ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
เปิดประวัติ 'เสื้อยืด' อมตะแฟชั่นสู่เครื่องมือแสดงจุดยืนทางสังคม
แชร์
ฟัง
ชอบ
เปิดประวัติ 'เสื้อยืด' อมตะแฟชั่นสู่เครื่องมือแสดงจุดยืนทางสังคม
18 ส.ค. 66 • 08.00 น. | 174 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

ยังคงได้รับความนิยมมาทุกยุคทุกสมัยกับ ‘เสื้อยืด’ เครื่องแต่งกายที่แสนเรียบง่าย สวมใส่สบาย ที่ไม่ว่าใครก็ต้องมีติดไว้ในตู้เสื้อผ้า แต่มากกว่าการเป็นเสื้อผ้าที่เราสวมใส่กันในชีวิตประจำวัน ในยุคหนึ่งเสื้อยืดถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงจุดยืนทางสังคมและอุดมการณ์ทางการเมือง

ถือกำเนิดจาก 'เสื้อซับใน'

'เสื้อยืด' หรือ 'T-shirt' เป็นคำนิยามถึงเสื้อลำลองแขนสั้น ไม่มีปกเสื้อ ไม่มีกระดุม มักทำจากผ้าฝ้ายหรือใยสังเคราะห์ รูปทรงของเสื้อคล้ายรูปตัว T ซึ่งกลายมาเป็นชื่อ 'T-shirt' อย่างที่ใช้เรียกกันในปัจจุบัน

 

ต้นกำเนิดของไอเทมยอดฮิตตลอดการนี้ไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่ มีเพียงข้อสันนิษฐานที่ว่ามีวิวัฒนาการมาจากเครื่องแต่งกายของกลุ่มผู้ใช้แรงงานชาวอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเกิดจากการตัดแขนเสื้อด้านในที่ใส่คู่กับจัมพ์สูทออกให้สั้นเพื่อให้ระบายอากาศดียิ่งขึ้น

 

จนกระทั่งในช่วงปี ค.ศ. 1913 เริ่มมีการผลิตเสื้อยืดจากผ้าฝ้ายเพื่อใช้ในกองทัพเรือสหรัฐฯ สำหรับสวมใส่เป็นเสื้อชั้นใน (Underwear) หรือใส่เมื่อต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพราะมีเนื้อผ้าที่เบาสบาย ทำความสะอาดง่าย และคล่องตัวเมื่อเทียบกับเสื้อผ้าแบบอื่น ๆ

 

หลังจากนั้นไ่นานเสื้อยืดได้ผ่านการพัฒนาดัดแปลงมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน แต่ถึงอย่างไรก็ตามเสื้อยืดยังคงติดภาพลักษณ์ของเสื้อชั้นในที่ไม่ควรสวมใส่ในที่สาธารณะ จึงเป็นสินค้าที่ไม่นิยมมากนักในกลุ่มคนชนชั้นสูง

มาร์ลอน แบรนโด’ (Morlon Brando) จากภาพยนตร์ เรื่อง A Streetcar Named Desire

ความเท่แบบชายชาตรี

จุดเปลี่ยนที่ทำให้เสื้อชั้นในได้รับการยอมรับจนกลายมาเป็นอมตะแฟชั่น ก็เมื่อดาราชื่อดังอย่าง ‘มาร์ลอน แบรนโด’ (Morlon Brando) ได้สวมใส่เสื้อยืดสีขาวในภาพยนตร์เรื่อง A Streetcar Named Desire จนกลายเป็นกระแสไวรัลในยุคนั้น เช่นเดียวกันกับดาราระดับโลกอย่าง 'เจมส์ ดีน' (James Dean) ที่มักหยิบจับเสื้อยืดสีขาวมาแมตซ์คู่กับแจ็กเกตออกมาเป็นลุคเท่ ๆ โดนใจวัยรุ่น ด้วยเหตุนี้เองภาพจำของเสื้อชั้นในที่ไม่ควรใส่ในที่แจ้งจึงค่อย ๆ หายไป และเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในฐานะไอเทมเครื่องแต่งกายเท่ ๆ ที่มีกลิ่นอายแบบชายชาตรี

 

เครื่องมือสื่อสารที่ทรงพลัง  

มากกว่าเครื่องแต่งกายทั่วไปช่วงทศวรรษ 1970 เริ่มมีการพิมพ์ข้อความและสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความคิด และอุดมการณ์ของผู้คนลงไปบนเสื้อยืด ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวที่กระแสวัฒนธรรมพังก์ (Punk Culture) ของกลุ่มหนุ่มสาวหัวขบถเริ่มแพร่หลายในสังคมอเมริกามากขึ้น

“58% Don’t Want Pershing” เสื้อยืดหยุดมิดไซน์  

ยังคงเป็นตำนานมาจนถึงทุกวันนี้สำหรับเสื้อยืดพิมพ์ข้อความ “58% Don’t Want Pershing” หรือ "ผลโหวต 58% ไม่ต้องการขีปนาวุธ" ผลงานของ แคทเธอรีน แฮมเนตต์ (Katharine Hamnett) ดีไซน์เนอร์ชาวอังกฤษที่ได้สวมเสื้อยืดตัวดังกล่าวมุ่งหน้าเข้าพบกับนายกรัฐมนตรี มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ’ (Margaret Thatcher) ถึงที่งานลอนดอนแฟชั่นวีค เพื่อแสดงออกถึงความต้องการให้ล้มเลิกการทำสัญญายินยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาสร้างฐานยิงขีปนาวุธภายในอังกฤษ ภาพวินาทีที่แฮมเนตต์เข้าพบแธตเชอร์กลายเป็นไวรัลบนหน้าสื่อในชั่วข้ามคืน จนท้ายที่สุดแธตเชอร์ก็ยอมยกเลิกสัญญาตามข้อเรียกร้องแฮมเนตและชาวอังกฤษ

'Raised fist' กำปั้นแห่งการปฏิวัติ

ในปี 1969 ช่วงเวลาการเกิดขึ้นของสงครามเวียดนาม เสื้อยืดพิมพ์ลายสัญลักษณ์กำปั้นเหนือศีรษะ หรือ 'Raised fist' ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เพื่อให้สหรัฐฯ ยุติการส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามเวียดนาม จากการเพิ่มขึ้นของทหารอเมริกันที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมถึงงบประมาณจำนวนมากจากภาษีของพวกเขาที่ถูกผลาญไปกับสงครามในครั้งนี้

 

  • สัญลักษณ์ 'Raised fist' มีนัยยะถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันไปจนถึงการต่อต้านการถูกกดขี่ มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายซ้ายเรื่อยมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1910

 

'Silence = Death' ความเงียบเท่ากับความตาย

Silence = Death หรือ ความเงียบ = ความตาย เป็นผลงานการออกแบบของ 6 นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศในสหรัฐ นำโดย Avram Finkelstein, Brian Howard, Oliver Johnston, Charles Kreloff, Chris Lione และ Jorge Soccarás โดยมีเป้าหมายเพื่อการรณรงค์ให้สังคมตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของโรคเอดส์ที่ระบาดหนักในสหรัฐ ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1980 และเป็นการเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดเพิกเฉยต่อปัญหา นอกจากนี้สัญลักษณ์ Silence = Death ยังมีความหมายถึงการต่อต้านการกดขี่ของชาว LGBTQ+ และเป็นการรำลึกถึงชาวรักร่วมเพศที่ตกเป็นเหยื่อของความเกลียดชังคนรักเพศเดียวกัน

 

และเช่นเดียวกับ Keith Haring ศิลปินชื่อดังที่ได้หยิบวลี Silence = Death และสามเหลี่ยมสีชมพู มาใช้ในงานออกแบบเสื้อยืดให้กับกลุ่ม ACT UP กลุ่มนักเคลื่อนไหวต่อต้านโรคเอดส์ในสหรัฐฯ เพื่อสร้างการตระหนักรู้ต่อความร้ายแรงของเอดส์ ก่อนที่จะเสียชีวิตลงในปี 1990 ด้วยโรคเอดส์เช่นเดียวกัน

 

'Climate revolution' รักษ์โลกสไตล์ 'วิเวียน เวสต์วูด'

เมื่อพูดถึงเสื้อยืดพิมพ์ลาย คงไม่เอ่ยถึงไม่ได้กับ วิเวียน เวสต์วูด (Vivienne Westwood) เจ้าแม่แฟชั่นพังก์ชั้นแนวหน้าของโลกและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิและสิ่งแวดล้อมตัวจี๊ด ที่มักใช้ 'เสื้อยืด' เป็นพื้นที่ในการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม ตั้งแต่สิทธิของผู้หญิง การต่อต้านลัทธิชาตินิยม (fascism) อาวุธนิวเคลียร์ ไปจนถึงวิกฤตสภาพอากาศ

 

หนึ่งในชิ้นที่โด่งดังอย่างมาก คือเสื้อยืด Climate Revolution (2012) ที่เธอต้องการให้ผู้คนหันมาสนใจกับวิกฤติโลกร้อน หรือจะเป็นเสื้อยืด Save The Arctic (2012) เพื่อรณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญในการดูแลภูมิภาคอาร์กติก

 

และถึงแม้ว่าวงการแฟชั่นนับเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตขยะมากเป็นอันดับต้น ๆ แต่วิเวียน เวสต์วูด ตั้งใจใช้ชีวิตอย่างคำนึงถึงธรรมชาติ ตั้งแต่เน้นการผลิตเสื้อผ้าบนหลักการ Reduce Reuse Recycle หรือการหันมาใช้ขนสัตว์เทียมในงานแฟชั่นของตัวเองแทนขนสัตว์จริง ไม่เท่านั้นเธอยังเป็นหนึ่งในคนดังจากโลกแฟชั่นเพียงไม่กี่คน ที่สนับสนุนองค์กรการกุศลและกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น Greenpeace, Oxfam, PETA, Small Steps Project หรือ Environmental Justice Foundation 

 

 

 

ที่มา: VOUGE

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#แฟชั่น, 
#เสื้อยืด, 
#ประวัติศาสตร์, 
#เครื่องแต่งกาย, 
#แคทเธอรีนแฮมเนตต์, 
#วิเวียนเวสต์วูด 
ผู้เขียนบทความ
avatar
THANATCHA SUVIBUY
นับถือแมวเป็นศาสนา มีไอดอลเกาหลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ALTV CI
บทความที่เกี่ยวข้อง
4 สถานที่เที่ยวทางประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา
17 ก.ค. 64 • 08.00 น.
4 สถานที่เที่ยวทางประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา
ส่าหรีสีขาว การสื่อสารผ่านเครื่องแต่งกายที่เป็นมากกว่าสี
06 ส.ค. 65 • 08.00 น.
ส่าหรีสีขาว การสื่อสารผ่านเครื่องแต่งกายที่เป็นมากกว่าสี
เปิดประวัติ "ขนมมงคล" ในเทศกาลแห่งความสุข
10 ม.ค. 66 • 20.00 น.
เปิดประวัติ "ขนมมงคล" ในเทศกาลแห่งความสุข
5 คติสอนใจจากนิทานอีสป
02 เม.ย. 64 • 15.14 น.
5 คติสอนใจจากนิทานอีสป
LearnMore
LearnMore
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
THANATCHA SUVIBUY
นับถือแมวเป็นศาสนา มีไอดอลเกาหลีเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#แฟชั่น, 
#เสื้อยืด, 
#ประวัติศาสตร์, 
#เครื่องแต่งกาย, 
#แคทเธอรีนแฮมเนตต์, 
#วิเวียนเวสต์วูด 
แชร์
ฟัง
ชอบ
ติดตามเรา