ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
เอาตัวรอดเมื่อเผชิญเหตุไฟไหม้
แชร์
ชอบ
เอาตัวรอดเมื่อเผชิญเหตุไฟไหม้
30 ธ.ค. 67 • 12.00 น. | 560 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

“ปฏิเสธไม่ได้ว่าอัคคีภัย หรือเพลิงไหม้ คือภัยเหตุร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในเมืองไทย ด้วยสภาพภูมิอากาศเขตร้อนชื้นและช่วงฤดูร้อนยาวนาน จึงทำให้เกิดเพลิงไหม้เป็นอัคคีภัยที่สร้างความเสียหายระดับรุนแรง  สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากเป็นอันดับต้นๆ”

ไฟ เป็นปฏิกิริยาเคมีชนิดหนึ่งที่เกิดการเผาไหม้มี  4  องค์ประกอบ  คือ เชื้อเพลิง   หรือวัตถุที่สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนได้อย่างรวดเร็วในการเผาไหม้  เชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะก๊าซจะสามารถลุกไหม้ไฟได้  แต่เชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวจะไม่สามารถลุกไหม้ไฟได้  หากโมเลกุลที่ผิวของเชื้อเพลิงไม่อยู่ในสภาพที่เป็นก๊าซ  การที่โมเลกุลของแข็งหรือของเหลว จะแปรสภาพกลายเป็นก๊าซได้นั้นต้องอาศัยความร้อนที่แตกต่างกันตามชนิดของเชื้อเพลิงแต่ละชนิด

ออกซิเจน  หรืออากาศที่อยู่รอบ ๆ  ตัวเรามีก๊าซออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 21% การเผาไหม้แต่ละครั้งต้องการออกซิเจนประมาณ 16%  เท่านั้น  ดังนั้นจะเห็นว่าเชื้อเพลิงทุกชนิดที่อยู่ในอากาศรอบ ๆ  ตัวถูกล้อมรอบด้วยออกซิเจน  ซึ่งมีปริมาณเพียงพอสำหรับการเผาไหม้  ยิ่งปริมาณออกซิเจนมากเชื้อเพลิงก็จะยิ่งติดไฟได้ดีขึ้น  และเชื้อเพลิงบางประเภทจะมีออกซิเจนในตัวเองอย่างเพียงพอที่จะทำให้ตัวเองไหม้ได้โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนที่อยู่โดยรอบ

ความร้อน   คือพลังงานที่ทำให้เชื้อเพลิงแต่ละชนิดเกิดความคลายไอออกมา   และปฏิกิริยาลูกโซ่  หรือการเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง  เป็นกระบวนการเผาไหม้ที่เริ่มต้นต้องแต่เชื้อเพลิงได้รับความร้อนจนติดไฟขึ้น  การเกิดปฏิกิริยา คืออะตอมจะถูกเหวี่ยงออกจากโมเลกุลของเชื้อเพลิง  กลายเป็นอนุมูลอิสระและอนุมูลอิสระเหล่านี้จะกลับไปอยู่ที่ฐานของไฟอย่างรวดเร็ว  จึงทำให้เกิดเปลวไฟ

เหตุเพลิงไหม้อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด จึงควรเรียนรู้วิธีการรับมือเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ฉับพลันขึ้น โดยสิ่งแรกที่ควรทำ คือ ช่วยเหลือตัวเองให้รอด ปลอดภัย ออกจากอาคารสถานที่เสี่ยงภัยให้เร็วที่สุด  ซึ่งสิ่งที่ห้ามทำเมื่อเกิดไฟไหม้ในอาคาร  คือ ห้ามใช้บันไดภายในอาคาร เพราะควันและเปลวไฟจะลอยขึ้นมาปกคลุม เสี่ยงสำลักควันถูกไฟคลอก  ห้ามใช้ลิฟต์ เพราะเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ไฟฟ้าจะดับ ทำให้ติดค้างภายในลิฟต์ และ ขาดอากาศหายใจจนเสียชีวิตได้ 

ห้ามวิ่งขณะที่เสื้อผ้าติดไฟอยู่ เพราะไฟจะลุกลามเร็วขึ้น ให้รีบถอดเสื้อผ้า หรือใช้วิธีนอนราบกับพื้น และ กลิ้งตัวไปมาให้ไฟดับ  ห้ามหนีเข้าไปในห้องน้ำ เพราะปริมาณน้ำ ไม่เพียงพอ ต่อการดับไฟ และ อาจถูกไฟคลอกเสียชีวิตได้  ห้ามเข้าไปในจุดอับของอาคาร เพราะ เจ้าหน้าที่ จะเข้าไปช่วยเหลือได้ยาก   ห้ามขึ้นชั้นบน หรือดาดฟ้าอาคาร เพราะไฟจะลุกลามจากชั้นล่างขึ้นสู้ชั้นบน เว้นแต่ ไม่สามารถอพยพลงชั้นล่างได้

ใช้ผ้าผิดปากและจมูก ขั้นตอนนี้เป็นการเริ่มอพยพออกจากพื้นที่เกิดเพลิงไหม้ เริ่มจากใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปาก หรือใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาครอบศีรษะ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกายที่อาจจะทำให้หมดสติและเสียชีวิต  ในกรณีที่ออกจากห้องมาได้แล้ว และเผชิญกับไฟไหม้ในตัวอาคาร ให้หมอบคลานต่ำหรือย่อตัวใกล้กับระดับพื้นมากที่สุด เนื่องจากอากาศบริสุทธิ์อยู่เหนือระดับพื้นไม่เกิน 1 ฟุต เพื่ออพยพไปสู่ประตูทางออกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด

หากไฟไหม้เสื้อผ้าให้กลิ้งตัวกับพื้น กรณีไฟลุกลามติดเสื้อผ้า ให้รีบถอดเสื้อผ้าหรือใช้วิธีนอนราบกับพื้นและกลิ้งตัวไปมาให้ไฟดับ อย่าวิ่งอย่างเด็ดขาด เพราะไฟจะลุกลามเร็วขึ้น  โทรศัพท์แจ้ง 199 ในกรณีที่เกิดเหตุ “ไฟไหม้” ระดับรุนแรง และกินพื้นที่เป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ในบ้านเรือน ในชุมชน หรือในสำนักงาน หลังจากกดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้แล้ว ให้เตรียมพร้อมอพยพออกจากพื้นที่เกิดเพลิงไหม้ และรีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่เบอร์ 199 ทันที

อุปกรณ์ดับเพลิง  การติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง  ให้ติดตั้งสูงจากพื้น  โดยวัดถึงส่วนที่สูงสุดของเครื่องดับเพลิง ต้องไม่เกิน 140 เซนติเมตร เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบใช้ได้สะดวก

ระยะการเกิดไฟไหม้  มี 3 ระยะ คือไฟไหม้ขั้นต้น ตั้งแต่เห็นเปลวไฟ จนถึง 4 นาที สามารถดับได้ โดยใช้เครื่องดับเพลิงเบื้องต้น  ไฟไหม้ขั้นปานกลาง คือ ระยะเวลาไฟไหม้ไปแล้ว 4 นาที ถึง 8 นาที อุณหภูมิจะสูงมากเกินกว่า 400 C ไฟไหม้ขั้นรุนแรง คือ ระยะเวลาไฟไหม้ต่อเนื่องไปแล้ว เกิน 8 นาที และยังมีเชื้อเพลิงอีกมากมายอุณหภูมิจะสูงมากกว่า 600 C ไฟจะลุกลามขยายตัวไปทุกทิศทางอย่างรุนแรงและรวดเร็ววิธีการดับไฟ มี 3 วิธี  1.ทำให้อับอากาศขาดออกซิเจน  2.ตัดเชื้อเพลิงกำจัดเชื้อเพลิงให้หมดไป  3.ลดความร้อนทำให้เย็นตัวลง

ส่วนสาเหตุการเกิดอัคคีภัย  มาจากอุปกรณ์หรือเครื่องกำเนิดความร้อนชำรุด  มีการสูบบุหรี่หรือจุดไม้ขีดไฟทิ้ง ทั้งที่ยังไม่ดับ  หรือทำการตัดเชื่อมโลหะด้วยก๊าซหรือไฟฟ้า  การแตกรั่วของท่อน้ำมันไฮโดรลิค  การใช้สารไวไฟใกล้กับแหล่งกำเนิดความร้อน  การทับถมกันของเศษวัสดุ  รวมถึงกรณีอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดหรือใช้เกินกำลัง  การสันดาปของสารบางชนิด  การใช้เชื้อเพลิงเหลวในทางที่ผิด   การแตกรั่วของทั่วก๊าซ  การเสียดสีระหว่างชิ้นส่วนของเครื่องจักร   การติดต่อลุกลามจากอัคคีภัย   ฟ้าผ่า

วิธีใช้อุปกรณ์ดับเพลิง ผู้ใช้ต้องหันเข้าหาไฟในทิศทางที่อยู่เหนือลม โดยห่างจากฐานหรือต้นตอของไฟประมาณ 2-3 เมตร  จากนั้นยึด 4 หลักง่ายๆ คือ  ดึง กด  ปลด และส่าย  ดึงสลักนิรภัยออก  ปลดสายฉีด  กดไกถังดับเพลิง เพื่อเปิดวาล์ว ให้น้ำยา หรือ ก๊าซ ที่อยู่ตัวถังพุ่งออกมา  ส่ายหัวฉีดให้น้ำยาพ่นออกไปทั่วๆ ฐานของไฟ จนกว่าไฟจะดับ   ทั้งนี้ ข้อควรระวังในการดับไฟที่เกิดจาก น้ำมัน และไฟฟ้า  ในกรณีที่ไฟเกิดจากน้ำมันรั่ว ให้ฉีดจากปลายทางน้ำมันไปหาจุดที่น้ำมันรั่ว และ ถ้าในกรณีที่ไฟเกิดจากกระแสไฟฟ้า ให้ตัดกระแสไฟซะก่อน เพื่อกันไม่ให้ไฟลุกขึ้นได้อีก

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#LifeSkill, 
#อัคคีภัย 
ผู้เขียนบทความ
avatar
กองบรรณาธิการ ALTV
ALTV CI
ข่าว ALTV
ข่าว ALTV
ALTV News
ผู้เขียนบทความ
avatar
กองบรรณาธิการ ALTV
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#LifeSkill, 
#อัคคีภัย 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา