หลักฐานทางประวัติศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ แบ่งตามความสำคัญของหลักฐาน และแบ่งตามลักษณะของหลักฐาน
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ ที่มีการจารึกไว้บนวัสดุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กระดาษ หิน โลหะ ตำราหรือสื่ออื่น ๆ ที่สามารถอ่านได้ ตัวอย่างหลักฐานประเภทนี้ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร จดหมายเหตุ เอกสารพื้นเมือง
หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่ไม่ได้เป็นตัวหนังสือ มักเป็นสิ่งของหรือสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ในอดีต เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เครื่องปั้นดินเผา ภาพวาด หรือเงินตรา
แบ่งตามความสำคัญของหลักฐาน
หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary sources) คือ หลักฐานที่มีอยู่ในสมัยนั้นจริง ๆ สร้างขึ้นโดยผู้เข้าร่วมเหตุการณ์โดยตรง หรือมีผู้รู้ผู้เห็นเหตุการณ์ สามารถเป็นได้ทั้งหลักฐานแบบลายลักษณ์อักษร เช่น จดหมายเหตุ ประกาศของราชการ ศิลาจากรึก และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ ภาพเขียนผนังถ้ำ
หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary sources) คือ หลักฐานที่ไม่ได้เกิดในยุคสมัยนั้น มักเป็นข้อมูลที่มาจากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น แต่ได้มาจากการเรียบเรียง วิเคราะห์จากหลักฐานชั้นต้น เช่น บทความทางวิชาการ พงศาวดาร ตำนาน บันทึกคำบอกเล่า หรืออนุเสาวรีย์บุคคลสำคัญ เป็นต้น
เรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์และประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อนำไปใช้อย่างถูกต้อง ได้ที่ รายการ โลกกลม ๆ กับสังคมของหนู ตอน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ คลิก