เป้าหมายมีไว้พุ่งชนอยู่เสมอ เพียงแต่เราต้องผ่านด่านแรกที่ยากที่สุดไปให้ได้ก่อน นั่นคือการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน เรียงเป็นข้อ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายในความก้าวหน้าของงาน การพัฒนาตนเอง การศึกษา ครอบครัว การเก็บเงิน การดูแลสุขภาพ แม้แต่การซื้อของให้รางวัลตัวเอง ทุกสิ่งล้วนเป็นเป้าหมายที่เราทุกคนสามารถเริ่มลงมือทำให้สำเร็จได้เสมอ โดยเริ่มต้นจากการทบทวนตัวเองก่อน ว่าแท้จริงแล้ว เราต้องการพัฒนาในด้านใด และตั้งเป้าหมายจากสิ่งเล็ก ๆ และค่อย ๆ ขยับไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นอีกขั้นตามที่คุณปรารถนา โดยเริ่มจาก
เช่นเดียวกับการตั้งเป้าหมายตามแบบ Locke’s Goal-Setting Theory ของ เอ็ดวิน เอ ล็อก (Edwin A. Locke) และ แกรี่ พี ลาธาม (Gary P. Latham) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงและได้เริ่มต้นศึกษาวิจัยทฤษฏีและผลลัพธ์ของการตั้งเป้าหมาย และถูกนำไปปรับใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
โดย Locke และ Latham ได้ให้นิยามของคำว่า “เป้าหมายที่ดี” แบ่งได้เป็น 2 ข้อ
1.เป้าหมายที่ยากในระดับที่พอดี จะทำให้ประสบความสำเร็จมากกว่าเป้าหมายที่ง่ายเกินไป เพราะเป้าหมายที่ง่าย อาจจะลงมือทำอย่างสบาย ๆ ในขณะที่เป้าหมายยาก ๆ จำเป็นต้องใช้พลังและความพยายามเพื่อทำให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ และมันเป็นสิ่งที่ท้าทาย ที่ช่วยกระตุ้นให้เราอยากจะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และนำไปสู่หนทางการเอาชนะได้อย่างสำเร็จ
2.เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง จะทำให้ประสบความสำเร็จได้มากกว่าการตั้งเป้าหมายเลื่อนลอย หรือการที่ไม่มีเป้าหมายใด ๆ และหากว่าเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนมากเท่าไหร่ ก็จะนำไปสู่การวางแผนงานได้ดีกว่า มีรายละเอียดที่เป็นไปได้มากกว่า และมีเวลาในการเตรียมพร้อมที่ดีกว่า จึงเป็นอีกหนึ่งหนทางที่นำไปสู่ความสำเร็จได้อีกขั้น
หากว่าทฤษฎีเหล่านี้ถูกนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการตั้งเป้าหมายสำหรับการทำงานในชีวิตจริง หรือการทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อน ๆ ก็สามารถนำไปสู่หนทางที่สำเร็จได้ โดยมี 5 ทริคดี ๆ มีนำเสนอเพื่อเป็นตัวช่วยให้การตั้งเป้าหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกด้วย
1.ความชัดเจน (Clarity)
เป้าหมายต้องมีความเฉพาะเจาะจงและความชัดเจน สามารถทำให้ทุกคนในทีมเข้าใจได้เป็นอย่างดี และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากความผิดพลาด หรือการคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร ก็จะมีน้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน จึงส่งผลให้ทุกคนมีความมุ่งมั่น และมีโอกาสที่จะทำให้เป้าหมายนี้สำเร็จได้
2.ความท้าทาย (Challenge)
ต้องเป็นเป้าหมายที่ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความน่าเบื่อหน่าย และต้องสร้างความท้าทายที่พอดี เพื่อให้มีแรงกระตุ้น รู้สึกอยากมีส่วนร่วม และมุ่งมั่นที่อยากจะทำตามเป้าหมายนั้น ๆ
3.มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน (Commitment)
ผู้ร่วมทีมต้องเข้าใจ เห็นด้วย และยอมรับเป้าหมายของทีมที่ถูกตั้งขึ้นมาอย่างเต็มใจ เพราะเมื่อเข้าใจตรงกันแล้ว โอกาสที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จก็จะมีมากขึ้น และยังทำให้ทุกคนได้สนุกไปกับการทำงาน หรือการทำเป้าหมายเดียวกันได้อีกด้วย
4.เปิดรับข้อเสนอแนะ และคำติชม (Feedback)
ระหว่างการมุ่งทำเป้าหมายนั้น ๆ ต้องมีการตรวจสอบ เพื่อลดข้อผิดพลาดให้มากที่สุด และเปิดรับข้อเสนอแนะ เพื่อสะท้อนข้อคิดเห็นอยู่เสมอ และเพื่อให้แน่ใจว่าเป้าหมายยังคงถูกดำเนินไปอย่างถูกที่ถูกทาง
5.ความซับซ้อนของภารกิจ (Task complexity)
เป้าหมายที่กำหนดขึ้นมาต้องกระจายออกเป็นเป้าหมายเล็ก ๆ หรืองานย่อย ๆ ได้ เพื่อให้คนอื่น ๆ สามารถนำงานชิ้นนี้ไปรับผิดชอบต่อได่ง่าย ๆ และยังสามารถติดตามความคืบหน้าได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งแนวคิดที่เป็นตัวช่วยในการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดและในเชิงธุรกิจ อย่างเครื่องมือ SMART ที่ช่วยในการตั้งเป้าหมายอย่างเป็นระบบ เพื่อให้จุดมุ่งหมายของภารกิจต่าง ๆ นั้นมีความชัดเจน และสามารถวัดผลได้นั่นเอง โดยคำว่า SMART ย่อมาจากคำว่า
ชีวิตการทำงานที่ต้องทำร่วมกับคนอื่น ๆ การตั้งเป้าหมายจึงถือว่าเป็นข้อดี เพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่ทุกคนมองเห็นถึงเส้นชัยเดียวกันแล้วนั้น ยังช่วยเพิ่มความรู้สึกถึงการมีส่วนร่วม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีแบบแผนที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ตัวเรา และคนในทีมสามารถพัฒนาศักยภาพได้อยู่เสมอ และสิ่งเหล่านี้ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เป้าหมายของทุกคน ไปสู่หนทางความสำเร็จได้อย่างดี
หวังว่าทฤษฎีการตั้งเป้าหมาย จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทุกคนได้จงลงมือทำด้วยความตั้งใจ พร้อมสอดแทรกความสนุก ความท้าทาย เพื่อให้ชีวิตมีสีสันและไม่น่าเบื่ออีกต่อไป หากสุดท้ายอาจจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ แต่ความพยายาม และความกล้าที่จะลงมือทำถือจุดเริ่มต้นก้าวแรกที่จะทำให้ไปสู่หนทางความสำเร็จในอนาคตต่อ ๆ ไปได้ดีกว่าคนที่ไม่ลงมือทำ
อ้างอิงข้อมูลจาก งานวิจัย Locke’s Goal-Setting Theory ของ ดร.อภิรัชศักดิ์ รัชนีวงศ์, VOGUE, Adaddict