ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
จับโป๊ะ Deepfake  ด้วย 5 เทคนิคจับจุดสังเกตวิดีโอปลอม
แชร์
ฟัง
ชอบ
จับโป๊ะ Deepfake ด้วย 5 เทคนิคจับจุดสังเกตวิดีโอปลอม
11 ก.ย. 67 • 10.00 น. | 595 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

Real? or Fake? ในโลกที่เทคโนโลยีสามารถสร้างภาพเสมือนจริงของคน ๆ หนึ่งได้ภายในเวลาไม่กี่นาที เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือเรื่องจริง อะไรคือสิ่งที่ AI สร้างขึ้น ในวันนี้ ALTV จะพาไปเข้าใจ เทคโนโลยี Deepfake และวิธีการจับจุดสังเกตไปพร้อมกัน  

รู้จัก Deepfake 

Deepfake คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) รูปแบบหนึ่ง ที่อาศัยเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ในการสร้างสื่อดิจิทัลรูปแบบต่าง ๆ ครอบคลุมตั้งแต่ วิดีโอ รูปภาพ เสียง ที่เหมือนเป็นคนกำลังพูดหรือแสดงอากัปกิริยาที่มีความสมจริง

 

กำกับใต้ภาพ : ภาพของอดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามา ที่ดัดแปลงจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI-Artificial intelligence) โดยคณะผู้วิจัยมหาวิทยาลัยวอชิงตัน

 

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของเทคโนโลยี Deepfake ขึ้นอยู่ว่าจะนำไปใช้ในแง่ไหน ซึ่งในปัจจุบัน Deepfake ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็น การสร้างข่าวปลอม หลอกลวง ฉ้อโกง หรือสร้างความเสียหายแก่ตัวบุคคล

 

ในปัจจุบันพบว่าวิดีโอ Deepfake บนสื่อออนไลน์ล้วนเป็นวิดีโอที่เข้าข่ายผิดกฎหมายกว่า 97% โดยผู้เสียหายส่วนใหญ่มักเป็นผู้หญิง

 

ในประเทศเกาหลีใต้ เป็นอีกประเทศที่กำลังเผชิญกับวิกฤตอาชญากรรมทางเพศรูปแบบใหม่นี้ โดยข้อมูลจากสำนักข่าว The Korean Times รายงานว่าในปี 2024 มีคดีที่เกี่ยวข้องกับ Deepfake เกิดขึ้นถึง 297 คดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชนทั้งผู้ก่อเหตุและผู้เสียหาย ที่มีอายุอยู่ในช่วงสิบไปจนถึงยี่สิบปีเท่านั้น

 

เช่นเดียวกับในประเทศไทย ที่ล่าสุดกลุ่มมิจฉาชีพได้ฉวยโอกาสใช้ Deepfake ปลอมแปลงเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือคนใกล้ชิด เพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงิน ซึ่งความน่ากลัวของ Deepfake คือความสมจริงที่ทำให้เราแยกแยะว่าสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าเป็นความจริงหรือเป็นเพียงภาพลวงตาที่สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี ภัยคุกคามจาก Deepfake จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่มองข้ามได้ 

 

ดังนั้น เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของข้อมูลที่บิดเบือน เรามาเรียนรู้เทคนิคง่าย ๆ ในการจับจุดสังเกตภาพและวิดีโอปลอมที่สร้างจาก Deepfake รับรองว่าไม่ยากอย่างที่คิด

วิธีจับโป๊ะ Deepfake

การเคลื่อนไหวใบหน้าไม่เป็นธรรมชาติ

จุดสังเกตที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ “การเคลื่อนไหวของริมฝีปาก” วิดีโอที่สร้างโดย AI มักมีการขยับริมฝีปากไม่สอดคล้องกับเสียงพูด ดูแข็งทื่อ ไม่เป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ “การกระพริบตา” ก็เป็นอีกหนึ่งจุดสังเกตสำคัญ เพราะวิดีโอ Deepfake มักจะมีการกระพริบตาน้อยเกินไปหรือไม่มีเลย

 

ผิวหน้าเรียบเนียนไม่สมจริง

ผิวหน้าดูเรียบเนียนจนไม่เหมือนผิวมนุษย์ แสงเงาบนใบหน้ามักไม่สอดคล้องกับบรรยากาศ หรืออาจมีความเบลอจากการตัดต่อในบริเวณรอบขอบใบหน้า

 

หน้าตาและอวัยวะไม่สมส่วน 

รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ บนใบหน้า เช่น ใบหูที่บิดเบี้ยว ดวงตาทั้งสองข้างที่มีขนาดไม่เท่ากัน นิ้วมือที่บิดเบี้ยวเกินจำนวน หรือขนาดมือที่ดูไม่สมจริง 

ความผิดปกติของเสียงและคำพูด

เสียงจากวิดีโอ Deepfake มักจะพูดออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการเว้นวรรคหรือจังหวะที่เป็นธรรมชาติ ไม่มีการเปลี่ยนระดับเสียง ทำให้ฟังดูเหมือนหุ่นยนต์พูด 

เส้นผมไม่สมจริง 

เส้นผมในภาพดูเรียบเนียนเกินจริง นั่นเป็นเพราะเทคโนโลยีการสร้างภาพโดย AI ยังไม่สามารถเลียนแบบความซับซ้อนของเส้นผมที่หยิกฟูที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละคนได้นั่นเอง 

ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ 

ในกรณีที่ภาพหรือวิดีโอมีความสมจริงจนจับสังเกตได้ยาก ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่สามารถตรวจจับ deepfake ได้ง่ายๆเพียงแค่เรากดอัปโหลดรูปหรือวิดีโอลงไป ได้แก่ 

Deepware คือเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สที่สามารถตรวจจับวิดีโอที่สร้างหรือดัดแปลงโดย AI เพียงแค่อัปโหลดรูปภาพหรือวิดีโอลงไป ระบบก็จะวิเคราะห์ว่ามีโอกาสเป็น Deepfake หรือไม่ คลิก> https://deepware.ai

 

RealityDefender ซึ่งผลิตโดย AI Foundation ครื่องมือที่มูลนิธิ AI สร้างขึ้นเพื่อช่วยในการตรวจจับสื่อที่สังเคราะห์ด้วย AI สามารถวิเคราะห์ได้ทั้ง วิดีโอ รูปภาพ และสื่อประเภทอื่น ๆ คลิก> https://www.realitydefender.com

 

นอกจากวิธีการสังเกตที่ ALTV นำมาฝากแล้ว การตรวจสอบข้อเท็จจริงและแหล่งที่มาของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ จะเป็นอีกหนทางที่สามารถป้องกันตัวเองจากการตกเป็นเหยื่อของข้อมูลที่บิดเบือนได้

 

"รู้เท่าทันสื่อโซเชียลมีเดีย" ในฐานะผู้บริโภคจะมีวิธีรู้เท่าทันข่าวสารและข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้อย่างไร เรียนรู้เพิ่มเติมในรายการ So เชี่ยว <คลิก 

 

ขอบคุณที่มา CHIRO

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#Deepfake, 
#บารักโอบามา, 
#รู้เท่าทันAI, 
#Deepfakeคืออะไร, 
#จับโกหกมิจฉาชีพวิดีโอคอล 
ผู้เขียนบทความ
avatar
THANATCHA SUVIBUY
นับถือแมวเป็นศาสนา มีไอดอลเกาหลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ALTV CI
LearnMore
LearnMore
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
THANATCHA SUVIBUY
นับถือแมวเป็นศาสนา มีไอดอลเกาหลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#Deepfake, 
#บารักโอบามา, 
#รู้เท่าทันAI, 
#Deepfakeคืออะไร, 
#จับโกหกมิจฉาชีพวิดีโอคอล 
แชร์
ฟัง
ชอบ
ติดตามเรา