ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
Learn small:  วิชา สังคมศึกษา "กฎหมายคุ้มครองสิทธิบุคคลน่ารู้"
แชร์
ฟัง
ชอบ
Learn small: วิชา สังคมศึกษา "กฎหมายคุ้มครองสิทธิบุคคลน่ารู้"
06 พ.ค. 66 • 14.00 น. | 3,319 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

สิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่ติดตัวคนเรามาตั้งแต่แรกเกิด และถือเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย การตระหนักและมีความเข้าใจในสิทธิของตัวเองจึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ในวันนี้ ALTV นำสรุปสาระสำคัญ 4 กฎหมายน่ารู้ที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิบุคคลมาฝากกัน

กฎหมายเกี่ยวกับเด็ก

⭐อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก คือข้อตกลงระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับการดูแลเด็กทุกคนให้รอดพ้นจากอันตราย รวมถึงให้การสนับสนุนและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก สิทธิด้านสุขภาพ การศึกษา และความเป็นอยู่ที่ดี

อนุสัญญาฯ ดังกล่าวรับรองโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.​ 2532 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.​ 2533 และสำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนาม เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 สาระสำคัญในอนุสัญญาฯ ประกอบด้วยเรื่องสิทธิเด็ก 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิในการมีส่วนร่วม  

 

  • สิทธิที่จะมีชีวิตรอด เด็กทุกคนต้องมีสิทธิ เสรีภาพ และได้รับการดูแลขั้นพื้นฐาน 
  • สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา เด็กทุกคนต้องมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม และได้รับการศึกษา และการดูแลที่ดีจากครอบครัว
  • สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง เด็กทุกคนต้องพ้นจากการทำร้าย ล่วงละเมิด นำไปขายใช้แรงงานหรือแสวงหาผลประโยชน์ 
  • สิทธิในการมีส่วนร่วม ต้องมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น แสดงออก สามารถตัดสินใจเรื่องที่กระทบกับชีวิตตัวเองได้อย่างอิสระ

 

⭐พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 คือกฎหมายที่มีไว้เพื่อคุ้มครองช่วยเหลือเยียวยาทั้งในด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่มี อายุไม่เกิน 18 บริบูรณ์ ครอบคลุมไปถึง เด็กพิการ เด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน นักเรียน นักศึกษา แต่ไม่รวมถึง ผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส โดย พ.ร.บ คุ้มครองเด็กฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และมีผลบังคับใช้ครั้งแรกในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2547  

ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ 

  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 

สาระสำคัญ

  • หมวดที่ 1 คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
  • หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อเด็ก
  • หมวดที่ 3 การสงเคราะห์เด็ก
  • หมวดที่ 4 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
  • หมวดที่ 5 ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
  • หมวดที่ 6 สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิ ภาพและสถานพัฒนาและฟื้นฟู
  • หมวดที่ 7 การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา 
  • หมวดที่ 8 กองทุนคุ้มครองเด็ก 
  • หมวดที่ 9 บทกำหนดโทษ

 

กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา

⭐พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ว่าด้วยการจัดการศึกษาให้กับคนไทยทุกคน ครอบคลุมไปถึงการปลูกฝังจิตสำนึกเกี่ยวกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตย การรักษาสิทธิ เสรีภาพ ตามกรอบกฎหมาย โดย พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ ประกาศใช้ครั้งแรก วันที่ 19 สิงหาคม 2542 (ฉบับที่ 1) และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2542

ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ  

  • รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ

สาระสำคัญ

  • หมวดที่ 1 หมวดทั่วไป
  • หมวดที่ 2 สิทธิหน้าที่ทางการศึกษา
  • หมวดที่ 3 ระบบการศึกษา การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ
  • หมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษา
  • หมวดที่ 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
  • หมวดที่ 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
  • หมวดที่ 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
  • หมวดที่ 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
  • หมวดที่ 9 เทคโนโลยีการศึกษา

 

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

⭐พระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค พ.ศ. 2522

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคมีไว้เพื่อให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ บัญญัติขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ ปี 2522 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2541 โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค 5 ข้อ ดังนี้ 

 

ข้อที่ 1 สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร รวมถึงคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้อง เพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ

  • ได้รับการโฆษณาหรือข้อมูลในฉลากสินค้าที่เป็นจริง ไม่เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค 
  • ได้รับข้อมูลสินค้าและบริการเพียงพอไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด 

ข้อที่ 2 มีอิสระในการเลือกใช้สินค้าและบริการ  

  • ได้เลือกใช้สินค้าและบริการตามความสมัครใจ โดยไม่ต้องถูกข่มขู่ ชักจูงอย่างไม่เป็นธรรม

ข้อที่ 3 สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ 

  • ผู้บริโภคต้องได้รับสินค้าและบริการที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ไม่ก่ออันตราย

ข้อที่ 4 สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในสัญญา 

  • ผู้บริโภคต้องได้รับความเป็นธรรม ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ 

ข้อที่ 5 สิทธิที่จะได้รับการชดเชยค่าเสียหาย 

  • ผู้บริโภคต้องได้รับกรชดเชยค่าเสียหายเมื่อถูกละเมิด ตามข้อที่ 1-4

 

นอกจากสรุปสาระสำคัญที่เรารวบรวมมาให้แล้ว ครูเม่น กัมปนาท ไชยรัตน์ จะพาเพื่อน ๆ ไปเรียนรู้เรื่องกฎหมายคุ้มครองสิทธิบุคคลให้ลึกขึ้นอีกนิด ในรายการ ห้องเรียนติวเข้ม ม.ต้น ตอน กฏหมายคุ้มครองสิทธิบุคคล

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#ติวเข้มสังคม, 
#สังคมศึกษา, 
#สิทธิขั้นพื้นฐาน, 
#ติวสอบ, 
#กฎหมาย 
ผู้เขียนบทความ
avatar
THANATCHA SUVIBUY
นับถือแมวเป็นศาสนา มีไอดอลเกาหลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ALTV CI
LearnMore
LearnMore
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
THANATCHA SUVIBUY
นับถือแมวเป็นศาสนา มีไอดอลเกาหลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#ติวเข้มสังคม, 
#สังคมศึกษา, 
#สิทธิขั้นพื้นฐาน, 
#ติวสอบ, 
#กฎหมาย 
แชร์
ฟัง
ชอบ
ติดตามเรา