ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
A Whale of A Tale – ชีวิตหรือวิถีชีวิต?
แชร์
ชอบ
A Whale of A Tale – ชีวิตหรือวิถีชีวิต?
29 พ.ย. 65 • 17.48 น. | 393 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

“เราควรจะให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลวาฬและโลมาอยู่อาศัยในมหาสมุทรอย่างสงบสุขหรือไม่?”

คน “ยุคนี้” รวมถึงตัวเราที่คุ้นเคยดีกับการรณรงค์เรื่องการดูแลธรรมชาติและพันธุ์สัตว์ทั้งหลายก็คงจะมีคำตอบในใจไม่ต่างกันนัก

หน่วยงานที่โฟกัสเรื่องการรักษ์โลกระดับสากลต่างก็ส่งเสียงไปในทิศทางเดียวกัน อย่างเช่น องค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่าโลโก้แพนด้าอย่าง WWF (World Wide Fund for Nature) หรือองค์กร Greenpeace ที่มุ่งเป้าไปที่การคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพและโดยพยายามลดผลกระทบต่อธรรมชาติที่เกิดจากมนุษย์ และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนับไม่ถ้วนต่างก็เคยยกเอาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นเด่น

ยังไม่รวมเรื่องความเชื่อด้านศาสนาปรัชญามากมายที่ยึดหลักความเมตตา การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไปจนวิธีคิดร่วมสมัยอีกหลายแนวที่ยึดถือวิถีชีวิตแบบลด ละ เลิกการเบียดเบียนชีวิตร่วมโลกเข้าไปอีก

เอาเป็นว่าน่าจะเห็นภาพตรงกันว่าคะแนนฝั่งอนุรักษ์วาฬน่าจะล้นหลาม

อย่างที่สะท้อนออกมาในสารดคีเรื่อง “The Cove” ที่ออกฉายเมื่อปี 2009

เดอะโคฟเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับชาวอเมริกันกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งที่ลอบเข้าไปสืบสวนกิจการการล่าวาฬในประเทศญี่ปุ่น

ก่อนหน้านั้นก็มีกลุ่มนักเคลื่อนไหวชาวตะวันตกเดินทางมาปักหลักที่เมืองเล็ก ๆ อันห่างไกลเกือบใต้สุดของภูมิภาคคันไซ ประเทศญี่ปุ่นนี้แล้ว โดยประกาศชัดต่อชาวบ้านที่มีกันอยู่เพียงไม่กี่พันคนในขณะนั้นว่าพวกเขามาเพื่อปกป้องดูแลธรรมชาติและเหล่าสัตว์ทั้งหลายในท้องทะเลให้พ้นจากเงื้อมมือนักล่าวาฬ

สารคดีเลนส์อเมริกันเรื่องเดอะโคฟดำเนินไปอย่างเร้าใจ ให้ผู้ชมได้ติดตามทีมงานไปปฏิบัติภารกิจเสี่ยงอันตรายในเมืองแปลกหน้า ด้วยความตั้งใจเพื่อที่จะเปิดโปงการล่าวาฬและโลมาอย่างโหดร้ายของชาวญี่ปุ่นให้ทั่วโลกได้เห็น

ภาพขั้นตอนการล่าที่ถูกนำมาเปิดเผยนั้นสร้างความช็อคให้กับทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์มากจนคว้ารางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมประจำปี 2010 มาครอง

การเข้าชิงและชนะรางวัลจากหลายสถาบันนั้นส่งให้สารคดีเรื่องนี้ยิ่งสร้างแรงกระเพื่อมออกไปได้ไกลแบบข้ามทวีป โดยเฉพาะสร้างคลื่นกระแทกกลับไปถึงเมืองไทจิ จังหวัดวากายามะ เมืองแห่งการล่าวาฬซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทำ

 “ทรงพลัง สะเทือนใจ” ...แม้แต่ Jay Alabaster นักข่าวผู้อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นอย่างคุ้นเคยมาหลายปีก็ยังต้องยอมรับว่าเดอะโคฟตีแผ่อุตสาหกรรมนี้ออกมาได้แบบถึงเป้า เขาสนใจในประเด็นนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าไปสำรวจและถึงกับกลายเป็นผู้อาศัยในเมืองไทจิอยู่ช่วงใหญ่ และก็เป็นหนึ่งในตัวเดินเรื่องของสารคดี A Whale of A Tale นี่เอง

 

“เรามาในฐานะ “ผู้พิทักษ์อ่าว” (Sea Shepherd – กลุ่มพิทักษ์ทะเล)”
“การไปรบกวน จับ และฆ่าพวกวาฬและโลมาเป็นความป่าเถื่อนและไม่มีอารยธรรม”

“นี่คือประเพณีและมีมานานแล้ว ก่อนอเมริกาจะก่อตั้งประเทศเสียอีก”

“อเมริกาที่กินวัวกินแกะเรียกว่ามีมนุษยธรรมหรือ”

“การล่าโลมาและวาฬไม่ใช่วิถีที่มนุษย์พึงทำ เรามีปศุสัตว์ เช่น วัวและหมู ไก่และไก่งวง และทั่วโลกมีวิธีฆ่าสัตว์เหล่านี้โดยมีมนุษย์ธรรมอย่างเข้มงวด”

“มันคือมุมมองที่บิดเบี้ยวที่โลกตะวันตกมีต่อวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่น”

“ไทจิเป็นเมืองล่าวาฬ การล่าวาฬเป็นมรดกตกทอดของเรามา 400 ปีแล้ว

ไม่ถูกต้องที่คนนอกพยายามจะทำลายประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเรา”

“ผมเข้าใจเรื่องประเพณีและวัฒนธรรม แต่การที่เราทำบางอย่างมายาวนานไม่ได้แปลว่ามันถูกต้อง ตัวอย่างเช่นการค้าทาส เมื่อถึงจุดหนึ่งมันก็เป็นประเพณีที่จำเป็นต้องยุติลง ถ้าแคว้นคาตาโลเนียเลิกประเพณีสู้วัวได้ และถ้าอังกฤษเลิกการล่าจิ้งจอกได้ ก็แน่นอนว่าชาติที่ยิ่งใหญ่อย่างญี่ปุ่นจะแสดงความมีเมตตาและเคารพ ด้วยการยุติประเพณีโหดร้ายอย่างการล่าวาฬและโลมาได้ ไทจิจะเลิกธรรมเนียมน่าอายนี้เมื่อไหร่”

“นี่คือปัญหาของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ไม่ใช่แค่เรื่องกินเนื้อวาฬ

ไม่ควรมีใครมาบอกว่าคนญี่ปุ่นกินอะไรได้บ้าง”

“เพื่อความอยู่รอด บรรพบุรุษของเราต้องเสี่ยงล่าวาฬตั้งแต่ 400 ปีก่อน

...มีคำพูดที่พูดกันบ่อยว่า “หนึ่งวาฬเลี้ยงเจ็ดหมู่บ้าน” แปลว่าวาฬหนึ่งตัวเป็นอาหารของคนจำนวนมาก

พวกเขากินและใช้ประโยชน์ทุกส่วนของวาฬ ไม่มีอะไรเสียเปล่า”

“ประเทศตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกาและเนเธอแลนด์ต่างหากที่ล่าแบบไม่คิด

พวกเขาเอาเฉพาะชั้นไขมันของวาฬหัวทุยแล้วก็ทิ้งซากที่เหลือลงทะเล”

“เพราะว่าที่นี่คือเมืองของวาฬและการล่าวาฬ เราจึงมีรูปวาฬอยู่ทุกที่เพื่อให้เราเห็นพวกมันอยู่เสมอ

และสำนึกขอบคุณ นี่คือวิธีแสดงออกของพวกเรา”

“พวกฝ่ายขวาคลั่งขาติ”

 “ผิดตรงไหนที่เราจะห้ามชมการฆ่าชำแหละสัตว์ มันใช่สิ่งที่ควรจะอวดต่อสาธารณะเหรอ

ชาวต่างชาติพวกนี้หาเงินจากโชว์การฆ่าสัตว์ ซึ่งเป็นการเหยียดหยามสัตว์ยิ่งกว่าอีก”

“สำหรับเมืองไทจิ โลมาก็แค่ปลาตัวใหญ่ แต่โลมาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลวาฬ พวกมันใกล้เคียงมนุษย์มากกว่าสัตว์”
“โลมามันร้องเพลงเป็น มันสื่อสารด้วยภาษาสัญลักษณ์ได้ และการกินมันไม่ถูกต้อง ในสหรัฐอเมริกาเราไม่กินโลมาหรือวาฬ”
“พวกเขาพยายามจะบอกว่าพวกเขาเคารพและนับถือพวกสัตว์เหล่านี้ แต่ที่เห็นนี้ไม่มีเลย”
“คนญี่ปุ่นเท่านั้นที่จะหยุดเรื่องนี้ได้ ไม่ใช่ชาวตะวันตก เราไม่ได้มาเพื่อหยุดสิ่งนี้ คนสับสนว่าเรามาทำอะไรโครงการโลมาเราเป็นนักท่องเที่ยว เราแค่แบ่งปันข้อมูลและหวังว่าคนที่ซื้อตั๋วเข้าชมโชว์โลมาในอียิปต์หรือตุรกีหรือรัสเซียที่รับโลมาจากที่นี่ไป เราหวังว่าลูกค้าจะไม่ซื้อตั๋วอีก”

“พวกเขาไม่ใช่นักท่องเที่ยว พวกเขามาเพื่อคุกคามเรา

พวกเขาอัปโหลดวีดีโอเพื่อบอกชาวโลกว่า “ช่วยให้เงินเราหน่อย”​ มันคือธุรกิจ”

 

“...ต้องใช้เงินเท่าไหร่ถึงจะปล่อยโลมาพวกนี้ ถ้าพวกเขาบอกตัวเลขมา เราจะพยายามระดมทุนและจ่ายให้เขาปล่อยโลมาไป”

“คุณคิดว่าเรารับเงินที่ได้จากการบริจาคแบบนี้ได้เหรอ”

“...แต่พวกเขาคิดเหรอว่าเงินที่ได้จากการฝึกโลมาเป็นเงินสุจริต นั่นมันผลจากการค้าทาสชัด ๆ”
“โลมาตัวนั้นกำลังจะมีชีวิตขมขื่นเยี่ยงทาส”
“ไทจิเป็นเมืองระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมโชว์โลมา โลมาส่วนใหญ่ที่จับจากทะเล เพื่อไปแสดงโชว์ว่ายน้ำกับโลมามาจากที่นี่เลย ดังนั้นถ้าเรายุติการฆ่าและการขังโลมาที่ตรงนี้ได้ เราก็อาจจะยุติการทำแบบนี้ทั่วญี่ปุ่นและส่วนอื่น ๆ ของโลกได้”

“ที่พิพิธภัณฑ์วาฬไทจิ เราเลี้ยงและจัดนิทรรศการเกี่ยวกับ 7 สายพันธุ์นี้

ทั้งหมดไม่จัดอยู่ในสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์”

“ญี่ปุ่นจำกัดการจับวาฬเล็กและโลมาอยู่ที่ปีละ 20,000 ตัว

แต่เฉพาะในวากายามะเราจับได้ไม่เกิน 2,000 ตัว

เราไม่คิดว่าการล่าเกินขอบเขตเป็นเรื่องดี เราจึงทั้งล่าด้วยและอนุรักษ์ไปด้วย

ไม่ใช่ล่าจนเกลี้ยงแต่เราล่าอย่างพอเพียงเพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติ”

 “นี่ไม่ใช่เรื่องของกลุ่มพิทักษ์ทะเลทะเลาะกับญี่ปุ่น ไม่ใช่ตะวันตกทะเลาะกับญี่ปุ่น นี่เป็นเรื่องของคนที่พยายามปกป้องทะเล”
“กลุ่มพิทักษ์ทะเลจะช่วยคุณขับเคลื่อนเมืองไทจิไปข้างหน้าอย่างมีความหวังได้อย่างไรบ้าง”

“ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ชาวเมืองไทจิตัดสินใจ ไม่ใช่คนนอก คุณสามารถขอถิ่นที่อยู่แล้วค่อยเสนอความคิดเห็น”

“เราอยากคงวิถีชีวิตของเราไว้ พร้อมกับปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

วันนี้ยืนยันว่าทัศนคติที่ต่างกันของเราจะไม่มีวันบรรจบกัน”

นี่คือตัวอย่างความคิดเห็นในสารคดีของทั้งฝ่ายที่ต้องการให้เลิกการกระทำที่ทรมานป่าเถื่อนต่อวาฬและโลมา และฝ่ายที่มองว่าทุกอย่างมีที่ไปที่มาและก็คือวิถีชีวิตที่ปฏิบัติกันอย่างมีหลักการ ไม่ใช่การล่าที่ไร้แบบแผน

ป่านนี้คุณคนอ่านคงส่ายหน้าและบอกว่ารู้แล้ว ๆ ก๊อปมาซะแน่นจนเหมือนคัดเอาทั้งเรื่องมาวางให้อ่านแล้วเนี่ย

ที่โควตมายืดยาวขนาดนี้เพราะในหลายเรื่อง เราไม่สามารถตัดสินอะไรจากการเถียงกันเพียงสั้น ๆ ได้จริง ๆ และมันก็ยังมีเหตุและผลและจุดมุ่งหมายอีกมากที่เป็นปัจจัยให้มุมมองของทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถ “บรรจบกัน” ได้จนถึงปัจจุบัน

ไม่ว่าคุณจะคิดว่าชีวิตหรือวิถีชีวิตสำคัญกว่า เราก็อยากให้ลองไปฟังไปมองในมุมต่าง ๆ ในสารคดีเรื่องนี้ดู และถ้าหากมีเวลาอีกสักหน่อยก็อยากจะให้คิดเล่น ๆ แล้วลองแทนคำว่า “วาฬและโลมา” ด้วยอย่างอื่น

ดูซิ... ว่าคุณจะเลือกคำไหน แล้วคะแนนของคุณเอนเอียงเปลี่ยนฝั่งบ้างหรือเปล่า

“ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในโลกนี้

มนุษย์น่ะไม่สามารถอยู่รอดได้หรอก

หากไม่มีการเสียสละของสิ่งมีชีวิตอื่น”

“เราแค่อยากใช้ชีวิตปกติอย่างคนทั่วไป”

สามารถชมสารคดีเรื่อง “A Whale of A Tale” << คลิก ได้แล้ววันนี้ทาง VIPA.me

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารคดีเรื่อง “The Cove”​ โดย Louie Psihoyos ทาง wikipedia

บทความเกี่ยวกับที่มาที่ไปเกี่ยวกับการล่าวาฬและโลมาของญี่ปุ่น

 

 เรื่อง : พัดชา เอนกอายุวัฒน์ // ภาพประกอบ : ณภัค ภูมิชีวิน

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#TheCove, 
#LouiePsihoyos, 
#AWhaleofATale, 
#VIPA.me, 
#vipa, 
#documentary, 
#สารคดี, 
#ล่าวาฬ, 
#วาฬ, 
#โลมา, 
#การล่าโลมา, 
#ฤดูล่าวาฬในญี่ปุ่น, 
#เมืองไทจิ, 
#วากายามะ, 
#เมืองแห่งการล่าวาฬ, 
#SeaShepherd, 
#กลุ่มพิทักษ์ทะเล, 
#WWF, 
#Greenpeace, 
#วัฒนธรรมญี่ปุ่น, 
#ประเทศญี่ปุ่น, 
#อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, 
#รางวัลออสการ์, 
#รางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมประจำปี2010, 
#แนวคิดตะวันตก, 
#ความขัดแย้ง, 
#มนุษยธรรม, 
#ความเมตตา, 
#วิถีชีวิต, 
#ไทยพีบีเอส, 
#ขยับแว่น, 
#ALTV, 
#ThaiPBS 
ผู้เขียนบทความ
avatar
พัดชา เอนกอายุวัฒน์
พัดชา
อาชีพดั้งเดิมเป็นนักร้อง มีถิ่นกำเนิดจากเวทีนักล่าฝัน เพลิดเพลินกับการดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ไม่จำกัดว่าเน้นดราม่า หรือหนักข้อมูล มีความเชื่อส่วนตัวว่า มีสาระซ่อนอยู่ทุกที่ และมีเรื่องราวที่ชวนหาคำตอบอยู่เสมอ
ALTV CI
ขยับแว่น
ขยับแว่น
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
พัดชา เอนกอายุวัฒน์
พัดชา
อาชีพดั้งเดิมเป็นนักร้อง มีถิ่นกำเนิดจากเวทีนักล่าฝัน เพลิดเพลินกับการดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ไม่จำกัดว่าเน้นดราม่า หรือหนักข้อมูล มีความเชื่อส่วนตัวว่า มีสาระซ่อนอยู่ทุกที่ และมีเรื่องราวที่ชวนหาคำตอบอยู่เสมอ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#TheCove, 
#LouiePsihoyos, 
#AWhaleofATale, 
#VIPA.me, 
#vipa, 
#documentary, 
#สารคดี, 
#ล่าวาฬ, 
#วาฬ, 
#โลมา, 
#การล่าโลมา, 
#ฤดูล่าวาฬในญี่ปุ่น, 
#เมืองไทจิ, 
#วากายามะ, 
#เมืองแห่งการล่าวาฬ, 
#SeaShepherd, 
#กลุ่มพิทักษ์ทะเล, 
#WWF, 
#Greenpeace, 
#วัฒนธรรมญี่ปุ่น, 
#ประเทศญี่ปุ่น, 
#อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, 
#รางวัลออสการ์, 
#รางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมประจำปี2010, 
#แนวคิดตะวันตก, 
#ความขัดแย้ง, 
#มนุษยธรรม, 
#ความเมตตา, 
#วิถีชีวิต, 
#ไทยพีบีเอส, 
#ขยับแว่น, 
#ALTV, 
#ThaiPBS 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา