โรคทางจิตนี้เรียกอีกชื่อว่า “อาการหลงผิดกอตาร์” ตั้งชื่อตามนักประสาทวิทยาชาวฝรั่งเศส ชื่อ Jules Cotard ซึ่งเป็นคนแรกที่บรรยายอาการในปี ค.ศ. 1882 เป็นโรคที่พบได้น้อย แต่ก็มีอยู่จริง โดยผู้ป่วยจะมีความเชื่อแบบหลงผิดคิดว่าตัวเองตายแล้ว หรืออุปมาว่าไม่มีอยู่จริง บ้างก็เชื่อว่าอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายหายไป หรือบางคนอาจหลงผิดว่าตัวเองเป็นอมตะ
เคสล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2015 ในสหรัฐอเมริกา สาวน้อยวัย 17 ชื่อ “Haley Smith” เชื่อว่าเธอเสียชีวิตมาได้ 3 ปีแล้ว ความรู้สึกแปลก ๆ นี้ เริ่มขึ้นหลังจากที่พ่อแม่ของเธอหย่าร้างกันเมื่อเธออายุ 14 ปี
คนไข้กลุ่มอาการนี้มักไม่สุงสิงกับใคร ไม่มีความสนใจในกิจกรรมใด ๆ ละเลยความสะอาดและสุขภาพของตน มักจะพรรณนาถึงตัวเองว่าเป็นร่างที่ตายแล้วจึงไม่จำเป็นต้องกินหรือนอนอีกต่อไป จนในที่สุดคนไข้ก็เสียชีวิตเพราะขาดอาหาร
สาเหตุของโรคศพเดินได้ เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทในส่วนที่จดจำใบหน้าและบริเวณที่เชื่อมโยงเนื้อหาทางอารมณ์ ทำให้เกิดความรู้สึกว่าใบหน้าเห็นไม่ใช่เป็นของบุคคลที่เห็น เช่น ถ้าคนไข้เห็นใบของหน้าตัวเองก็จะมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีอยู่จริง ๆ
นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่า “วัฒนธรรมและค่านิยม” มีผลต่อประสบการณ์หลงผิดของคนไข้ที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นอมตะ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อความกดดันทางสังคม
สำหรับการรักษาโรคนี้มักตอบสนองได้ดีกับการรักษาด้วยไฟฟ้า (ECT) มากกว่าการรักษาด้วยยา
สัญญาณทั่วไปของอาการโรคศพเดินได้
เดิมโรคนี้เคยถูกเรียกว่า “โรคหลายบุคลิก” (Multiple Personality Disorder) แต่ด้วยความหลากหลายทางบุคลิกภาพของคนเป็นเรื่องปกติ จึงไม่ถือว่าเป็นโรค ภายหลังจึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น “โรคหลายอัตลักษณ์” หรือ DID จัดเป็นอาการป่วยทางจิตสุดแปลกประเภทหนึ่ง
ผู้ป่วยมักจะมีตัวตนที่แตกต่างกันมากกว่าหนึ่ง ในขณะที่คนปกติจะมีเพียงอัตลักษณ์เดียว แต่ละตัวตนก็มีวิธีการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว ความจำ และเอกลักษณ์เป็นของตัวเองราวกับมีฝาแฝด แต่การแสดงออกจะมีความผิดเพี้ยนทั้งหมด เพราะความทรงจำเกี่ยวกับตัวเองที่ขาดหายไปทำให้อารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกของแต่ละตัวตนไม่ต่อเนื่องและไม่เหมือนกัน เช่น บางครั้งจะรู้สึกรักตัวเอง แต่บางครั้งก็รู้สึกเกลียดตัวเอง
สาเหตุของอาการป่วยนี้ เกิดจากพันธุกรรมและความบอบช้ำทางจิตใจในวัยเด็กซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น ถูกทำร้ายทางร่างกายและจิตใจ หรือถูกทำร้ายทางเพศ เมื่อผู้ป่วยต้องเจอกับเหตุการณ์ที่รุนแรงจึงมีกลไกป้องกันตัวเองเกิดขึ้น และตัดขาดจากความทรงจำของตัวเอง รู้สึกไม่ชอบและไม่ยอมรับในตัวตนของตัวเอง บางครั้งพบร่วมกับภาวะโรคซึมเศร้าหรือมีประวัติของการถูกทำร้าย ผู้ป่วยจึงสร้างตัวตันอื่นเพื่อช่วยให้รับมือกับประสบการณ์ที่เจ็บปวดและไม่ปลอดภัย
ด้านการรักษาต้องใช้จิตบำบัดในระยะยาวโดยจิตแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ปรับอัตลักษณ์และบุคลิกภาพให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งสิ่งสำคัญคือคนรอบข้างควรเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่ผู้ป่วยเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกยอมรับตัวเองให้ได้ บางเคสอาจใช้การรักษาด้วยการสะกดจิตร่วมด้วย
สัญญาณทั่วไปของโรคหลายอัตลักษณ์
ใครจะคาดคิดว่า มนุษย์หมาป่า ในโลกภาพยนตร์จะกลายเป็นโรคทางจิตเวชได้ ซึ่ง Linical Lycanthropy เป็นกลุ่มอาการทางจิตที่พบได้ยาก โดยผู้ป่วยจะมีความเชื่อหลงผิดว่าตัวเองเป็นมนุษย์หมาป่าหรือสัตว์ป่า การหลงผิดที่ว่านี้นำไปสู่การแสดงพฤติกรรมคล้ายสัตว์ เช่น หอน คำราม คลาน การข่วน ไปจนถึงการทำร้ายผู้อื่น
ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการป่วยทางจิตอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ภาวะซึมเศร้า บางรายอาจมีการใช้ยาหลอนประสาท ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือโรคลมบ้าหมู
นอกเหนือจากอาการหลงผิดว่าเป็นมนุษย์หมาป่า ยังมีกลุ่มอาการที่ใกล้เคียงกันเรียกว่า Zoanthropy โดยผู้ป่วยเชื่อว่าร่างกายของตัวเองจะสามารถพัฒนากลายเป็นสัตว์ได้
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าโรคมนุษย์หมาป่ามีสาเหตุมาจากกลุ่มอาการหลงผิด (Delusional Misidentification Syndromes) ที่มีพฤติกรรมไม่รู้จักวัตถุที่คุ้นเคย หรือคิดว่าวัตถุมีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอีกกลุ่มก็เชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับอาการป่วยทางวัฒนธรรม (Culture-Bound Syndrome) หรืออาการป่วยพื้นบ้าน พบได้เฉพาะในสังคมหรือวัฒนธรรมเฉพาะท้องถิ่น
สัญญาณทั่วไปของโรคมนุษย์หมาป่า
โรคประหลาดนี้เป็นภาวะทางจิตที่เชื่อมโยงกับงานศิลปะ โดยอาการของ Stendhal Syndrome จะมีอารมณ์แปรปรวนรวมถึงมีอาการหายใจเร็วขึ้น หัวใจเต้นเร็ว ความเครียด วิตกกังวลหรือเวียนศีรษะขณะที่ชมผลงานศิลปะหรือปรากฏการณ์ที่มีความสวยงามและประทับใจมาก ๆ แม้แต่การชื่นชมความงามของพระอาทิตย์ตกดินหรือวิวภูเขาที่น่าทึ่งก็สามารถเกิดอาการตื่นศิลปะได้เช่นกัน ซึ่งอาจรุนแรงไปถึงขั้นเสียสติ
นักวิจัยเผยว่าปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้สำหรับกลุ่มอาการ Stendhal อาจเกี่ยวข้องกับการเดินทาง รวมถึง
อย่างไรก็ตาม อาการของโรคตื่นศิลปะถือเป็นอาการชั่วคราวและบางครั้งไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา หากคุณรู้สึกไม่สบายใจจากการชมงานศิลปะ สามารถแก้ไขด้วยการหยุดพักและพาตัวเองออกจากบริเวณนั้น และทำสมาธิกำหนดลมหายใจเข้าออกลึก ๆ เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย
สัญญาณทั่วไปของโรคตื่นศิลปะ
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อคุณได้สัมผัสกับงานศิลปะ ซึ่งคล้ายกับอาการตื่นตระหนก เช่น
หลายคนอาจจะเคยเห็น “คำศัพท์เกี่ยวกับสุขภาพจิต” ที่ถูกนำมาใช้ตามสื่อมากมาย เพื่อไม่ให้เป็นการสับสนและนำไปใช้แบบเข้าใจผิด มาเรียนรู้ไปพร้อมกันว่าแต่ละคำมีความหมายแตกต่างกันอย่างไร
🙂จิตวิทยา คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ กระบวนการทางความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ เช่น การรับรู้, อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เป็นทฤษฎีด้านจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์
🙂จิตเวช เป็นวิชาแพทย์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษาการตรวจรักษาและป้องกันโรคของจิตใจ เช่น โรคประสาท โรคจิต สำหรับ จิตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การศึกษาทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิต
🙂โรคจิตเภท ภาษาอังกฤษเรียกว่า Schizophrenia เป็นส่วนหนึ่งในโรคทางจิตเวช คือภาวะที่สมองมีความผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดหรือการรับรู้ที่ผิดปกติ เช่น อาการหลงผิดคิดว่าตัวเองตายแล้ว รวมถึงสัมผัสผิดปกติ
🙂จิตแพทย์ (Psychiatrist) คือหมอที่รักษาโรคทางจิต ไม่ต่างจากหมอที่รักษาอาการป่วยทางร่างกาย เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรม มีวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตรทางด้านจิตเวช กว่าจะจิตแพทย์ได้นั้น จะต้องเรียนแพทย์ทั่วไป (6 ปี) ต่อด้วยการเรียนเฉพาะทางด้านจิตเวช อีก 3 ปี สำหรับจิตแพทย์ทั่วไป หรือจิตแพทย์ผู้ใหญ่ และ 4 ปีสำหรับจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
หน้าที่ของจิตแพทย์ คือมีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคทางจิต โรคทางระบบประสาท รวมถึงความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรม ตรวจวินิจฉัยโรคทางจิตต่าง ๆ และให้การรักษา สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำในปัญหาต่าง ๆ ได้ เช่น พบบ่อย ๆ ได้แก่ ปัญหาครอบครัว ปัญหาเรื่องลูก ปัญหาการเรียน
🙂นักจิตวิทยา (Psychologist) เป็นนักวิชาการด้านจิตใจ วิจัยและศึกษาลงลึกทางจิตใจ พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของคนและสัตว์ ด้วยวิธีการทดลอง สังเกต สำรวจอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มักเน้นการศึกษาแต่ละคนหรือกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งมีหลายแขนง เช่น
ผู้ที่เข้ามาทำงานในวิชาชีพจิตวิทยา ส่วนใหญ่จะจบจากคณะต่าง ๆ ใช้เวลาเรียน 4 ปีในระดับปริญญาตรี เช่น จิตวิทยา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ในหลักสูตรสาขาจิตวิทยา หรือจบสาขาอื่นและเข้ามาฝึกอบรมทางด้านจิตวิทยาเพิ่มเติมภายหลังเพื่อสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
หน้าที่ของนักจิตวิทยา จะไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ แต่จะเน้นวิธีการบำบัดทางจิต ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมโดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นหลัก
โรคทางจิตเวชสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เราจึงควรสังเกตคนรอบข้างให้ดีก่อนที่จะสายไป หากพบเห็นความผิดปกติของคนรอบข้างที่มีลักษณะเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต เช่น ปัญหาด้านความสัมพันธ์ ปัญหาในการทำงาน อาจลองให้คำปรึกษาอย่างไม่ตัดสิน และหากไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบจิตแพทย์
ติดตาม โครงการ HACK ใจ “เพราะสุขภาพใจเป็นเรื่องของทุกคน” ได้ทาง www.theactive.net คลิก
ขอบคุณข้อมูล : www.healthline.com, สสส. , วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย