TCAS66" (คลิก)

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#topicsentenceมีอะไรบ้าง, 
#ParagraphOrganizationคืออะไร, 
#สรุปสอบ, 
#ภาษาอังกฤษA-level, 
#การเขียนparagraphประกอบด้วยอะไรบ้าง, 
#การทำสอบ, 
#ParagraphOrganizationข้อสอบ, 
#ParagraphOrganizationเทคนิค 
ผู้เขียนบทความ
avatar
H. ARIGATO
หงส์ฟ้า
ทาสแมวผู้ Enjoy กับชีวิตเรียบง่าย มีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ
ALTV CI
LearnMore
LearnMore
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
H. ARIGATO
หงส์ฟ้า
ทาสแมวผู้ Enjoy กับชีวิตเรียบง่าย มีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#topicsentenceมีอะไรบ้าง, 
#ParagraphOrganizationคืออะไร, 
#สรุปสอบ, 
#ภาษาอังกฤษA-level, 
#การเขียนparagraphประกอบด้วยอะไรบ้าง, 
#การทำสอบ, 
#ParagraphOrganizationข้อสอบ, 
#ParagraphOrganizationเทคนิค 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา