ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
ทำไมถึงใจร้ายกับครอบครัว! พูดแบบไหนทำให้ครอบครัวไม่ร้าวฉาน
แชร์
ชอบ
ทำไมถึงใจร้ายกับครอบครัว! พูดแบบไหนทำให้ครอบครัวไม่ร้าวฉาน
14 เม.ย. 65 • 06.00 น. | 2,371 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

อันดับ 1 ของความรุนแรงในครอบครัว เริ่มต้นจากการทำร้ายทางจิตใจกันเพราะ “คำพูด” และเนื่องในวันครอบครัว (Family Day) 14 เมษายน ALTV จึงอยากชวนให้ทุกคนมาดูพฤติกรรมทางวาจาที่มัก “ทำร้ายหัวใจ” คนในครอบครัว รวมถึงวิธีพูดอย่างไรให้ถนอมน้ำใจ กระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

 

“ครอบครัว” ทำหน้าที่เป็นเหมือน “วัคซีนเข็มแรกของชีวิต” บางครั้งเป็นเหมือน “ฟูก” คอยซับความเหนื่อยล้า ในเวลาเดียวกันก็มอบความรัก ความอบอุ่นและความสุขให้แก่เรา ในเมื่อครอบครัวทำหน้าที่ได้ดีขนาดนี้ แต่ทำไมคนในบ้านมักมี “คำพูดร้าย ๆ” ทำลายความรู้สึกซึ่งกันและกัน จนทำให้วัคซีนที่มีภูมิต้านทานตัวนี้กลายเป็น "พิษ" (Toxic) โดยไม่รู้ตัว

😤ทำไมคนในครอบครัวถึงไม่ค่อยเข้าใจกัน?

สองสิ่งที่ทำให้คนในบ้านพลั้งปากสาดเสียเทเสียใส่กัน นั่นคือการขาดความเคารพ (Respect) และความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน (Empathy) จากปมขัดแย้งเล็ก ๆ สู่ปมขัดแย้งขนาดใหญ่ ที่ถูกมัดแน่นจนแกะไม่ออก

 

เพราะเราเกิดกันคนละยุค บางบ้านอาจอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ บางบ้านเป็นครอบครัวเล็กมีสมาชิกเพียงสามคนพ่อแม่ลูก หรือมีแค่ภรรยาและสามี ไม่ว่าเราจะอยู่ในครอบครัวขนาดไหนก็มีปมที่เข้ากันไม่ได้ทั้งนั้น แต่ถ้ามองให้ลึกเราอาจลืมไปว่าแต่ละคนเติบโตมาต่างยุค ต่างสังคม ดังนั้นชุดความคิดและความเชื่อที่แสดงออกจึงไม่เหมือนกัน

  • ปู่ย่าตายายที่เกิดในช่วงสงคราม พูดจาอะไรก็จริงจัง เคร่งครัดในศีลธรรมและกฏระเบียบ
  • พ่อแม่ที่เติบโตท่ามกลางช่วงเศรษฐกิจสั่นคลอน มีสกิลเอาตัวรอดสูง และบางความคิดก็ตกทอดมาจากปู่ย่าตายายด้วยเหมือนกัน
  • รุ่นลูกที่โตมาในยุคอินเทอร์เน็ต มีความรู้ มีความมั่นใจ มองหาหนทางประสบความสำเร็จ
  • เด็กที่เกิดมาในยุคดิจิทัลพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกรอบด้าน ชอบอะไรที่รวดเร็วทันใจ อยู่ท่ามกลางการชิงดีชิงเด่นบนโซเชียล

 

เพราะเราคิดไม่เหมือนกัน “การเป็นตัวของตัวเอง” บางครั้งก็ทำให้เกิดความขัดแย้ง แม้จะเป็นพี่น้องที่คลานตามกันมาหรือสามีภรรยาที่รุ่นราวคราวเดียวกัน ก็อาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกันได้ นั้นเป็นเพราะการเลี้ยงดู ประสบการณ์ ความเชื่อ ฯลฯ ที่ไม่เหมือนกัน จึงสะท้อนความคิดเห็นและการแสดงออกในเรื่องหนึ่งที่ต่างกัน

 

เพราะเราติดโซเชียลมีเดีย เมื่อต่างคนต่างมีหน้าจอเป็นของตัวเองทำให้ทุกคนขลุกอยู่ในโลกส่วนตัว ช่องว่างตรงนี้ทำให้คนในบ้านพูดกันน้อยลง มีกิจกรรมร่วมกันน้อยลง ต่อให้กินข้าวโต๊ะเดียวกันหรือนอนห้องเดียวก็เกิดเป็นความเหินห่างได้ 

💔พูดแบบนี้ไงที่ทำให้ครอบครัวร้าวฉาน

หลายคนอาจมองว่า “ครอบครัวเป็นของตาย” แต่ก็ใช่ว่าจะพูดแบบไหนก็ได้ มาดูกันว่าพฤติกรรมแบบไหนที่ “ยิ่งพูด..ยิ่งทำครอบครัวร้าวฉาน” 

 

  • พูดขวานผ่าซาก - จริงอยู่การพูดจาดี อารมณ์ดี มีมารยาทกับคนอื่นเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อให้สังคมยอมรับ แต่บางคนพอกลับมาบ้านกลับปากร้าย หัวร้อนใส่คนในครอบครัวเพราะมักคิดไปเองพวกเขาไม่รู้สึกอะไรและเข้าใจตัวตนของเรา แต่ความจริงแล้วคนที่เราควรแคร์ความรู้สึกมากที่สุด คือคนใกล้ตัว
  • ทวงบุญคุณ - การหยิบเรื่องความกตัญญูหรือเงินทองมาพูดทับถมกันยิ่งทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่และด้อยค่าตัวเอง อย่าลืมว่าครอบครัวถูกสร้างขึ้นมาจากพยายามของทุกคน บางครั้งการเรียน การทำงานหรือการเป็นตัวเองที่เหนื่อยเกินไปอาจทำให้คุณรู้สึกว่ากำลังเป็น “เดอะแบก” เพียงคนเดียวในบ้าน จนมองข้ามว่าอีกฝ่ายก็กำลังทำหน้าที่เพื่อครอบครัวอยู่เช่นกัน
  • โบ้ยความผิด - เมื่อมีใครสักคนทำไม่ถูกต้อง ทำไม่ได้ดั่งใจ เวลาเกิดปัญหาเป็นธรรมดาที่เรามักโทษคนอื่นไว้ก่อนเพื่อให้ตัวเองสบายใจ นั่นเป็นเพราะกลไกการป้องกันตัวเริ่มทำงาน ที่สุดแล้วไม่มีใครหรอกที่อยากทำผิดพลาดและเมื่อผิดก็อยากได้รับ “การให้อภัย”
  • ไม่พูดดีกว่า พูดไปก็เท่านั้น - อย่าปล่อยให้ประเด็นความขัดแย้งหายไปในกลีบเมฆ แล้วทิ้งปัญหาไว้โดยไม่ได้นั่งคุยกัน “ความเงียบ” ช่วยควบคุมสถานการณ์ได้ดีทำให้ต่างฝ่ายใจเย็นมากขึ้น แต่บางครั้งการเงียบตลอดก็ทำให้เรื่องที่เข้าใจผิดยังไม่ถูกแก้ไข เพราะไม่มีใครได้อธิบายเหตุผลของกันและกัน สุดท้ายปมต่าง ๆ กลายเป็นความเก็บกดในใจที่รอวันระเบิด

 

ในเมื่อยิ่งพูด ยิ่งไม่เข้าใจ ลองสื่อสารกันแบบนี้ดีไหม เผื่ออะไร ๆ จะดีขึ้น

💕พูดอย่างไรให้ครอบครัวไม่ร้าวฉาน

 

  • ใช้คำพูด “ขอร้อง” และ “ขอบคุณ” ให้บ่อย ไม่มีใครชอบคำสั่งหรือการบังคับ ดังนั้นเมื่อต้องการขอร้องให้คนในครอบครัวทำอะไรสักอย่าง ควรเลี่ยงคำว่าจง, อย่า, ห้าม, ต้อง ฯลฯ และแทนที่ด้วยคำว่า "ได้โปรด", "ขอบคุณ" และ "ขอโทษ" จนเป็นนิสัย คำพูดเหล่านี้จะทำให้คุณน่ารักและน่าทะนุถนอมน้ำใจมากขึ้น
  • น้ำเสียงที่จริงใจ คือสิ่งสำคัญที่ทำให้คำพูดของคุณน่าฟังซึ่งช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัว แทนที่จะร้องขอด้วยน้ำเสียงดุดันว่า “เอารีโมทมาให้หน่อย!” ให้เปลี่ยนเป็นพูดว่า "ช่วยหยิบรีโมทมาให้หน่อยได้ไหมคะ/ครับ"😙
  • แทนที่จะตำหนิ ลองอธิบายความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา หากคุณกำลังอารมณ์เสียหรือไม่พอใจคนในบ้าน ให้พูดความรู้สึกของคุณแทนที่การกล่าวโทษ โดยใช้โทนเสียงที่นุ่มนวลขึ้น ซึ่งจะช่วยให้อีกฝ่ายยอมรับฟังและเข้าใจว่าทำไมคุณถึงอารมณ์เสีย
  • เปลี่ยนจากพูด เป็น “ฟัง” การเถียงกันไม่รู้จักจบไม่ต่างจาก “การเอาน้ำมันรดไฟ” ซึ่งไม่มีวันจะเข้าใจกันได้ การแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน คือ “ฟัง” สิ่งที่คนในครอบครัวพูดจริง ๆ โดยปราศจากอคติ โดยให้เวลาอีกฝ่ายแสดงความคิดเห็นบ้าง การฟังอย่างแท้จริงจะทำให้เรามีเวลาพิจารณาเรื่องที่เกิดขึ้นและช่วยกันหาทางออก

ทุกครั้งที่มีเรื่องขัดแย้งหรือเกิดการโต้เถียงกันในบ้าน เหนือสิ่งอื่นใดอยากให้นับ 1 2 3 ให้ใจเย็นลงก่อน แล้ว "หยุดมอง " ว่าคนที่เรากำลังทะเลาะด้วยอยู่นี้คือ "คนในครอบครัว" ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพูดหรือรับฟัง อยากให้มองกันถึงเจตนากันจริง ๆ แล้วคุยกันด้วยความเข้าอกเข้าใจ จะได้ไม่เสียใจภายหลัง

 

ติดตามรายการดี ๆ ที่ให้ข้อคิดของการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวได้

ในรายการ "กว่าจะโต" และ "ครอบครัวเดียวกัน Feel Good" (คลิก)

 

ข้อมูลจาก : thaihealth.or.th, the101.world, theasianparent.com

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#14เมษายนวันครอบครัว, 
#toxicfamily, 
#ครอบครัวทะเลาะกันทําไงดี, 
#พ่อแม่ทะเลาะกัน, 
#ช่องว่างระหว่างวัย, 
#ติดโซเชียล, 
#ความสุขของครอบครัว, 
#คำพูดที่ดีต่อครอบครัว 
ผู้เขียนบทความ
avatar
H. ARIGATO
หงส์ฟ้า
ทาสแมวผู้ Enjoy กับชีวิตเรียบง่าย มีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ
ALTV CI
Interest Thing
Interest Thing
ALTV All Around
ผู้เขียนบทความ
avatar
H. ARIGATO
หงส์ฟ้า
ทาสแมวผู้ Enjoy กับชีวิตเรียบง่าย มีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#14เมษายนวันครอบครัว, 
#toxicfamily, 
#ครอบครัวทะเลาะกันทําไงดี, 
#พ่อแม่ทะเลาะกัน, 
#ช่องว่างระหว่างวัย, 
#ติดโซเชียล, 
#ความสุขของครอบครัว, 
#คำพูดที่ดีต่อครอบครัว 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา