ALTV All Around
ALTV News
บทความอื่นจาก Thai PBS
ALTV All Around
ALTV News
บทความ Thai PBS
เคล็ดลับดูแลตัวเองพิชิตลองโควิด (Long covid)
แชร์
ชอบ
เคล็ดลับดูแลตัวเองพิชิตลองโควิด (Long covid)
15 เม.ย. 65 • 19.00 น. | 340 Views
ขนาดอักษร : กลาง
ALTV CI

ล่วงเลยเข้าสู่ปีที่ 2 แล้วสำหรับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งนอกจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ทั่วโลกต่างต้องรับมือแล้ว ยังรวมไปถึง "ภาวะลองโควิด" ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของคนเราในระยะยาว แม้ว่าจะหายจากโควิดแล้วก็ตาม ในวันนี้ ALTV ได้นำวิธีการดูแลตัวเอง เมื่อต้องเผชิญกับภาวะลองโควิตมาฝากเพื่อน ๆ กัน

ทำความเข้าใจ Long COVID

หากคุณเป็นผู้ที่ติดเชื้อและหายจากโควิด-19 แล้ว แต่ยังคงรู้สึกว่า อาการบางอย่างยังไม่หายไปสักที นั่นอาจเป็นสัญญาณของ "ภาวะลองโควิด (Long COVID)" หรือ “อาการระยะยาวหลังหายจากโควิด-19” ก็เป็นได้

ลองโควิดเกิดจากการอักเสบของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายที่ต้องต่อสู้กับเชื้อไวรัส มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ที่เคยผ่านการติดเชื้อมาก่อน อาจจะเป็นกลุ่มอาการหนัก หรือกลุ่มที่ไม่แสดงอาการเลยก็ได้

ความยาวนานของลองโควิดนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละคน หรือความช้า-เร็วในการกำจัดเชื้อออกจากร่างกาย บางคนอาจเป็นแค่ 2-3 ก็หายเป็นปกติ แต่บางคนอาจมีอาการระยะยาวได้ถึง 12 สัปดาห์ หรือหลายเดือน

อาการ Long COVID

ความร้ายกาจของภาวะลองโควิด อยู่ตรงที่แต่ละคนจะมีลักษณะอาการ ระยะเวลาของอาการแตกต่างกันไปไม่ตายตัว เราไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่า หากเป็นขึ้นมาต้องใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าร่างกายจะฟื้นฟูได้ปกติเหมือนเคย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบได้ทั่วทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงด้านจิตใจ

อ้างอิงจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รายงานไว้ว่าปัจจุบันพบอาการลองโควิดถึง 200 ลักษณะอาการ โดยที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

  • หายใจลำบาก
  • เหนื่อยหอบง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • การรับรู้ผิดปกติ เช่น ภาวะสมองล้า (ฺBrain Fog) , สมองตื้อไม่เฉียบแหลมเหมือนเคย
  • ผมร่วง
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • สูญเสียการรับรส
  • มีภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล
  • เจ็บหน้าอก พูดคุยลำบาก

รับมือ Long COVID

ปัจจุบันลองโควิดยังหาสาเหตุและขอบเขตของโรคที่แน่ชัดไม่ได้ การดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดอาการรุนแรงและเรื้อรังเป็นสิ่งที่เราไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง

หมั่นสังเกตตัวเอง

ปัจจุบันการรักษาอาการลองโควิด เป็นการรักษาแบบตามอาการ เพราะฉะนั้นเมื่อหายจากโควิดแล้ว ควรหมั่นสังเกตร่างกายของตนเองบ่อย ๆ ถ้าหากรู้สึกว่าผิดปกติ หรือฟื้นตัวได้ไม่เหมือนเดิม สิ่งแรกที่ควรทำคือ ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อรับการรักษาและวินิจฉัย เพื่อการดูแลตัวเองที่เหมาะสม

ตรวจเช็คสุขภาพบ้าง

นอกจากการสังเกตอาการเบื้องต้นแล้ว การตรวจสุขภาพให้แน่ชัดจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับอาการต่าง ๆ ได้ทันท่วงที เช่น การตรวจเลือด หาสัญญาณการเกิดการอักเสบของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือเข้ารับการเอกซเรย์ปอด เป็นต้น

รับวัคซีนให้ครบ

เป็นที่พิสูจน์ได้แล้วว่าโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังระบาดอยู่นั้น สามารถติดซ้ำได้ภายใน 1 เดือน สำหรับใครที่ยังไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น หรือไม่เคยรับวัคซีนตามกำหนด ควรรีบรับวัคซีนเมื่อหาย ตั้งแต่ 1-3 เดือน นอกจากนี้ นิตยสาร TIME ยังได้รายงานไว้ว่า การได้รับวัคซีนครบโดส สามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะลองโควิดได้อีกด้วย

ให้เวลาร่างกายได้ปรับตัว

สำหรับใครที่เพิ่งหายจากโควิดมาหมาด ๆ สามารถออกกำลังกายได้ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป แต่ควรเริ่มจากออกกำลังกายเบา ๆ อย่างเดินหรือวิ่ง เพื่อให้เวลาร่างกายปรับตัวเข้าสู่โหมดปกติ โดยเฉพาะการทำงานของปอดที่ต้องใช้เวลาในการกลับมาทำงานเหมือนเคย

ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

งานศึกษาจาก ZOE COVID Study ชี้ว่าการฟื้นตัวจากอาการลองโควิดนั้น คล้ายคลึงกับการฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยในทางเดินระบบหายใจทั่วไป การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพตามหลักโภชนาการ สามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้อีกแรง

ข้อมูลจาก กรมอนามัย ระบุไว้ว่าอาหารเหมาะสำหรับผู้เผชิญอาการลองโควิด ได้แก่ อาหารครบ 5 หมู่ ปรุงสุก ย่อยง่าย เน้นโปรตีนสูง ธัญพืช กระเทียม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต โอเมก้า 3 อาหารหมักดอง ถั่วและพืชตระกูลถั่ว

  • อาการเหนื่อยล้า (Fatigue) จำกัดการทานอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต แป้ง หรือน้ำตาล อาจเพิ่มการทานวิตามินรวมและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี 12 วิตามินซี แคลเซียม เพื่อช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ตามปกติ 
  • อาการปวดหัว การดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการเป็นหัวใจสำคัญสำหรับผู้เผชิญกับอาการปวดหัว เพราะจากงานศึกษาจำนวนไม่น้อยกล่าวไว้ว่า การขาดน้ำ ถือเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดหัว นอกจากนี้อาจรับประทานผักผลไม้ฉ่ำน้ำ เช่น แตงกวา ผักกาดแก้ว มะเขือเทศ แตงโม ฯลฯ
  • อาการสมองล้า (Brain fog) ควรเน้นทานอาหารที่ประกอบด้วย "โอเมก้า 3" พบได้มากในอาหารจำพวกปลาทะเล และธัญพืชบางชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า เมล็ดเจีย (Chia Seeds) เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseeds)
  • อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ นอกจากการออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อแล้ว สารอาหารที่จำเป็นสำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และวิตามินดี

งดสูบบุหรี่

จากสถิติผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยในช่วงการระบาดรอบแรก ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่ส่วนใหญ่มักมีอาการรุนแรง มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ และล่าสุดได้มีการค้นพบแล้วว่าการสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสของภาวะลองโควิดได้อีกด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจำนวนไม่น้อย แนะนำว่าผู้ที่หายจากโควิด-19 ควรหลีกเลี่ยง ควันบุหรี่ธรรมดา บุหรี่ไฟฟ้า หรือแม้แต่ ฝุ่น PM2.5

 

นอกจากเคล็ดลับที่เรานำมาฝากแล้ว สำหรับครอบครัวไหนที่มีผู้สูงวัย ต้องห้ามพลาดชมสาระดี ๆ จากรายการ สูงวัยวาไรตี้ ตอน Long COVID กับผู้สูงวัย << คลิ๊ก บอกเล่าถึงวิธีการรับมือกับภาวะลองโควิดในผู้สูงอายุ เพื่อโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 


ที่มา: องค์การอนามัยโลก (WHO) Healthspan

 

 

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง
#ลองโควิด, 
#โควิด-19, 
#COVID, 
#อาการลองโควิด, 
#รักษาลองโควิด, 
#ดูแลตัวเองช่วงลองโควิด, 
#Post-Covid, 
#อาการเรื้อรัง, 
#สุขภาพ, 
#การดูแลตัวเอง, 
#LongCovid, 
#LoneCovidคืออะไร 
ALTV CI
LearnMore
LearnMore
ALTV All Around
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#ลองโควิด, 
#โควิด-19, 
#COVID, 
#อาการลองโควิด, 
#รักษาลองโควิด, 
#ดูแลตัวเองช่วงลองโควิด, 
#Post-Covid, 
#อาการเรื้อรัง, 
#สุขภาพ, 
#การดูแลตัวเอง, 
#LongCovid, 
#LoneCovidคืออะไร 
แชร์
ชอบ
ติดตามเรา