ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
"โฆษณาออนไลน์" ผู้บริโภคควรรู้ไว้ แม่ค้าออนไลน์ควรระวัง
แชร์
ชอบ
"โฆษณาออนไลน์" ผู้บริโภคควรรู้ไว้ แม่ค้าออนไลน์ควรระวัง
13 ธ.ค. 64 • 17.00 น. | 307 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

ในยุคที่เราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วแบบนี้ คงไม่แปลกที่จะมีโฆษณาในสื่อออนไลน์ที่หลากหลาย เพราะเป็นช่องทางที่สะดวก แถมพื้นที่ในการขายยังมีราคาไม่แพง หรืออาจถึงขั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยก็ว่าได้ ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุของการมีอยู่ของ "โฆษณาเกินจริง" ที่ทำให้เราตกเป็นเหยื่อการบริโภคสินค้าเอาง่าย ๆ ซึ่งผู้บริโภคอย่างเราก็ควรจะระวังในการเลือกซื้อด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารและยา เพราะสินค้าประเภทนี้ส่งผลต่อร่างกายโดยตรง

 

ทำไมเราถึงมักตกเป็นเหยื่อของโฆษณาเกินจริง

ก่อนหน้าในยุคของอินเทอร์เน็ตและโซเชียลนั้น การโฆษณาต่าง ๆ ต้องผ่านกระบวนการ Pre - Censor, Post - Censor ก่อนออกอากาศหรือเผยแพร่ทางสื่อหลัก และมีกระทรวงสาธารณสุข โดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คอยตรวจสอบ แต่ตอนนี้เมื่อมาอยู่ในสื่อออนไลน์ บางครั้งก็ไม่ได้ผ่านกระบวนการเหล่านี้ จึงทำให้เป็นช่องว่างให้เกิดโฆษณาที่ไม่ถูกต้อง และเกินจริง เช่น โอ้อวดสรรพคุณสินค้า การรีวิวสินค้าที่เกิดจากการว่าจ้าง แล้วเราในฐานะผู้บริโภคจะต้องรับมืออย่างไรบ้างล่ะ?

มาดู 3 วิธี ที่จะทำให้เราไม่ตกเป็นเหยื่อของโฆษณาออนไลน์

  • ต้องรู้จักคิดวิเคราะห์, สังเคราะห์ข้อมูลให้เป็น

อันดับแรกเราต้องพิจารณาข้อมูลว่าอันไหนน่าเชื่อถือ และอันไหนไม่น่าเชื่อถือ หากมีข้อมูลที่ไม่แน่ใจให้ทำการหาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น สินค้าที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรต่าง ๆ ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า สมุนไพรแต่ละชนิดในทางการแพทย์มีผลดี-ผลเสียอย่างไรบ้าง

  • ถามบุคคลใกล้ตัวที่มีประสบการณ์

ลองถามบุคคลใกล้ตัวเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ เนื่องจากโฆษณาในโลกออนไลน์มีการรีวิวก็จริง แต่บางครั้งก็มาจากการจ้าง และในแต่ละบุคคลอาจได้รับผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป จึงต้องศึกษาหรือสอบถามบุคคลที่เชื่อถือได้ก่อนตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง ราคาแพง หรือมีอันตรายต่อสุขภาพ เช่น อาหารเสริม ยารักษาโรค สินค้าประเภทนี้มักบอกเพียงข้อดีเพราะต้องการให้ลูกค้าซื้อ เพราะฉะนั้น การฟังโฆษณาอย่างเดียวไม่เพียงพอ

  • Recheck หาข้อดี-ข้อเสียของสินค้านั้น ๆ

ผู้บริโภคอย่างเราควรที่จะหาข้อเสีย และข้อเท็จจริงในเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ ในหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ของโรงพยาบาล หรือแพทย์ที่เชื่อถือได้ เพื่อนำมาประเมินว่าสินค้าเหล่านั้นดีจริงไหม

คำประเภทไหนบ้างที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการโฆษณา ?

หลาย ๆ ครั้งคำโฆษณาก็คิดมาเพื่อที่จะเป็นแรงจูงใจ และชวนเชื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลอย่างมากในเชิงจิตวิทยา สินค้าบางชนิดโดยเฉพาะประเภทอาหารและยาส่งผลต่อร่างกายผู้บริโภคโดยตรง อาจใช้แล้วเกิดผลหรือไม่ ก็เป็นไปได้ทั้งสองทาง แต่เราไม่มีทางรู้ได้เลยจนกว่าจะได้ลอง และหลายครั้งเมื่อใช้ไปแล้วก็มีผลเสียตามมา

เพราะฉะนั้นจึงต้องมีกฎหมายป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ โดยตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2564 ผู้ใดฝ่าฝืนอาจต้องโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ากระทำผิดซ้ำอาจต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

5ข้อความต้องห้าม ที่พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ควรรู้

และยังมีข้อห้ามอื่น ๆ ตามกฎหมายอีกด้วย : ข้อมูลเพิ่มเติม

 

สำหรับพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ก็ควรระวังหรือหลีกเลี่ยงคำโฆษณาเหล่านี้เพื่อความถูกต้องทางกฎหมาย และนอกจากนี้หากผู้บริโภคพบเห็นหรือสงสัยว่าโฆษณาทางออนไลน์ที่พบเห็นอยู่นี้ เป็นโฆษณาเกินจริงหรือไม่ สามารถร้องเรียนมาได้ที่

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือโทรสายด่วน สคบ. 1166

หากต้องการรู้เท่าทันโลกโซเชียลมีเดียมากขึ้น สามารถติดตามชมได้ในรายการ So เชี่ยว ALTV ทีวีเรียนสนุก ช่องหมายเลข 4



แท็กที่เกี่ยวข้อง
#โฆษณาออนไลน์, 
#โฆษณาเกินจริง, 
#พรบคอม, 
#พ่อค้า, 
#แม่ค้า, 
#ผู้บริโภค, 
#โลกออนไลน์, 
#โลกโซเชียล, 
#โซเชียลมีเดีย, 
#รู้ทันสื่อ, 
#Soเชียล, 
#Altv, 
#Thaipbs 
ALTV CI
LearnMore
LearnMore
ALTV All Around
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#โฆษณาออนไลน์, 
#โฆษณาเกินจริง, 
#พรบคอม, 
#พ่อค้า, 
#แม่ค้า, 
#ผู้บริโภค, 
#โลกออนไลน์, 
#โลกโซเชียล, 
#โซเชียลมีเดีย, 
#รู้ทันสื่อ, 
#Soเชียล, 
#Altv, 
#Thaipbs 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา