ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
"Self-Compassion" จิตวิทยาว่าด้วย "การใจดีกับตัวเอง"
แชร์
ฟัง
ชอบ
"Self-Compassion" จิตวิทยาว่าด้วย "การใจดีกับตัวเอง"
24 พ.ย. 66 • 10.00 น. | 1,369 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

ในโลกยุคปัจจุบันที่หลายคนมุ่งมั่นพัฒนาตัวเองเพื่อเข้าใกล้ความสำเร็จ ในบางครั้งเราอาจตั้งมาตรฐานที่สูงเกินไปให้กับตัวเอง และถึงขั้นโบยตีตัวเองเมื่อทำอะไรผิดพลาดไปเพียงเล็กน้อย จนกลายเป็นการบั่นทอนสุขภาพจิตตัวเอง "การใจดีกับตัวเอง" (Self-Compassion) จึงเป็นทักษะสำคัญที่ควรมีติดตัวไว้

'ใจดีกับตัวเอง' ให้เหมือนใจดีกับผู้อื่น

Self-Compassion หรือ 'การมีเมตตาต่อตนเอง' คือแนวคิดทางจิตวิทยาที่ว่าด้วยการยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบของตนเอง รวมไปถึงความสามารถในการตระหนักรู้ถึงอารมณ์หรือเหตุการณ์ในแง่ลบ ที่เราไม่สามารถควบคุมได้

 

ดังนั้น บุคคลที่มีความเมตตาต่อตนเองมักจะพิจารณาไตร่ตรองปัญหาที่เข้ามาอย่างมีสติ ไม่ด่วนวิพากษ์วิจารณ์ตนเองอย่างไร้เหตุผล หรือโบยตีตัวเองซ้ำ ๆ ด้วยความคิดแง่ลบกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และมองว่าความทุกข์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ผ่านเข้ามาและจะผ่านไปในที่สุด

 

แนวคิดการมีเมตตากับตนเอง มักถูกมองว่าเป็นข้ออ้างสำหรับคนเห็นแก่ตัว ซึ่งแทบจะแตกต่างกันมาก ‘คริสติน เนฟฟ์’ (Kristin D. Neff) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย เท็กซัส กล่าวไว้ว่า เราสามารถแยกความมีเมตตาต่อตนเองและความเห็นแก่ตัว ได้ด้วยองค์ประกอบที่แตกต่างกันสามประการ ได้แก่ การมีสติ (Mindfulness) การมีความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) และการคิดแบบปุถุชน (Commom Humanity) สามารถขยายความได้ดังนี้  

  • มีสติ (Mindfulness) การรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยสติ รู้จักสังเกตความคิดและอารมณ์เชิงลบของเราด้วยใจที่เปิดกว้าง และไม่ใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา 
  • การมีความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองและผู้อื่นว่ากำลังคิดหรือรู้สึกอย่างไร 
  • การคิดแบบปุถุชน (Common Humanity) ความเข้าใจว่าไม่มีมนุษย์คนไหนที่สมบูรณ์แบบ และการเข้าใจว่าความทุกข์ที่เราเจออยู่นั้น คนอื่นก็เจอเหมือนกันกับเรา

 

5 สัญญาณที่บอกว่าคุณต้อง 'เริ่ม' ใจดีกับตัวเองได้แล้ว

ภาระหน้าที่อันมากมายในแต่ละวัน อาจทำให้หลายคนไม่ทันได้สังเกตตัวเองว่ากำลังใจร้ายกับตัวเองมากเกินไปหรือไม่ และนี่คือ 5 สัญญาณเตือนที่กำลังบอกว่าต้องใจดีกับตัวเองให้มากขึ้น

😥ผัดวันประกันพรุ่งกับงานที่ง่ายและใช้เวลาไม่นาน

เมื่อคนเราต้องทำสิ่งที่รู้สึกว่ายาก ก็อาจมีแนวโน้มที่จะเลื่อนเวลาทำออกไปเรื่อย ๆ ได้เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากการผัดวันประกันพรุ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือแม้แต่กับเรื่องเล็ก ๆ ที่สามารถทำเสร็จให้ลุล่วงไปได้โดยง่ายและใช้เวลาไม่นาน คุณอาจกำลังรู้สึกวิตกกังวลหรือกลัวว่าผลลัพธ์จะออกมาไม่เป็นตามที่ตั้งใจไว้ จึงทำให้คุณไม่กล้าลงมือทำสักที 

😥รู้สึกวิตกกังวลอย่างไม่มีเหตุผล

การตำหนิ วิพากษ์วิจารณ์ หรือการกล่าวโทษตัวเองจนเป็นนิสัย อาจทำให้เกิดอาการเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังเป็นการบั่นทอนสุขภาพจิตของตัวเราเอง ดังนั้น แทนที่จะรีบตำหนิตัวเองเมื่อทำผิดพลาด ลองหยุดพักแล้วทบทวนเหตุการณ์และหาทางแก้ปัญหาอย่างใจเย็น อาจเป็นหนทางที่ช่วยหาทางออกได้มากกว่า

😥จมอยู่กับความผิดพลาดในอดีต 

เราทุกคนล้วนมีเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจในอดีต และเป็นเรื่องปกติที่เราจะจดจำเรื่องร้าย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ทำผิดพลาดซ้ำอีก แต่ถ้าคุณรู้ตัวว่ากำลังคิดถึงแต่สิ่งเดิม ๆ อย่างไม่รู้จบ ทั้งความเสียใจ ความโกรธ ความผิดหวังที่ผ่านไปแล้ว คุณอาจกำลังเผชิญอยู่กับ “ภาวะคิดมาก” หรือ “Overthinking”

😥กังวลว่าคนอื่นคิดและรู้สึกยังไงเกี่ยวกับตัวคุณ

การได้เป็นที่รักหรือได้รับการยอมรับจากผู้คน เป็นส่วนหนึ่งของความต้องการของมนุษย์ (Human Needs) จึงไม่น่าแปลกที่ในบางครั้ง เราจะอยากรู้ว่าคนอื่นมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรา แต่ถ้าความอยากรู้เริ่มเปลี่นเป็นความวิตกกังวลจนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ และไม่มีความสุข อาจเป็นสัญญาณให้คุณต้องหันมาใจดีกับตัวเอง เพราะเป็นไปได้ว่าคุณเองก็อาจจะแอบวิจารณ์ตัวเองบ่อย ๆ จึงคิดว่าคนอื่นจะต้องคิดกับเราในแง่ลบเหมือนกัน 

😥มีเป้าหมายแต่ไม่ลงมือทำ

บ่อยครั้งที่เราล้มเลิกความตั้งใจในสิ่งที่ทำไปเสียดื้อ ๆ เพียงเพราะกลัวไม่สำเร็จตามที่คาดหวังไว้ หรือการคิดว่าตัวเอง ‘ไม่เก่งพอ’ ซึ่งเป็นความคิดที่เกิดขึ้นในหัวของเราเอง ดังนั้น แทนที่จะจะบั่นทอนตัวเองด้วยความคิดเชิงลบ การเริ่มให้กำลังใจตัวเองด้วยคำพูดดี ๆ (Self-talk) จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ตัวเราได้มากทีเดียว

ใจดีกับตัวเองด้วย 4 เทคนิคง่าย ๆ 

‘ใจดีกับตัวเองบ้าง’ แม้จะเป็นคำที่ฟังดูทำได้ง่าย แต่หลายคนอาจยังไม่แน่ใจว่าต้องเริ่มต้นอย่างไรดี ALTV จึงนำทริคง่าย ๆ ที่จะทำให้เราเริ่มใจดีกับตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้มาฝากกัน

☺️ปล่อยวางความผิดพลาดในอดีต  

ตั้งแต่เด็กเรามักถูกสอนให้รู้จักให้อภัยคนอื่นมากกว่ารู้จักให้อภัยตัวเอง ทั้งที่ในความจริงแล้วมนุษย์ทุกคนล้วนเป็นทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำทั้งนั้น บางคนถึงโบยตีตัวเองด้วยการจมอยู่กับผิดพลาดในอดีต ที่นอกจากปัญหาจะไม่ได้รับการแก้ไข ยังเป็นอุปสรรคไม่ให้เราก้าวต่อไปข้างหน้า การยอมรับถึงปัญหาและให้โอกาสตัวเองเริ่มต้นใหม่ จะเป็นหนทางที่ทำให้เราได้ใจดีกับตัวเองได้ขึ้นอีกนิด  

☺️เรียนรู้และแก้ไข้จากความผิดพลาด

‘Nobody is perfect’ เราทุกคนต่างมีข้อบกพร่องและเคยทำสิ่งที่ผิดพลาดกันทั้งนั้น แต่เมื่อความผิดพลาดนั้นผ่านไปแล้ว ให้ยอมรับในความผิดพลาดนั้นแล้วมองเป็นโอกาสในการเริ่มต้นใหม่ รู้จักเรียนรู้และแก้ไขเพื่อไม่ให้ทำผิดพลาดซ้ำ

☺️ฝึกสมาธิ (Mindfulness)

เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกโกรธ เศร้า เสียใจ การมีสติจะช่วยให้เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในเวลานั้นได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งเคยมีผลงานวิจัยรองรับแล้วว่าการฝึกสมาธิเป็นประจำ มีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์ได้ดี และนำไปสู่การคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

☺️หมั่นดูแลร่างกายให้แข็งแรง 

สุขภาพจิตที่ดีมีรากฐานมาจากร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินที่ช่วยให้รู้สึกอารมณ์ดีและผ่อนคลายจากความเครียด

 

ที่มา: Harvard Health Publishing Psychology Today

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#รักตัวเอง, 
#Self-compassion, 
#ใจดีกับตัวเอง, 
#จิตวิทยา, 
#สุขภาพจิต, 
#ดูแลสุขภาพจิต, 
#Psychology, 
#เคล็ดลับดูแลตัวเอง 
ผู้เขียนบทความ
avatar
THANATCHA SUVIBUY
นับถือแมวเป็นศาสนา มีไอดอลเกาหลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ALTV CI
LearnMore
LearnMore
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
THANATCHA SUVIBUY
นับถือแมวเป็นศาสนา มีไอดอลเกาหลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#รักตัวเอง, 
#Self-compassion, 
#ใจดีกับตัวเอง, 
#จิตวิทยา, 
#สุขภาพจิต, 
#ดูแลสุขภาพจิต, 
#Psychology, 
#เคล็ดลับดูแลตัวเอง 
แชร์
ฟัง
ชอบ
ติดตามเรา