คือแนวคิดที่ว่าด้วยลักษณะของเพื่อน 7 ประเภท ที่เราควรมีไว้ใกล้ตัวเพื่อเติมเต็มด้านต่าง ๆ ในชีวิต แนวคิดดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างล้นหลามบนโลกโซเชียลฯ โดยเฉพาะแอปพลิเคชัน TikTok ที่ในปัจุบันมียอดเข้าชมแฮชแท็ก #7Friendtheory แล้ว กว่า 13 ล้านครั้ง ไม่นับรวมเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์อีกหลายพันคน ที่ออกมาแชร์เรื่องราวของเพื่อนทั้ง 7 ประเภทของพวกเขา
ทฤษฎีเพื่อน 7 แบบ แม้จะยังขาดวิจัยทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนอย่างเป็นทางการ แต่นักจิตบำบัดหลายหลายคน ต่างให้ความเห็นต่อทฤษฎีดังกล่าวว่า เป็นแนวคิดที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีมิตรภาพที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างรวดเร็วและผู้คนเชื่อมต่อกันได้ง่าย การหามิตรแท้ที่จริงใจอาจเป็นเรื่องยากขึ้น
นอกจากนี้ ทฤษฎีดังกล่าวยังช่วยให้เข้าใจว่าเพื่อนแต่ละคนล้วนมีหน้าที่และบทบาทแตกต่างกันในชีวิตของเรา และแต่ละบทบาทก็มีความสำคัญในแบบของมันเอง เพื่อนหนึ่งคนไม่อาจเติมเต็มเราได้ทุกด้าน เช่นเดียวกับเราที่ไม่อาจเป็นทุกอย่างให้เพื่อนได้ การเข้าใจบทบาทของเพื่อนแต่ละคน จะช่วยให้เราเข้าใจและเห็นคุณค่าของพวกเขามากขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนได้อีกด้วย
เพื่อนที่รู้จักกันมาตั้งแต่วัยเด็กหรือเติบโตมาด้วยกัน เป็นเพื่อนที่ผ่านประสบการณ์ร่วมกันมามากมาย ทั้งช่วงที่สนุกสนานและยากลำบาก เพื่อนในกลุ่มนี้จะมีแนวคิดและการดำเนินชีวิตใกล้เคียงกับเรา พวกเขาสามารถเข้าใจความคิด ความรู้สึกของเราได้ดี โดยที่ไม่ต้องอธิบายอะไรมาก พวกเขาสามารถสังเกตเห็นในสิ่งที่คนอื่นอาจมองข้ามไป เช่น นิสัยประจำตัว สิ่งที่เราชอบและไม่ชอบ ความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ การมีเพื่อนวัยเด็กที่เราสนิทใจด้วย จึงนับว่าเหมือนมีพื้นที่ปลอดภัยที่เราสามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่นั่นเอง
เพื่อนที่คอยสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะเมื่อเราอยู่ใกล้ เพื่อนประเภทนี้มักจะมีเรื่องขำขันหรือเรื่องราวดี ๆ มาเล่าสู่กันฟัง มากกว่าเรื่องราวดราม่าที่ทำให้คุณต้องเครียด เพื่อนในกลุ่มนี้มีความกระตือรือร้นในการสร้างบรรยากาศที่ดีในกลุ่มเพื่อนอยู่เสมอ พวกเขารู้ว่าต้องพูดอะไรเพื่อทำให้เพื่อนรู้สึกดีและมีความสุข การมีเพื่อนประเภทนี้ไว้ใกล้ตัว นอกจากจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในกลุ่มแล้ว ยังช่วยให้เรามีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามไปได้อีกด้วย
เพื่อนที่แม้ว่าจะห่างหายกันไป ไม่ค่อยได้ติดต่อพูดคุยกัน แต่กลับมาคุยกันได้อย่างสนิทใจ มักเป็นเพื่อนที่เรารู้สึกว่ามีอะไรหลายอย่างที่คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นนิสัย ความสนใจ หรือทัศนคติ แม้จะรู้จักกันได้ไม่นาน คุยกันไม่กี่ครั้ง ก็รู้สึกว่าสนิทใจถึงขั้นว่าแค่มองตาก็รู้ใจ
เพื่อนที่คอยรับฟังปัญหาหรือเรื่องราวภายในใจอยู่เสมอ คอยให้กำลังใจ และเข้าใจเราอย่างลึกซึ้งเป็นคนที่เราสามารถระบายความในใจ หรือปรึกษาปัญหาส่วนตัวได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสิน หรือเขาจะพูดเรื่องส่วนตัวของเราให้ใครรู้
เพื่อนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิทสนมราวกับคนในครอบครัว มักเป็นเพื่อนที่คุณใช้เวลาอยู่ด้วยกันบ่อย ๆ หรือคบกันมายาวนานที่สุดจนเหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว ถือเป็นความสัมพันธ์ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และเป็นที่พึ่งพาได้เสมอ
เพื่อนที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกสบายใจที่จะเป็นตัวเอง เพื่อนกลุ่มนี้เข้าใจในตัวตนของเราเป็นอย่างดี และคอยสนับสนุนเราในทุก ๆ เรื่องเสมอ เราจึงต้องใส่ใจความรู้สึกของเพื่อนกลุ่มนี้เป็นพิเศษ เพราะความสบายใจและความคุ้นเคย อาจทำให้เราเผลอกระทำบางสิ่งบางอย่างที่อาจสร้างความไม่พอใจให้เพื่อนโดยไม่ตั้งใจได้
เป็นเพื่อนคู่คิดที่เข้าใจกันตั้งแต่แรกเห็น มีความรู้สึกผูกพันและสนิทสนมกันมาก คอยสนับสนุนทั้งใน ช่วงเวลาที่มีความสุขและช่วงเวลาที่ยากลำบาก ทำให้คุณรู้สึกว่าไม่มีพวกเขาอยู่ในชีวิตไม่ได้
ถึงอย่างไรก็ตาม มิตรภาพของคนเรานั้นเป็นเรื่องซับซ้อน ที่ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าปริมาณ การที่คุณไม่ได้มีเพื่อนครบทั้ง 7 แบบดังที่กล่าวมานั้น ไม่ได้หมายความว่ากลุ่มเพื่อนของคุณตอนนี้ไม่สามารถเติมเต็มให้คุณได้ การมีเพื่อนสนิทเพียงไม่กี่คนที่เข้าใจเรา และคอยให้กำลังใจเราเสมอ ก็อาจเพียงพอที่จะทำให้เรารู้สึกมีความสุขได้เช่นเดียวกัน
ที่มา Verywellmind